ห้การปรึกษาอย่างไรจึงจะได้ใจนักศึกษา

        อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีควรมีหน้าที่ สอดส่องดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนา ปรึกษาแนะนำ ช่วยทำให้สัมฤทธิ์ผลพร้อมเปิดใจแก้ไขปัญหาและต้องเข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เพศ วัย คุณลักษณะ ปัญหา ความสนใจ กิจกรรมโปรด ข้อเด่น ข้อจำกัด และต้องเข้าใจเด็ก
Generation Y เป็นเด็กชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เก่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำอะไรหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ต้องการความชัดเจนว่าทำแล้วได้อะไร เน้นความพอใจแต่ไม่อดทน

        ลักษณะเด็กวัยรุ่นที่กำลังมีปัญหา ใช้ 4 มิติในการประเมิน ได้แก่
        1.ความถี่ในการแสดงพฤติกรรมนั้น
        2. ความรุนแรงหรือความเข้มในการแสดงพฤติกรรมนั้น  
        3. ระยะเวลาของการกระทำพฤติกรรมนั้น  
        4. พิจารณาจากความเหมาะสมกับวัยหรือพัฒนาการของวัย

       
        กลุ่มปัญหาทางพฤติกรรมของวัยรุ่น ได้แก่
        1.ปัญหาทางอารมณ์
        2.ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเบี่ยงเบนทางสังคม
        3. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ
        4. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
        5. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ และ ปัญหาอื่นๆ

        การสื่อสารมีความสำคัญ เพราะส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการสื่อสารได้แก่ พูดคนละเรื่อง   จะพูดอย่างไรให้เข้าใจตรงกัน ทำไมเวลาพูดเขาจึงเข้าใจยากแบบนี้   จะมีวิธีไหนจึงจะเข้าถึงและได้ใจ และโดนใจคน ประเภทของการสาร ได้แก่ วัจนสาร (Verbal language) คือภาษาพูด ภาษาเขียน น้ำเสียงนัยแห่งความหมาย ความเหมาะสม ถูกต้อง ชัดเจนของภาษา สำหรับ อวัจนสาร (Non - Verbal language) คือ   นัยนภาษา สัมผัสภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา กาลภาษา เทศภาษา ปริภาษา

        เทคนิคควรรู้สำหรับครูในการสื่อสาร ได้แก่ T.A Transactional Analysis   

        P : Parent ego state คือ มองลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน เห็นอกเห็นใจ ใส่ใจ ช่วยเหลือ ชอบใช้อำนาจ ชอบให้ลูกศิษย์เกรงกลัว

        A : Adult ego state คือ ยึดเป้าหมาย แบบแผน ความถูกต้อง มีเหตุผล เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ งานเป็นงาน ไม่เล่นในเวลางาน

        C : Child ego state คือ ยืดหยุ่น โอนอ่อนผ่อนตาม ไม่มีจุดยืน มีอารมณ์ขัน ทำงานด้วยความสนุก ถือความพอใจมากกว่ากฎเกณฑ์

        ความสำคัญของการให้คำปรึกษา
        1. เพื่อ ให้บุคคลนั้นเข้าใจตนเอง และรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้
        2.เพื่อให้บุคคลรู้จักปรับตัวให้เหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อม
        3. เพื่อให้บุคคลรู้จักตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง

        วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา
        1. เพื่อช่วยให้บุคคลได้สำรวจตนเอง รู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง
        2. เพื่อช่วยให้บุคคลได้ระบายความขุ่นเคือง ไม่สบายใจ อัดอั้นตันใจ และความไม่พอใจออกมา
        3. เพื่อช่วยให้บุคคลมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองดีขึ้น
        4. เพื่อช่วยให้บุคคลยอมรับและกล้าเผชิญกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตน รวมทั้งสามารถยอมรับข้อบกพร่องตนเองได้
        5. เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถปรับตนเองและขจัดข้อบกพร่องต่างๆของตนเองได้


        กระบวนการให้คำปรึกษา มี 5 ขั้นตอน ได้แกขั้นที่ 1 เริ่มต้นให้คำปรึกษาขั้นที่
2 การสำรวจปัญหา
ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจปัญหาขั้นที่ 4 ตั้งเป้าหมายและดำเนินการแก้ปัญหาขั้นที่ 5 ยุติการให้คำปรึกษา

          ทักษะเบื้องต้นในการให้ความช่วยเหลือด้านภาษาท่าทาง ได้แก่ การประสานสายตา การแสดงสีหน้าและความมีชีวิตชีวาในสีหน้า การสัมผัส การผงกศีรษะและฟัง ทักษะเบื้องต้นในการให้ความช่วยเหลือด้านภาษาถ้อยคำ ได้แก่ การถาม การทวนความ การตีความ การสะท้อนความรู้สึก   การให้ข้อสนเทศ   การเผชิญหน้า การให้กำลังใจ การสรุป