ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง ประชุมเชิงปฏิบัติการมาตรฐานการพัฒนานักบริหารสาธารณสุขและการอบรมพัฒนาศักยภาพ วิทยากรพี่เลี้ยง ฯ หลักสูตรนักบริหารสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2559
ผู้จัด วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
สถานที่ ณ : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข   
วันที่  2-4 มีนาคม 2559   

ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาววาสนา อูปป้อ

วิทยากรพี่เลี้ยง (Facilitator)
Facilitator คือ ผู้รับผิดชอบในการจัดรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้ทีม/กลุ่ม/คณะทำงานได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
ทำไมต้องมี Facilitator
•    เพื่อสร้างบรรยากาศและกระบวนการทำงานของทีม/เสริมพลังศักยภาพการทำงาน
ของหัวหน้าทีมและสมาชิกในทีม
•    เพื่อกระตุ้นและสร้างบรรยากาศของการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
•    เพื่อประสานนโยบายคุณภาพองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย
เป้าหมายของ Facilitator
•    เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของทีม
•    เพิ่มการมีส่วนร่วมของทีม
•    นำความคิดที่มีค่าออกมาจากสมาชิกให้ได้มากที่สุด
•    นำไปสู่การยอมรับข้อสรุปร่วมกันของทีม
•    การเสริม เติมเต็มองค์ความรู้จากสมาชิกสู่ทีม
กลยุทธ์ของ Facilitator
•    สร้างบรรยากาศและกระบวนการเรียนรู้ในทีม
คุณสมบัติของ Facilitator
•    มีมนุษยสัมพันธ์ดี /ความสามารถในการสื่อสาร
•    มีความมุ่งมั่น เสียสละ ทุ่มเท อุทิศตน
•    เป็นผู้นำทีมได้ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม และกระตุ้นการเรียนรู้ในทีมได้
หน้าที่ของ Facilitator
•    เกริ่นนำ
•    กำกับทิศทางการทำงานของกลุ่ม
•    ดูแลกระบวนการกลุ่ม
•    ประเมินผลและกำกับกระบวนการประชุม
บทบาทของ Facilitator
•    จัดโครงสร้างการประชุม/การมีส่วนร่วม แต่ไม่เข้าไปยุ่งกับเนื้อหา
•    ผู้เสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้
•    ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิธี
•    ผู้สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
•    ผู้สร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม
•    ผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก
•    ผู้ช่วยแก้ปัญหาบางเรื่อง
•    เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์
•    เป็นผู้ให้/ผู้รับความรู้
•    เป็นโค้ช คอยชี้แนะ สะท้อนกลับ
•    เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อแรงกดดันของอำนาจใดๆ
•    เป็นผู้นำกองคาราวาน (กระบวนการ) ดูแลทิศทาง
•    เป็นผู้ให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลง
•    เป็นผู้คุมกฎ ดูแลความพร้อม/ระเบียบ
•    เป็นผู้วิเคราะห์ สรุปประเด็น ติดตามเชื่อมโยงสู่สิ่งใหม่ๆ
•    สนับสนุนกระบวนการ “การมีส่วนร่วมทางความคิด”
•    เป็นผู้รับผิดชอบต่อความสำเร็จของกระบวนการ
คุณลักษณะของ Facilitator ที่ดี
1. ทักษะการจัดแจงฉาก
2. ทักษะการสร้างบรรยากาศกลุ่ม
3. ทักษะการสื่อสาร
4. ทักษะการฟัง
5. ทักษะการตั้งประเด็นคำถาม
6. ทักษะการเสริมสร้างกำลังใจ
7. ทักษะการกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีตื่นตัว
8. ทักษะการสังเกต
9. ทักษะการควบคุมประเด็นและคลี่คลายข้อขัดแย้ง
10.ทักษะการสรุปบทเรียน

 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based  Learning) หรือ PBL หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ปัญหา เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาข้อมูลและองค์ความรู้มาช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่าง มองเห็นแนวทางแก้ไขทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถที่จะผสมผสานความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้แบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self directed  learning : SDL) เป็นการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered  Learning) ผู้เรียนจะใช้ทั้ง Hand  Heart และ Hand พร้อมๆกัน คือใช้สมองในการคิด ใช้หัวใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และใช้มือในการจดบันทึกและค้นคว้า ซึ่งการเรียนแบบ PBLจะเกิดประโยชน์และได้ผลดีเมื่อเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย (Small  Group  Learning) ไม่เกิน ๑๕ คน โดยสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้าน
๑)  พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒) พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา
๓) พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๔) พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม
ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
ขั้นตอนที่   ๑    ทำความเข้าใจในความหมายของคำหรือประเด็นต่างๆในTrigger ให้เข้าใจ
ขั้นตอนที่   ๒    ค้นหาปัญหาและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่   ๓    วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมมติฐาน
ขั้นตอนที่   ๔    ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากรพี่เลี้ยงและข้อมูลที่ค้นคว้าจากสถานการณ์จริง
ขั้นตอนที่   ๕    วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง
ขั้นตอนที่   ๖    กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ขั้นตอนที่   ๗    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและวิทยากรหรือผู้รู้
ขั้นตอนที่   ๘    แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม/สรุปเนื้อหาและประสบการณ์ การเรียนรู้
ขั้นตอนที่   ๙    สรุปผลการศึกษา โดยการนำเสนอผลการศึกษาและจัดทำเอกสารรายงาน
เงื่อนไขในการเรียนรู้แบบ PBL
๑) กระตุ้นความรู้เดิม (Activation  of  prior  knowledge) ความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานนั้นมีประโยชน์มาก ผู้เรียนต้องพยายามนำเอาความรู้เดิมจากความทรงจำออกมาใช้ให้มากที่สุด วิทยากรพี่เลี้ยงหรือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มจะต้องกระตุ้นให้เพื่อนสมาชิกนำความรู้เดิมออกมาให้กับกลุ่ม
๒) เสริมความรู้ใหม่ (Encording  specificity) การที่ผู้เรียนนำความรู้ที่แสวงหามาได้ใหม่เสริมกับความรู้เดิมจะทำให้เกิดความเข้าใจ ใคร่ครวญและฉุกคิด และเกิดความความคิดกว้างไกล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
๓) ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ (Elaboration  of  knowledge) หากผู้เรียนได้มีโอกาสต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ โดยวิธีอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่ม สรุป ตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมติฐานการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นความรู้เก็บกักไว้ในความทรงจำได้นาน และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว