ที่มา การประชุมวิชาการ 
เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and development)
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
สถานที่ ณ : ห้องประชุมสุพรรณิการ์ 1   
วันที่  12-13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558   

ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางวาสนา หลวงพิทักษ์

การวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and development)

    การวิจัยเพื่อพัฒนา หมายถึง  งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคมและการใช้คลังความรู้เหล่านั้นเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่  
    ประเภทของงานวิจัยเพื่อพัฒนามีดังนี้คือ
    1. วิจัยพื้นฐาน (Basic research)คือ การค้นคว้าหาทฤษฏีหรือในห้องทดลอง การหาปรากฏการณ์ ความรู้ใหม่ ความจริงใหม่โดยมิได้มีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าจะนำปใช้ปฏิบัติ (วิชาชีพพยาบาลอาจมีน้อย)
    2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research)คือ การหาความรู้ใหม่ หรือนำความรู้ไปใช้ จุดประสงค์คือการนำผลการวิจัยปใช้ประโยชน์
    3. การพัฒนาทดลอง (Experimental research)คือการนำความรู้จากข้อ 2. ที่มีอยู่แล้วมาทดลอง ประดิษฐ์สิ่งใหม่ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบใหม่ ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์เก่าหรือก่อตั้งขึ้นแล้ว
    ประเด็นการวิจัย คือ Palliative care อยู่ในยุทธศาสตร์ของ 3 หน่วยงาน คือ สวรส. สภาการพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข***
    ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย คือ การวิจัยทางการพยาบาลในชุมชนต้องมีการบูรณาการระหว่างการวิจัยบูรณาการและการฟื้นฟูสภาพในชุมชนดังภาพ
X
Vertical integration
การวิจัยบูรณาการY
                            Community rehabilitation (Horizontal integration)    
นโยบายและยุทธศาสตรก์ารวิจัยยัของชาติฉบับที่ 8  (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย 5 ยทุธศาสตร์การวิจัย คือ
• ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม  
เป้าประสงค์การวิจัย : ส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่เป็นพื้นฐานของประเทศ โดยการเสริมความเข้มแข็งของสังคม การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และความผาสสุกของประชาชน  มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัฒนธรรม สขุภาพอนามัย คุณภาพชีวิต สวัสดิการ เพื่อความมั่นคงของชีวิต ตลอดจนการบริหารบ้านเมืองที่ดีการสร้างความเข้มแข็งและการสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและสังคม รวมทั้งการ เสริมสร้างศักยภาพของชมุชนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการแกไขปัญหา ความยากจน  
• ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เป้าประสงค์การวิจัย : ส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาเศรษฐกกิจที่เท่าเทียมและเป็นธรรมอย่างสร้างสรรค์และสมดุล โดยคำนึงถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร  การสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้และประมง จัดการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นการวิจัยเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางอุตสาหกรรมและบริการ  ซึ่งครอบคลุมถึงการท่องเที่ยว การพัฒนาด้านพลังงาน โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยคำนึงถึงบทบาทการแข่งขันของประเทศภายใต้การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาต ิรวมทั้งสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านและสร้างองค์ความรู้เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยดำเนินการบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และมุ่งก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ
• ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การอนุรักษ์เสริมสร้างและพัฒนาทุน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาองคค์วามรู้และฐานข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบโดยท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม  มุ่งเน้นการวิจัยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลาย ทางชีวภาพ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสังคม รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์น้ำ รวมถงึการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และการวิจัยที่เกี่ยวกับการรองรับและฟื้นฟูหลังภัยธรรมชาติและภัยพิบัติระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัย เป้าประสงค์การวิจัย: พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศและการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆอย่างสมดุลและเหมาะสม  มุ่งเน้นวิจัยเสริมองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาของประเทศและสาธารณะ ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยของประเทศ โดยในระดับภูมิภาค อาจมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญที่มีความจำเป็นต้องการผลงานวิจัยในพื้นที่ด้วย
ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ เพื่อการบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสมที่เข้าถึง ประชาชนและประชาสังคมอย่างแพร่หลาย เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกการปฏิรูปการวิจัยของประเทศเพื่อบริหารจัดการความรู้ของประเทศอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ  มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการวิจัยของประเทศ โดยในระดับภูมิภาค อาจมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญที่มีความจำเป็นต้องการผลงานวิจัยในพื้นที่