ที่มา การประชุมเชิงวิชการ
เรื่อง Current Practice  in Respiratory Care for Adult and Children (ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ)
ผู้จัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
สถานที่ ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
วันที่ 5 - 7 สิงหาคม 2558
ผู้สรุปประเด็นความรู้นางจารุวรรณ  สนองญาติ 

ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

  1.  Hypotension                       

เกิดได้บ่อยมาก เมื่อผู้ป่วยได้รับการช่วยหายใจดี ความดันจะตกลงแทบทุกรายจากการลดลง

ของ  Sympathetic tone เนื่องจากได้รับการช่วยหายใจสบายขึ้น (ทำให้ CO ลดลง)จาก Hypovelemia เช่นผู้ป่วยมี Dehydration จากการหายใจเหนื่อยหอบ แก้ไขโดย ใช้ความดันบวกที่เหมาะและให้ IV Fluid
Þการยกขาผู้ป่วยให้สูงขึ้น 20-30อาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้เร็ว

  1. Cardiac Arrhythmia
  2.     เกิดจากผลของปริมาณเลือดที่ใหลเวียนอยู่ในร่างกายน้อยลงทำให้เลือดไปเลี้ยงไตและหัวใจห้องขวาลดลง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมน ADH และAldosterone ทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้มากขึ้น
    Þอาการ  บวม ปวดศรีษะ อาเจียนพุ่ง มองเห็นภาพไม่ชัด หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง,Pulseเร็ว, ความดันโลหิตสูง,อาเจียน,Dyspnea,กระสับกระส่าย,กล้ามเนื้อกระตุก,ตะคริว,อ่อนแรง
    1. Barotrauma                         

          ใช้แรงดันสูงสุดขณะหายใจเข้า โดยเฉพะเกิน  40 mmHg ขึ้นไปทำให้ถุงลมปอดแตก เกิดภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด(Pneumothrorax)

  1. ความไม่สมดุลของกรด-ด่าง

ภาวะกรดจากการหายใจ (Respiratory acidosis) or Hypoventilation

เกิดจากการตั้ง Ventilator ที่มีปริมาตรอาการหายใจไม่เพียงพอ หรือ ตั้งอัตราการหายใจช้าเกินไปทำให้การระบายอากาศลดลงเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น พยาธิสภาพที่ปอดเลวลง, ผู้ป่วยได้รับยานอนหลับทำให้หายใจช้าลง,มีเสมหะอุดกั้นหลอดลมหดเกร็งอาการ  มือสั่น, Concious down, ปวดศรีษะ, เหงื่อออก,

          ภาวะด่างจากการหายใจ (Respiratory aikalosis) or Hyperventition

เกิดจากการตั้ง Ventilator ให้RR เร็วเกินไป หรือมีปรึมาตรอากาศหายใจมากเกินไปทำให้มีการะบายอากาศดีเกินไปทำให้CO2ถูกขับออกมามากและมีCO2ในเลือดแดงต่ำกว่าปกติ อาการ           ชีพจรเร็ว

,Irregalar,Consciousdown,ชักเกร็งเสียชีวิตได้
 

  1. Pneumothorax    พบมากในผู้ป่วยที่ได้รับการตั้ง TV> 15 ml/1 kg
  2. ท้องอืด   เนื่องจากมีลมรั่วลงไปในทางเดินอาหาร
  3. Ateactasis (ปอดแฟบ)      เกิดจากการที่ได้ TV จากVeti ในปริมาตรเดิมนานๆทำให้ปอดไม่ขยายตัว
    ได้รับ TV น้อยกว่าปกติ
  4. Oxygentoxicity         กรณีผู้ป่วยได้รับO2ที่มีความเข้มข้น>50% อาการ    มีการอักเสบของหลอดลมและเยื่อหุ้มปอด, ไอแห้งๆ, เจ็บหน้าอก, มีน้ำในปอด, ความยืดหยุ่นของปอดลดลง 
  • ผู้ป่วยนอนท่าเดิมนานๆทำให้เสมหะอุดตัน การดูดเสมหะไม่ถูกต้อง เช่น ดูดนานเกินไป, ใช้แรงดันสูงเกินไป,สายดูดใหญ่ 
Malnutrition     ผู้ป่วยมักอยู่ในภาวะที่มีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อ,การทำงานของการหายใจเพิ่มขึ้น
2.ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนตอนนอนในเด็ก
(Obstructive Sleep Apnea)
ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุ แต่พบมากในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ หยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจทำให้สติปัญญาถดถอย, สมาธิสั้น, หัวใจโตหรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจาก ต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูกมีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งพบมากในเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ร่วมกับ การคลายตัวของกล้ามเนื้อคอส่วนต้นขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่เด็กอ้วนเกินไป ทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้นหรือพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้า , คาง , ลิ้นและคอผิดปกติ ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติ
อาการ
เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ ตรงกันข้ามกับขณะตื่นที่หายใจได้ปกติดี อาการหาย ใจลำบาก สังเกตได้จากการที่เด็กหายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อหายใจมากกว่าปกติ ขณะที่หายใจเข้าหน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น บางคนจะมีอาการกระสับกระส่าย พลิกตัวบ่อย อ้าปากหายใจ ปากซีดเขียว เสียงกรนขาดหายเป็นช่วงๆ ปัสสาวะราดรดที่นอน พ่อแม่บางรายกลัวลูกหายใจไม่เข้า ถึงกับต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูกหรือเขย่าปลุกลูกให้ตื่น ในตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน มีสมาธิสั้นหรือผล็อยหลับบ่อยๆ
การวินิจฉัย
วิธีการทดสอบที่ดีที่สุด สำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้เรียกว่า Polysomno- graphy (Sleep Lab.) เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เด็กหลับตลอดคืน พยาบาลคอยสังเกตการหายใจของเด็ก เครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดค่าต่างๆ ผ่านสายที่แปะด้วยสติกเกอร์ที่ตำแหน่งต่างๆ บน ตัวเด็กและบันทึกข้อมูลไว้ตลอด 8 ชั่วโมง การตรวจนี้ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้เด็กเจ็บปวด ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จะบอกให้ทราบ ได้ว่าเด็กมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับหรือไม่และความผิดปกติที่พบมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป