ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง แนวปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะคลอด
ผู้จัด ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และโภชนาการเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ ณ : โรงแรมปรินซ์ พาเลช มหานาค กรุงเทพ   
วันที่  ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘   

ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย

แนวปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะคลอด

    การดูแลมารดาในระยะคลอด มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสิ่งที่มีผลกระทบได้แก่ความเครียด การพักผ่อน ท่าคลอด วิธีการคลอด การได้รับสารน้ำสารอาหารระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด จึงควรลดความเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด จัดสิ่งแวดล้อมในห้องคลอดให้สงบ สะอาด มีความเป็นส่วนตัว
ช่วยเหลือสนับสนุนมารดาระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด อยู่เป็นเพื่อน ลดความต้องการบรรเทาความเจ็บปวดโดยการใช้ยา ดูแลให้การคลอดมีความก้าวหน้า บรรเทาการเจ็บครรภ์คลอด
ท่าในการคลอดที่ไม่เหมาะสม เช่น dorsal position, semi-recumbent position ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ท่าที่เหมาะสม เช่น upright position หรือ lateral position ช่วยให้การคลอดดำเนินต่อไปได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ส่งเสริมการสัมผัสทารกระหว่างมารดาและทารก และการดูดนมแม่จะทำให้ทารกเริ่มต้นการดูดนมได้เร็ว โดยเช็ดตัวทารกให้แห้ง วางบนหน้าท้องหรือระหว่างเต้านมทั้งสองข้างแบบเนื้อแนบเนื้อให้มารดากอดสัมผัสทารกโดยเร็วที่สุด หรือภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอด
 หลักในส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะคลอด
1.    การให้มารดากอดสัมผัสทารกแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contract) ½ ชม.หลังคลอด
2.    ช่วยมารดาเริ่มให้ลูกดูดนม ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
3.    สังเกตและเข้าใจการแสดงออกของทารกว่าพร้อมในการดูดนม และให้การช่วยเหลือเมื่อจำเป็น