เรื่อง  พัฒนาอาจารย์ผู้สอนวิชาเวชบริบาลในการบริหารจัดการเครื่องมือการเรียนการสอน learning Management System
สถานที่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร จังหวัดชลบุรี

ผู้จัด สถาบันพระบรมราชชนก
วันที่ ระหว่างวันที่ 3–7สิงหาคม 2558

ผู้สรุปประเด็นความรู้ 1.นางสาวสินีพร ยืนยง


       

        การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

องค์ประกอบของ e- learning

          การให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ หรือ e-learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว

          1.เนื้อหาของบทเรียน สำหรับการเรียนการสอน

          2.ระบบบริหารการเรียน เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุมและสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (LMS : e-Learning Management System) ถ้าจะกล่าวโดยรวม LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร, บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์(อินเทอร์เน็ต, อินทราเน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ) ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียดจนกระทั่งจบหลักสูตร

          3.การติดต่อสื่อสารสิ่งสำคัญที่ทำให้ e-learning มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากการเรียนทางไกล ทั่วๆไปก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความสนใจความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างเรียนถ้ามีคำถามซึ่งเป็นการทดสอบย่อยในบทเรียนเมื่อคำถามปรากฏขึ้นมาผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที เหตุการณ์ดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนรักษาระดับความสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

•         ประเภท real-time ได้แก่ Chat(message, voice), White board/Text slide, Real-time

Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ

•         ประเภท non real-time ได้แก่ Web-board, e-mail  

4.การสอบ/วัดผลการเรียน

           โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใดหรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ กล่าวคือในบางวิชาจำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนเข้าสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมกับเขามากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร ระบบบริหารการเรียนจะเรียกข้อสอบที่จะใช้มากจากระบบบริหารคลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วยย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน (LMS : e-Learning Management System) สำหรับระบบบริหารคลังข้อสอบที่ทางโครงการฯได้พัฒนาขึ้นมานั้นมีขีดความ สามารถดังนี้

•         สอบออนไลน์ผ่าน Web browser

•         นำสื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ

•         การรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการรับ-ส่งข้อสอบ

•         การกำหนดสิทธิการใช้งานระบบทำได้หลายระดับ

•         ผู้สอนเป็นผู้กำหนดรูปแบบรายงานผลการสอบ

•         การนำค่าทางสถิติมาวิเคราะห์ผลการสอบของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนแบบ E-learning (Learning Management System : LMS)

การจัดทำระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) แบบ online เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนในวิชาต่างๆ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย Internet อันจะทำให้อาจารย์และนักศึกษามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น การถาม-ตอบ รับ-ส่งการบ้าน และ download เอกสารประกอบการสอนต่างๆ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ Cloud computing เพื่อพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ใช้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น (Danielsom, Krissi (2008-03-26), “Distinguishing Cloud from Utility Computing”, Ebizq.net.)

Cloud Computing คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟแวร์จะร้องขอให้ ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้      ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing มีดังนี้

ความต้องการ (Requirement) คือ โจทย์ปัญหาผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลขนาด 1,000,000 GB

ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล หรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เข่น RAM), Storage (เช่น Harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น

บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากรและในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Cloud Computing แล้ว เราจะใช้คำว่าบริการ แทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (Operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (Requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ

Cloud Computing in Thailand

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีนักพัฒนาหลายคนได้พัฒนาระบบบน Cloud Computing แล้วซึ่งส่วนมากเป็น Application ที่ใช้สำหรับคนทั่วโลก Cloud Computing ถูกนิยามว่าคือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงและที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด