ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์ จำลองขั้นสูง
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
สถานที่ ณ : โรงแรมพักพิงอิงทาง บูติค โฮเทล จ.นนทบุรี   
วันที่  2-4 ตุลาคม 2558   

ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาวสุพรรณี เปี้ยวนาลาว, ดร.ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง, ดร.สุภาวดี นพรุจจินดา, นางสาวจิตติมา ดวงแก้ว

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง
    การดำเนินการสอนเป็นกระบวนการที่ดำเนินสถานการณ์จำลองตามโครงสร้าง หลักการที่กำหนด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้  ฝึกคิดวิเคราะห์  ตัดสินใจแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือรายวิชา หรือมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด หรือเป็นไปตามคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยมีการแบ่งการดำเนินการสอนเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นนำ (Pre – Brief)
        เป็นขั้นตอนการเตรียมการผู้เรียนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จำลอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที โดยผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาท ดังนี้
ผู้สอน    ผู้เรียนในสถานการณ์
1.บอกวัตถุประสงค์ในหัวข้อที่เรียนรู้ เช่น รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ นักศึกษาสามารถประเมินปัญหาและให้การพยาบาลได้    1. ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้


2. ปฐมนิเทศสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ ทีมแพทย์ หรือทีมสหสาขาวิชาชีพ    2. ศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนสถานการณ์จำลอง
3. แนะนำคุณสมบัติและข้อจำกัดของหุ่นมนุษย์จำลอง สมาชิกในสถานการณ์จำลอง และทีมผู้สอน      3. ศึกษาการทำงานของหุ่นมนุษย์จำลอง และซักถามข้อสงสัย
4. เน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยให้ตระหนักเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้เรียนแสดงบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ควรให้ความเคารพหุ่นมนุษย์จำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริงและผู้แสดงอื่นๆ ในบทบาทที่กำหนด เช่น ญาติผู้ป่วย แพทย์ และเพื่อนร่วมทีม โดยให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์    4. ผู้เรียนแสดงตามบทบาทที่ได้รับและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหุ่นมนุษย์จำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และผู้แสดงในสถานการณ์จำลอง
5. ชี้แจงให้ผู้เรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายในสถานการณ์จำลอง ข้อตกลงเบื้องต้น  และการประเมินผล    5.ผู้เรียนในสถานการณ์แบ่งบทบาทหน้าที่ตามบทบาทในสถานการณ์ เช่น หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม สมาชิกทีม
         6. ให้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับผู้เรียน    6. ศึกษาสถานการณ์
    2. ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์ (Scenario running)
            ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการปฏิบัติสถานการณ์จำลองประมาณ 20-30 นาที โดยผู้สอนจะบอกผู้เรียนว่า เริ่มสถานการณ์ (Start scenario) ผู้เรียนในสถานการณ์ลงมือปฏิบัติ และผู้เรียนสังเกตการณ์เริ่มสังเกตการณ์ในห้องสังเกตการณ์ โดยมีบทบาท ดังนี้
ผู้สอน    ผู้เรียนในสถานการณ์    ผู้เรียนสังเกตการณ์
1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์    1. ปฏิบัติตามบทบาทของสถานการณ์ จำลองหรือกระบวนการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย     1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์
2.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้เรียนในสถานการณ์ต้องการตามความเหมาะสม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เป็นต้น    2. มีการสื่อสารด้วยวัจนภาษาหรือ
อวัจนภาษา และการทำงานในทีม
    2. สังเกต บันทึก การสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์ต่อผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพด้วยวัจนภาษาหรืออวัจนภาษา
3. ปรับบทบาท/ข้อมูลตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน    3. นำความรู้ของกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินใจและการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และการมีภาวะผู้นำของหัวหน้าทีม     3. สังเกต บันทึกกระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของทีมสุขภาพ

4. กรณีผู้เรียนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม (กรณีเหตุการณ์ที่คุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยหรือประเด็นสำคัญที่ผู้เรียนต้องรู้) ผู้สอนควรหยุดการดำเนินสถานการณ์ชั่วคราว (Time out) เพื่อเข้าไปชี้แนะถึงแนวทางในการให้การพยาบาลที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นแต่ผู้เรียนยังไม่ดำเนินช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้สอนอาจ จะเพิ่มบทบาทสมมติ โดยจัดให้มีแพทย์ หรือหัวหน้าพยาบาลเข้าไปในสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้สถานการณ์ดำเนิน การต่อ หรือผู้สอนอาจหยุดสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงความรู้และทักษะที่มีอยู่มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนดำเนินสถานการณ์ต่อไปได้อย่างสมบูรณ์และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด     4. ปฏิบัติทักษะหรือกิจกรรมการพยาบาล/ การดูแลผู้ป่วยสอดคล้องกับปัญหาที่พบในสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเคารพศักดิ์ศรีและคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยและทีมการพยาบาล ประเมินผลการพยาบาล การให้การดูแลรักษาและการรายงานทางการแพทย์อย่างเหมาะสม    4. สังเกตบันทึก พฤติกรรมทักษะปฏิบัติการพยาบาล/ดูแลช่วยเหลือตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย เช่น Incharge nurse, Leader nurse,  nurse เป็นต้น
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยน ไปของผู้ป่วยในสถานการณ์ที่แย่ลง    5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง    5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง
3. ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Debriefing)
     ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด (Reflective thinking) ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ตนเองและตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการปฏิบัติ การตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จริง
    การสรุปการเรียนรู้ ด้วยการสะท้อนคิดและให้ข้อมูลป้อนกลับ มีหลายรูปแบบ เช่น Gibb’s model  โมเดลของ Steinwachs, GAS model, 5’S เป็นต้น แต่ละวิธีมีจุดเน้นหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในครั้งนั้นๆ
แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานที่รับผิดชอบ
 การประเมินทักษะทางคลินิก (Objective Structured Clinical Examinations: OSCEs)
เป็นวิธีการหนึ่งที่มีความสอดคล้อง เหมาะสม และเป็นที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง  การประเมินทักษะทางคลินิกประกอบด้วย ฐานการประเมิน (station) สั้นๆ ใช้เวลา  5-15 นาที/ฐาน แต่ละฐานมีวัตถุประสงค์ในการวัดแตกต่างกัน