ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง การประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์ความเป็นเลิศ (การประเมินโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทาง วิชากรด้านสุขภาพของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก )
ผู้จัด กลุ่มพัฒนาบุคลากร สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่ ณ สถาบันพระบรมราชชนก  
วันที่  4-6 , 25-27&nbspกุมภาพันธ์ 2559   
ผู้สรุปประเด็นความรู้ น.ส.นางสาวจิรพรรณ   โพธิ์ทอง


การประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์ความเป็นเลิศ (การประเมินโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทาง วิชากรด้านสุขภาพของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก )

        จากผลการศึกษาการประเมินโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model)  เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานงานโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ ในด้านบริบท   ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ   ผลผลิต และผลกระทบ  ในบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย   รองผู้อำนวยการวิทยาลัยที่รับผิดชอบศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพของวิทยาลัย   หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพ  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นอาจารย์ในภาควิชาที่มีศูนย์ความเป็นเลิศของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ที่มีการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๖ จำนวน ๓๗ แห่ง แบ่งออกเป็น 8 สาขา  ได้แก่  ด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต/ฉุกเฉิน ด้านผู้สูงอายุ ด้านโรคเรื้อรัง ด้านโรคเรื้อรัง ด้านการพยาบาลเฉพาะทาง ด้านการพยาบาลแม่และเด็ก/ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านPrimary Care ด้านอื่นๆ (ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านอาชีวอนามัย   พบว่า

1.       ด้านบริบท พบว่า ศูนย์ความเป็นเลิศส่วนใหญ่มีการกำหนดหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการศูนย์ความเป็นเลิศฯ มีความสอดคล้องกัน  อีกทั้งวัตถุประสงค์ของโครงการในศูนย์ความเป็นเลิศฯ ของวิทยาลัยก็มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ และสถาบันพระบรมราชชนก และสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ ที่วิทยาลัยรับผิดชอบ (ในวิทยาลัย สถานบริการใกล้เคียง ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง   นอกจากนี้ การจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพมีการพิจารณาและศึกษาถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่และนโยบายที่เกี่ยวข้อง   การพัฒนาจากผลงานที่วิทยาลัยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง   และพิจารณาความเชี่ยวชาญของบุคลากรในวิทยาลัยร่วมด้วย

2.       ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าจำนวนบุคลากรเหมาะสมกับภาระงาน เทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นประจำศูนย์ฯ มีเพียงพอและมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกันระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ ยังต้องการได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับ บุคลากร เทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ให้มีมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยทำให้การดำเนินงานของศูนย์ฯ มีการพัฒนาในระดับสูงยิ่งขึ้น

ด้านการบริหารจัดการ กรณีมีการกำหนด โครงสร้าง หน้าที่ ความรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ ของศูนย์ฯที่ชัดเจนจะสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้ประสบความสำเร็จได้  แต่องค์ประกอบที่สำคัญทำให้การประสบผลสำเร็จที่เด่นชัดมากยิ่งขึ้นนั้นคือการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ภาวะผู้นำของค์กร การบริหารจัดการที่ดี การมีอิสระทางวิชาการและได้รับการสนับสนุนในการพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ จากผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ด้านงบประมาณ มีแหล่งงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ เพราะในสถานการณ์จริงการดำเนินงานของศูนย์ฯ มีการบูรณาการร่วมกับพันธกิจกอื่น ๆ ทำให้สามารถใช้งบประมาณร่วมกันขององค์กรได้หมด แต่หากมองในแง่ของการสนับสนุนทำงานของศูนย์ฯ พบว่าบุคคล เทคโนโลยี อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ นั้นยังจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น

3.       ด้านกระบวนการ พบว่า บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทุกขั้นตอน  และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องได้เข้าส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์อยู่ในระดับปานกลาง เป็นการยากมากที่จะดึงให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม  บุคลากรหลายวิทยาลัยมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ เท่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของบุคลากรทุกคน และการบริหารจัดการที่ดีในการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์ฯ

ข้อสังเกตกระบวนการดำเนินการของศูนย์    มีลักษณะ ดังนี้

1.    การมีส่วนร่วมของอาจารย์  บุคลากร นักศึกษา และประชาชน  การจัดกิจกรรมให้ทุกภาคส่วนในวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วม เช่น อาจารย์  บุคลากร นักศึกษา และประชาชน   

