ที่มา โครงการ ๑ ช่วย ๙ การพัฒนาโครงการวิจัยเครือข่าย ครั้งที่ ๕
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
สถานที่ ณ ห้องประชุมฉายเฉิด อภิชาตบุตร
วันที่ ๑๖ สิงหาคม2557
ผู้สรุปประเด็นความรู้ 1.นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน2.ดร ณัฏฐวรรณ คำแสน 3. นางสาวสินีพร ยืนยง

 


        สืบเนื่องจากโครงการ 1 ช่วย 9 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับเป็นแม่ข่ายในการสร้างความร่วมมือพัฒนางานวิจัยในกลุ่มสถาบันการศึกษาทางด้านสุขภาพ 9 แห่ง ซึ่งวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรีได้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว และได้ดำเนินการเข้าร่วมประชุมเพื่อดำเนินงานมาแล้ว 4 ครั้ง
           ครั้งที่ 1 ณ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ เป็นการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานร่วมกัน

           ครั้งที่ 2 ณ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย แต่ละสถาบันการศึกษานำเสนอหัวข้อหรือ area ที่สนใจ และในที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินงานวิจัยรวมกันในหัวข้อ สภาวะสุขภาพคนเมือง
           โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันดังนี้
              1. เพื่อเป็นการสร้างงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของหลายสถาบันและสามารถที่จะขอทุนการดำเนินงานจากองค์กรภายนอกได้
              2. เพื่อใช้เป็นผลงานในสนองตอบงานประกันคุณภาพการศึกษา : งานวิจัยที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
              3. แต่ละสถาบันได้ผลงานที่ใช้ในการตีพิมพ์เผยแพร่เพิ่มมากขึ้น
และได้มอบหมายทุกสถาบันในการสร้างแบบสอบถามการประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว

           ครั้งที่ 3 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เป็นการพิจารณาเครื่องมือร่วมกัน และมอบหมายในส่วนที่ขาดให้กับแต่ละวิทยาลัยฯ ได้เพิ่มเติม

           ครั้งที่ 4 ณ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ในการบรรยายและให้ข้อเสนอแนะในการเขียนชุดโครงการวิจัยเพื่อให้เกิดความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น โดยจุดเน้นในการดำเนินงานวิจัยต้องเน้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ
              1. สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้
              2. สามารถเป็นข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนนโยบายในทุกระดับ
              3. สามารถสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานที่มีความหลากหลาย

           ครั้งที่ 5 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินงานวิจัยร่วมกันประกอบด้วย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัย “การสร้างชุมชนต้นแบบ” โดยชุมชนที่เลือกเป็นพื้นที่ในการวิจัยคือชุมชนในเขตเมือง
การแบ่งกลุ่มสมาชิกในแต่ละสถาบันการศึกษาเพื่อมอบหมายงาน เพื่อดำเนินงานแบ่งเป็น ตัวแทนในสถาบันการศึกษา เขียนโครงร่างวิจัย เพื่อเสนอขอทุนภายนอกจาก สสส. ประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 สถาบัน
แบ่งกลุ่มผู้รับผิดชอบในการปรับและพัฒนาแบบสอบถาม เพื่อใช้ดำเนินงานในการดำเนินการวิจัย
มอบหมายแต่ละสถาบันการศึกษา ส่งข้อมูลที่จะเขียนโครงร่าง ประกอบด้วย ชุมชนที่จะลงศึกษาและสร้างเป็นชุมชนต้นแบบ สิ่งที่ต้องการพัฒนา/ปัญหาที่พบและต้องการสร้าง ความร่วมมือของผู้นำองค์กร ชุมชน