ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง แนวทางการดูแลผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคลมชัก
ผู้จัด ชมรมพยาบาลระบบประสาทแห่งประเทศไทย
สถานที่ ณ : โรงแรมปรินซ์ พาเลช มหานาค กรุงเทพ   
วันที่  11-13 พ.ย. 2558   

ผู้สรุปประเด็นความรู้ เรืออากาศเอกหญิง จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ

แนวทางการดูแลผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคลมชัก

    หลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคลมชักนั้นคล้ายคลึงกับผู้ป่วยชาย แต่จะมีความจำเพาะสำหรับเพศหญิงที่ควรให้การดูแลเป็นพิเศษในบางเรื่อง ได้แก่
1. เรื่องความสวยงาม ยากันชักบางชนิดมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
- phenytoin อาจก่อให้เกิดภาวะขนดกหรือเหงือกบวม
-Sodium valproate อาจก่อให้เกิดผมร่วงหรือเจริญอาหารจนน้ำหนักเกิน
          -topiramate อาจก่อให้เกิดอาการเบื่ออาหารจนนำ้หนักลด จึงควรเลือกยากันชักให้เหมาะสมและ เฝ้าระวังผลข้างเคียง
 2.ภาวะระดูแปรปรวนจากโรคลมชักที่ยังควบคุมไม่ได้หรือจากผลข้างเคียงของยากันชัก เช่น Sodium valproate อาจก่อให้เกิด ภาวะระดูแปรปรวนได้
3. ภาวะชักจากการมีระดู (catamenial seizure) อาจป้องกันได้โดยให้ยากันชักเสริมเฉพาะช่วงเวลา ดังกล่าว เช่น clobazam หรือเพิ่มขนาดของยากันชักที่รับประทานเป็นประจำชั่วคราวเพื่อให้ควบคุมภาวะชักจาก การมีระดู
4. การมีเพศสัมพันธ์ไม่กระตุ้นให้เกิดการชัก ถ้าได้พักผ่อนเพียงพอ
5.การคุมกำเนิด ยากันชักที่มีผลเพิ่มการทำลายยาผ่านการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ตับ (cytochrome P-450 enzyme system) ได้แก่ phenobarbital, phenytoin และ carbamazepine อาจลดประสิทธิภาพของ ฮอร์โมนคุมกำเนิด แนะนำให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนประมาณ 50 ไมโครกรัมต่อวัน และใช้ ถุงยางอนามัยร่วมด้วย การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนชนิดฉีด ชนิดฝังใต้ผิวหนัง หรือชนิดห่วงสอดใส่ที่มีฮอร์โมน อาจไม่ได้ผล
6.ภาวะการมีบุตรยากจากโรคลมชักหรือจากผลข้างเคียงของยากันชักบางชนิด เช่น Sodium valproate อาจทำให้ระดูแปรปรวนหรือเกิด polycystic ovarian syndrome
 7.การตั้งครรภ์ คนไข้ส่วนหนึ่งอาจเกิดอาการชักมากขึ้น การตั้งครรภ์อาจทำให้เมตาบอริสม ของยากันชักเปลี่ยนแปลงไป จึงควรติดตามดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือ ส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักดูแลร่วมกับสูติแพทย์ ไม่ควรหยุดยาหรือเปลี่ยนยากันชักระหว่างที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจเกิดการชักจนเกิดอันตรายต่อทารกหรือผู้ป่วยได้ มารดาสามารถคลอดปกติได้โดยอาจได้รับการช่วยคลอดตามความเหมาะสม ควรบันทึกคำแนะนำของ แพทย์และการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัวไว้เป็นหลักฐาน ผู้ป่วยซึ่งรับประทานยากันชักชนิดที่กระตุ้นเอนไซม์ตับ ควรได้รับการฉีดวิตามินเคเข้ากล้ามเนื้อของทารก หลังคลอดทุกราย เพื่อลดการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในทารกแรกเกิด 11-0259p79-102.indd 85 8/29/11 5:12:38 PM 86 แนวทางการรักษาโรคลมชัก
8.ภาวะทารกพิการแต่กำเนิด โอกาสที่จะเกิดความพิการในมารดาที่เป็นโรคลมชัก อาจเกิดจากโรคลมชัก เอง พันธุกรรม หรือยากันชัก ส่วนใหญ่มีความพิการเล็กน้อย เช่น เล็บสั้น นิ้วสั้นเล็กน้อย ความพิการที่เป็นมากขึ้น ได้แก่ ปากแหว่ง เพดานโหว่ ลักษณะใบหน้าผิดปกติและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง neural tube defect ซึ่งพบประมาณ ร้อยละ 0.5-3 โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับยา Sodium valproate ดังนั้นก่อนที่จะตั้งครรภ์ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ - กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชักติดต่อกันเกิน 2 ปีอาจพิจารณาหยุดยากันชักก่อนตั้งครรภ์ - กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยากันชักหลายชนิด อาจพิจารณาลดขนาดและชนิดยาให้เหลือน้อยที่สุดที่ยัง สามารถควรคุมอาการชักได้ - พิจารณาให้วิตามินโฟลิกเสริม ขนาด 5 มก. ทุกวันในหญิงวัยเจริญพันธ์ุเพื่อป้องกันการเกิด neural tube defect ในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์ขณะที่รับประทานยากันชักอยู่ ไม่ควรลดขนาดยากันชักหรือหยุดยากันชัก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อมารดาและทารกในครรภ์ที่อาจจะได้รับอันตรายจากการชักสูงกว่าผลเสียจากยากันชัก ผู้ป่วยทุกรายที่มีการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ได้12-16 สัปดาห์ควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิด รูป (dysmorphic) ของทารกในครรภ์ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์
9.การเลี้ยงดูบุตรมารดาที่รับประทานยากันชักสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำหรับยาphenobarbital และ กลุ่ม benzodiazepine อาจทำให้ทารกง่วงซึมได้อาจจะต้องกระตุ้นทารกขณะให้นม ควรป้องกันอันตรายต่อ ทารกขณะมารดาเกิดอาการชัก เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อมบนพื้นแทน ให้นมบุตรบนพื้น เช็ดตัวทารกแทนการอาบน้ำใน อ่าง หรือมีผู้อื่นคอยระวังระหว่างอาบน้ำให้ทารก มารดาควรได้รับการพักผ่อนเพียงพอเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการชัก