ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตำรา
ผู้จัด ฝ่สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่ ณ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี  
วันที่  15 – 18&ampธันวาคม 2559   
ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาวสินีพร  ยืนยง

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตำรา        

         การเขียนผลงานทางวิชาการ เช่น บทความหรือตำรา ถือเป็นการถ่ายทอดศาสตร์ที่เป็นทั้งความรู้ ประสบการณ์ของผู้เขียน และ/หรือเป็นหลักการ องค์ความรู้หรือทฤษฎี  ที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดไปยังผู้อ่าน ทุกครั้งที่จะเขียนงาน ผู้เขียนต้องคำนึงเสมอว่าจะเขียนเรื่องอะไร กลุ่มเป้าหมายหรือผู้อ่านเป็นใคร และเขียนอย่างไรจึงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความเข้าใจ อยากติดตาม และเรียนรู้ในเรื่องที่ผู้เขียนกำลังถ่ายทอด
การเขียนในแต่ละศาสตร์อาจมีลีลาการนำเสนอที่แตกต่างกัน  ปัจจุบันการถ่ายทอดศาสตร์ในแขนงวิชาต่างๆ ได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก นอกจากถ่ายทอดผ่านงานเขียนแล้ว ยังมีการถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่ออิเล็คทรอนิค ทั้ง off line เช่น CD, CAI และ on line หรือ e-learning เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและการเรียนรู้โดยมีช่องทางการปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการพัฒนาสื่อถ่ายทอดศาสตร์ต่างๆ มีมากหมายหลายช่องทางขึ้น และการผลิตสื่อ จำเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการที่ต้องผ่านกระบวนการคิด การออกแบบ และการถ่ายทอดผ่านช่องทางต่างๆ
 งานวิชาการทางด้านการพยาบาลส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย การดูแลสุขภาพ หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาล เป็นงานเขียนที่ผสมผสานทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์  งานเขียนตำราทางการพยาบาลที่จึงดีต้องมีการถ่ายทอดเนื้อหาในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนและงานวิจัยอย่างรอบด้าน มีกรณีศึกษาหรือตัวอย่าง ที่ช่วยทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ ความคิดเชิงวิเคราะห์  สังเคราะห์  เกิดเป็นความรู้ใหม่หรือความรู้ต่อยอดได้   จะช่วยส่งผลต่อการนำผลงานเขียนไปใช้พัฒนาภูมิปัญญาของผู้อ่าน และพัฒนาคุณภาพของงานในวิชาชีพได้   
ความหมายของตำราตำรา หมายถึง “เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา  หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตรก็ได้  โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา  หรืออาจเสนอตำราในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม  หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม  รวมทั้งเอกสารตำราที่จัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ  ที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน และได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา”
จากความหมายของตำรา แสดงถึงการขยายขอบเขตของสื่อการเรียนการสอนที่ขยายขอบเขตมากไปกว่าบทความหรือตำราที่เป็นเอกสาร   อย่างไรก็ตาม การเขียนบทความทางวิชาการ หรือการเขียนตำรา ผู้เขียนจำเป็นต้องมีความรู้ ความคิดในเรื่องที่จะเขียนอย่างลึกซึ้งและมีวิธีการเขียนในระดับสูง  ผนวกกับประสบการณ์ในเรื่องที่เขียนจะช่วยให้การถ่ายทอดมีความชัดเจน  โดยเฉพาะหากเป็นตำราเมื่อเขียนแล้วควรผ่านการหาความตรง (validity) โดยการอ่านของผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้หรือเนื้อหาสาระที่เขียน   รวมถึงมีการหาความเที่ยง (reliability)โดยให้ผู้เรียนได้ทดลองศึกษา จึงจะช่วยให้ตำราหรือบทความนั้นๆ มีคุณภาพ เหมาะกับผู้อ่าน
ประสบการณ์การเขียนบทความและตำรา:
เมื่อกล่าวถึงการเขียนตำรา  หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม เป็นการยากที่จะเริ่มต้น และจรดปลายปากกา และอาจยกเป็นข้ออ้างของการไม่มีเวลาเขียน  อย่างไรก็ตาม งานเขียนอาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับใครบางคน  แต่เชื่อว่ากว่าจะมาเป็นเรื่องง่ายสำหรับใครคนนั้น   ย่อมผ่านความรู้สึกยากมาก่อนเช่นกันทุกคน  นี่แสดงให้เห็นว่าหากทุกคนได้ฝึกเขียนและสามารถเขียนได้ในครั้งแรก ก็ย่อมเขียนได้ในครั้งต่อๆไป  จนสร้างสมเป็นผู้มีประสบการณ์งานเขียนได้  ในที่นี้ขอถ่ายทอดประสบการณ์ตรงและมุมมองของผู้เขียน
หลักการและกระบวนการเขียนบทความและตำรา
การเขียนบทความหรือตำรา จำเป็นต้องคำนึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้
The purpose: why are you writing?   ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  
The audience: who are you writing for?  ต้องรู้ว่าเขียนขึ้นเพื่อใคร หรือใครเป็นผู้อ่าน  
The types of writing: how would you describe the writing? เขียนอย่างไรดี  ผู้อ่านจึงจะเข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค์ของ
กระบวนการเขียนบทความหรือตำรา
เริ่มจากกระบวนการคิด  ตั้งแต่ชื่อเรื่องที่จะเขียน จากนั้นต้องจินตนาการสร้างเค้าโครงเรื่อง  ต่อด้วยกระบวนการเขียนตามเค้าโครงโดยต้องมีองค์ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้สั่งสมจากประสบการณ์หรือที่เรียกว่าความรู้ที่ฝังลึกในตัวผู้เขียน  (Tacit knowledge)  และความรู้ในเชิงทฤษฏีหรือความรู้ที่เปิดเผยแล้ว (Explicit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้เชิงประจักษ์ที่เป็นแนวคิด ทฤษฏี หลักการ หรือผลงานวิจัย ที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับ   นอกจากนั้นในการนำเสนอเนื้อหาของตำราที่แสดงถึงความเป็นมืออาชีพของผู้เขียนเพื่อให้มีความสละสลวยของภาษา  จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านภาษาและการเป็นบรรณาธิการ  มีการตรวจสอบด้วยตนเองเบื้องต้น   สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าของบทความหรือตำรา  อีกทั้งยังแสดงถึงเอกลักษณ์ทางภาษาของผู้เขียน ลีลาการนำเสนอ ซึ่งสะท้อนถึงวิธีคิด และภูมิปัญญาของผู้เขียน แน่นอนหากดำเนินการเช่นนี้  บทความหรือตำราที่ได้ย่อมแตกต่างจากตำราที่เขียนโดยผู้อื่น  ทั้งๆ ที่เรื่องที่เขียนอาจคล้ายคลึงกัน  
เทคนิคและวิธีการเขียนบทความทางวิชาการและตำรา เมื่อตัดสินใจว่าจะเขียนบทความหรือตำราสักชิ้น  ต้องมีหลักการและกระบวนการ ตลอดจนเทคนิคและวิธีการเขียน   เพื่อให้ได้บทความหรือตำราที่มีคุณภาพและมีชีวิตชีวา ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ (Based on Creme, P & Lea, MR 2008 ผนวกกับประสบการณ์ผู้เขียน)  
๑).  Select a title or topic that you are writing about   การเลือกหัวข้อเรื่อง
๒).  Brain storming    การระดมความคิด  จากความรู้ที่มีอยู่ในเรื่องที่จะเขียน  
๓).  Organising and shaping  การวางโครงร่างของบทความหรือตำรา และจัดกลุ่มให้เหมาะสม หากงานเขียนคนเดียวอาจหาผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณาโครงร่างของตำรา  
๔).  Writing การลงมือเขียน ซึ่งต้องอาศัย
โดยมีรายละเอียดดังนี้
 ๑.  การเลือกหัวข้อเรื่อง (Select a title or topic that you are writing about)
การเลือกหัวข้อเรื่องนับเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่ควรคำนึงถึงประการแรกในการเรื่องหัวข้อเรื่องในการแต่งตำรา ได้แก่ ความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียน  และควรเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งถือเป็นการตลาด  อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการเขียนที่ซ้ำกับท้องตลาดหากไม่มีข้อมูลอะไรที่เด่นกว่าหรือแปลกกว่าหรือเป็นปัจจุบันกว่า   
การตั้งชื่อเรื่อง  บางครั้งเราอาจมีเพียงปะเด็นที่สนใจ  แต่อาจจะยังไม่สามารถตั้งชื่อเรื่องที่ถูกใจได้ ก็ไม่เป็นไร เมื่อเขียนแล้วเสร็จอาจมาตั้งที่หลัง เพื่อให้สอดคล้องหรือครอบคลุมประเด็นที่เขียน ซึ่งการตั้งชื่อควรดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน  การตั้งชื่อเรื่อง อาจเป็นประโยคบอกเล่า หรือเป็นคำถามก็ได้
๒.  การระดมสมอง (Brain storming)  
การระดมสมองเป็นการระดมความคิด  และความรู้ที่เป็นประเด็นเรื่องที่จะเขียน  และสื่อสารเป็นตัวอักษรโดยอาจทำเป็นต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขา  เส้นเลือดแตกแขนงเส้นเลือดฝอย  รูปก้างปลาและแตกแขนง หรือเป็นแบบดาวกระจายล้อมจันทร์
 ๓. การวางโครงร่างของตำรา (Organising and shaping)
ภายหลังจากระดมความคิดและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องตำราที่จะเขียนแล้ว นำมาจัดเป็นกลุ่มโดยอาจจัดแบ่งเป็นบทตามวงที่กระจายล้อมรอบชื่อเรื่องตำรา   จากนั้นแตกย่อยเป็นตอนตามวงที่กระจายรอบนอกของบท  และแตกย่อยจากตอนเป็นเรื่อง ตามลำดับ  อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแล้วพบว่าเนื้อหาของบทในบางวงน้อย  อาจจัดกลุ่มโดยรวมประเด็นที่เหมือนกันเข้าด้วยกันและปรับแต่งให้เหมาะสม
๔. การเขียน (Writing)
    การเขียนบทความทางวิชาการหรือการแต่งตำรา  โดยทั่วไปประกอบด้วย  ๓ ส่วน ได้แก่ บทนำ (Introduction) เนื้อหาสาระ (Main body) และสรุป(Conclusion)
        ๔.๑ Introduction: what are the article or book going to be about?  การเขียนบทนำ เป็นการแสดงให้เห็นว่าหนังสือหรือบทความที่เขียนกำลังจะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร  ประเด็นการเขียนจะเลือกมาจากคำสำคัญ (key words ) ของชื่อเรื่องบทความหรือตำราที่เขียน
        ๔.๒ Main body: what are the themes that you are developing to support your argument? การเขียนรายละเอียดของแต่ละประเด็นจำเป็นต้องพัฒนาการเขียนในลักษณะของ argument ซึ่งจะอธิบายต่อไป
        ๔.๓ Conclusion: what are the consequences of what you have written?
การสรุปเนื้อหาสาระสุดท้ายของเรื่อง เขียนขึ้นเพื่อต้องการบอกผู้อ่านว่าได้เขียนอะไรไว้บ้าง และอาจเน้นประเด็นที่เขียน  หรืออาจเป็นการส่งประเด็นท้ายที่ประสงค์จะฝากให้ผู้อ่านให้ได้คิดต่อไป  อย่างไรก็ตามการสรุปจะต้องไม่เป็นการสร้างประเด็นการเขียนขึ้นมาใหม่  เพราะจะทำให้การจบประเด็นไม่สมบูรณ์ได้
๕. การเขียนเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละบท
    การเขียนเนื้อหาในแต่ละหน้าอาจมีหลายประเด็นหลัก  โดยทั่วไปในหนึ่งหน้า อาจมีอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ ประเด็น หรือ topic  โดยแบ่งประเด็นละย่อหน้า  เพื่อจะทำให้ผู้อ่านตามประเด็นที่ต้องการเสนอได้เป็นระยะๆ  เชื่อมโยงกัน  และการย่อหน้ายังช่วยให้ผู้อ่านได้พักสายตาขณะอ่านในแต่ละหน้า   โดยแต่ละประเด็นหรือย่อหน้าที่นำเสนอมีองค์ประกอบ  ดังนี้