                 2. การบูรณาการกิจกรรมของศูนย์ กับภาระกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  การดำเนินการของศูนย์ความเป็นเลิศทางสุขภาพ  มีความสอดคล้องกับประเด็นการประเมินของ PA 

                 3. การประสานความร่วมมือ การประสานความร่วมมือเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ฯ ประกอบด้วยภายนอกวิทยาลัย และ ภายในวิทยาลัย  

                 4. การจัดบรรยากาศ   การจัดบรรยากาศให้มีความตื่นตัว  “มีการจัดบรรยากาศ สร้างให้เกิดความตื่นตัว ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ของวิทยาลัย เช่น จัดบอร์ด จัดกิจกรรมสำคัญเพื่อรณรงค์ให้ตรงกับความเชี่ยวชาญ

4. ด้านผลลิต พบว่ามีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านโครงสร้างการดำเนินงาน  ด้านบุคลากร ผลงานวิชาการ/วิจัย การบริการวิชาการ การถ่ายอดเทคโนโลยี และการสอน การเป็นศูนย์อ้างอิง เครือข่ายทางวิชาการ การได้รับการยอมรับในระดับชาติ การเป็นผู้นำทางวิชาชีพ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี

5.  ด้านผลกระทบ 

สำหรับผลกระทบด้านบวก การพัฒนาศูนย์ฯ เป็นสิ่งที่ท้าทายบุคลากรทุกคน ในวิทยาลัย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและพัฒนาผลงานให้เป็นที่ยอมรับและโดดเด่นเพิ่มมากขึ้น นำองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับตนเอง ครอบครัว วิทยาลัย ชุมชน ให้มีความสนใจในการดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัย เป็นช่องทางในการเปิดโอกาสให้วิทยาลัยเป็นที่รู้จักและยอมรับมากยิ่งขึ้น การผลิตบัณฑิตของแต่ละวิทยาลัยมีการสร้างอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับประเด็นความเชี่ยวชาญของศูนย์ความเป็นเลิศ

ผลกระทบด้านลบ การดำเนินงานของศูนย์ฯทำให้เพิ่มภาระงานของอาจารย์มากขึ้น มีผลกระทบต่อเวลาในการปฏิบัติงาน สะท้อนให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนยังมีมุมมองการปฏิบัติงานแบบแยกส่วน ขาดการวางแผนงานการทำงาน ทำให้ผู้รับผิดชอบรู้สึกว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น เป็นการเพิ่มภาระงาน

. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

 บุคลากรในวิทยาลัย  นับเป็นปัจจัยนำเข้ามีผลต่อการดำเนินงานทุกพันธกิจของวิทยาลัย ทั้งนี้ บุคลากรในวิทยาลัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร  อาจารย์สายการสอนและบุคลากรสายสนับสนุน 

1.   ผู้บริหาร โดยเฉพาะผู้อำนวยการเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายโดยประกาศนโยบายและวิสัยทัศน์ที่มาจากการร่วมคิดกันพร้อมทั้งทำความเข้าใจร่วมกันกับบุคลากรอย่างชัดเจน  การสรรหาบุคลากรที่ตรงตามสาขาวิชาที่สอดคล้องกับการพัฒนาศูนย์ฯ และมีการวางแผนการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถและเชี่ยวชาญ การสร้างแรงจูงใจ การสร้างค่านิยมมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ร่วมกันกำหนด  การจัดการให้มีบุคลากรสายสนับสนุนช่วยให้อาจารย์สามารถดำเนินงานตามพันธกิจที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี

2.      ผู้รับผิดชอบศูนย์ 

     ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ของผู้รับผิดชอบศูนย์    บุคลิกภาพ ความสามารถในการสื่อสารชักจูงโน้มน้าวของหัวหน้าศูนย์ฯ และอาจารย์ประจำศูนย์ฯ  การทำงานเป็นทีม  ความร่วมมือร่วมใจของคนในวิทยาลัย ใช้ระบบสืบทอดงาน วางตัวบุคคล   ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสุขภาพอย่างเต็มที่

ปัญหาอุปสรรค

1.       การกำหนดความเชี่ยวชาญของศูนย์ฯ ไม่ชัดเจน

2.       ภาระงาน

3.       ปัญหาด้านบุคลากรความเชี่ยวชาญเดิมของอาจารย์แต่ละท่านไม่เหมือนกัน ไม่สอดคล้องกับประเด็นความเชี่ยวชาญของศูนย์ความเป็นเลิศฯ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในระยะแรกๆ

คณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมการปฏิบัติวิชาชีและคุ้มครองผู้บริโภค สภาการพยาบาล