๕.๑     Topic sentence  เป็นประโยคสำคัญของย่อหน้าที่จะบอกผู้เขียนถึงประเด็นหลัก
ของย่อหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ประโยคแรก
๕.๒ Supporting sentence  เป็นประโยคสนับสนุนของข้อความในประโยคแรก
๕.๓ Present as argument  เป็นการนำเสนอการเขียนแบบ argument ซึ่งเป็นการเขียนที่
มีลักษณะ ดังนี้
๕.๓.๑  การนำเสนอมีมีความชัดเจนและเชื่อมโยงกับประโยคถัดมา (coherent
with its parts clearly connected  to each other,
๕.๓.๒ นำเสนเนื้อหาสองลักษณะทั้งที่เป็นสถานการณ์และกรณีศึกษา (present
both sides of a case or situation),
๕.๓.๓  เป็นการเขียนแบบตกวิทยา มีเหตุมีผล  (as logically connected
writing)
๕.๓.๔ เป็นเสมือนการเขียนชิ้นงานที่ต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์หรือเหตุผลมา
สนับสนุน (as a thesis with supporting evidence  and reasons)
๕.๔ A mini conclusion or summary มีการสรุป ซึ่งเป็นลักษณะของการบอกผู้อ่านว่า
เขียนอะไรมา ประเด็นสำคัญอยู่ตรงไหน และมีข้อเสนอแนะต่ออย่างไร ซึ่งเป็นลักษณะของการสรุปแบบ conclusion แต่การสรุปต้องไม่เป็นการขึ้นประเด็นใหม่
๕.๕ Referral sentence มีการส่งต่อประโยคท้ายของย่อหน้าไปสู่ย่อหน้าต่อไป จะช่วยให้
การนำเสนอเนื้อหามีความสอดคล้องกัน  และยังเป็นการเรียงร้อยภาษาให้มีความสละสลวย
 สำหรับผู้เขียนมือใหม่และมืออาชีพ   
ในการปฏิบัติจริงในเรื่องของการเขียนอาจเป็นการยากสำหรับผู้เริ่มต้น  ดังนั้น ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางการเขียนสำหรับผู้เขียนมือใหม่รวมทั้งมืออาชีพ  ดังนี้
 ๑.   เขียนด้วยภาษาของตน  (Writing dawn in your own words) การเขียนด้วยภาษาของตนจะเป็นการแสดงภูมิรู้และความเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาของตนซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
 ๒.  อะไรที่รู้แล้วในตำราที่จะเขียน (What do you already know about the matter of the book?)  จะเป็นการเขียนจากประสบการณ์และความรู้ที่ตนมีอยู่  โดยยังมิต้องคำนึงถึงความสละสลวยของภาษา  บางคนอาจใช้วิธีการถอดเทปที่ตนบรรยายและปรับเป็นบทความหรืองานเขียนก็ได้  
 ๓.  อะไรที่ต้องรู้เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ตำรามีความสมบูรณ์ (What do you need to know to help you complete the book?) เมื่อลงมือเขียนแล้ว จะเริ่มรู้ว่าส่วนใดที่เราไม่ต้อง ซึ่งจะต้องแสวงหา เพื่อให้ตำรามีความสมบูรณ์ ซึ่งเนื้อหาที่หามาเพิ่มจะเป็นทั้งจากตำราอื่นๆ จากงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งในสมัยนี้หาทางอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และสะดวก
 ๔.  ตำราที่เขียนมีความแตกต่าง หรือมีความคล้ายกับตำราอื่นๆ อย่างไรบ้าง (How do you think this book differ from or is similar to others book?)  เมื่องานเขียนที่มีการสะดมสมองใหม่  กำหนดโครงเรื่องใหม่  กาลเวลาใหม่ย่อมมีข้อมูลและผลงานวิจัยใหม่  ที่สำคัญการเขียนด้วยภาษาและจินตนาการ ของแต่ละคนมักจะมีความแตกต่างกัน เนื้อหาย่อมแตกต่างจากตำราที่ผ่านมาถึงแม้จะเป็นเรื่องคล้ายคลึงกัน   อย่างไรก็ ตามก่อนลงมือเขียนเรื่องใดก็ต้องสำรวจก่อนว่าสิ่งที่จะเขียน มีใครเขียนมาบ้างแล้ว และมีส่วนใดที่ขาดจำเป็นต้องเพิ่มเติม หรือให้ความกระจ่างขึ้น  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้งานเขียนใหม่แตกต่างจากงานเขียนที่มีอยู่แล้วและมีคุณภาพ
 ๕. มีวิธีการเลือกตำราหรือเอกสารอย่างไรในการอ่านเพื่อให้ตำรามีความสมบูรณ์ (How do you going to choose your reading materials?)