การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“การเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ” ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 6 ตุลาคม 2557

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

         

1 นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน         รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2 นางสาวณัฎฐวรรณ คำแสน  
3 นางสาวปวิดา   โพธิ์ทอง  
4 นางสาวศริณธร มังคะมณี  
5 นางสาวลักขณา  ศิรถิรกุล  
6 นางสาวสุพรรณี เปี้ยวนาลาว  
7 นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
8 นางสาวเสาวลักษณ์ แสนฉลาด  
9 นางสาวสุธาลินี   สามัคคี  
10 นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
11 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้บันทึก
12 นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้ช่วยบันทึก

 

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า การเขียนบทความวิจัยที่ดี ที่สามารถส่งตีพิมพ์เผยแพร่ และได้รับการตอบรับจากวารสารต่างๆ ควรมีประเด็นปัญหาของการวิจัยหรือแนวคิดการวิจัยที่ชัดเจน มีวิธีการวิจัยที่ถูกต้อง และเนื้อหาของการวิจัยควรทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบบริการสุขภาพ ควรมีการเตรียมเขียนบทความวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆ โดยเข้าไปอ่านนโยบายของแต่ละวารสารที่จะนำไปลงตีพิมพ์ และอ่านคำแนะนำของวารสารนั้นๆ และปฏิบัติตาม จะทำให้งานวิจัยที่ส่งถูกปฏิเสธน้อยลง

การเขียนบทความวิจัย

บทความวิจัยเป็นบทความทางวิชาการประเภทหนึ่ง ซึ่งเขียนขึ้นจากผลงานการค้นคว้าอย่างมีระบบ มีการกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ตีความ สรุปและอภิปรายผลการวิจัยที่สามารถให้ข้อมูล คำตอบ อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ มีโครงสร้างและเนื้อความเหมือนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยมุ่งเผยแพร่ผลการวิจัยบทความวิจัยมักเขียนขึ้นเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือเอกสารการประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการวิจัยให้กว้างขวาง เกิดประโยชน์และความก้าวหน้าในวงวิชาการและวิชาชีพ

หลักการเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ

-          มีประเด็นหรือแนวคิดเกี่ยวกับวิจัยที่ชัดเจน

-          เนื้อหามีความทันสมัย และเป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน

-          ควรค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือได้

-          ควรใช้ศัพท์ต่างๆและภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม

-          มีการนำเสนอข้อมูลของงานวิจัยที่เข้าใจง่าย

รูปแบบการของบทความวิจัย

รูปแบบการเขียนบทความวิจัยอาจแตกต่างกันไปบ้าง ในเรื่องหัวข้อ คำที่ใช้ ขึ้นอยู่กับแหล่งตีพิมพ์

เผยแพร่ ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาและยึดถือรูปแบบตามที่วารสารหรือแหล่งเผยแพร่กำหนด แต่โดยทั่วไปมีโครงสร้างใกล้เคียงกัน และเป็นลำดับเช่นเดียวกับรายงานการวิจัย

บทความวิจัยประกอบด้วย

-          ชื่อเรื่อง (Title)การตั้งชื่อเรื่องต้องกระชับ และแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด โดยไม่

จำเป็นต้องเป็นประโยค แต่ที่สำคัญต้องตั้งชื่อให้ได้ตามความหมาย

-          ชื่อผู้เขียน(Authors)ต้องระบุชื่อผู้เขียน และผู้ร่วมเขียน หรือผู้ร่วมวิจัย

-          บทคัดย่อ (Abstract) การเขียนบทคัดย่อมีความสำคัญมาก ควรเป็นส่วนสุดท้ายที่จะเขียน โดยมี

ความยาวประมาณ 150-250 คำ หรือ10-15 บรรทัด เพราะถ้าเขียนยาวกว่าที่กำหนด จะถูกตัดส่วนเกินทิ้งไป ซึ่งอาจทำให้ใจความสำคัญขาดหายไป จึงควรเขียนให้ได้สาระสำคัญของเรื่องภายในความยาวที่กำหนดไว้

-          บทนำ/ หลักการและเหตุผล (Introduction) ควรระบุความสำคัญของปัญหา 1-2 ย่อหน้า มี

การร้อยเรียงเนื้อหาอย่างเชื่อมโยงไม่ใช้วิธีการตัดต่อ หรือปะติดปะต่อ การเขียนควรให้ได้ข้อความที่แสดงถึงการลื่นไหลของความคิด เช่น ในหนึ่งย่อหน้า ควรมีประโยคแรกเป็นประโยคหลัก ตามด้วยประโยคสนับสนุน และลงท้ายด้วยประโยคสรุป เป็นต้น และต้องกล่าวถึงเหตุผลที่ศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ต่อจากนั้นในย่อหน้าที่ 3 หรือ 4 ให้เขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้ทราบความรู้เดิมของเรื่องที่วิจัยนั้น และใช้ประโยชน์ในการอภิปรายผล

-          ระเบียบวิธีวิจัย(Research Methodology) ควรระบุเกี่ยวกับ ประชากรที่ศึกษา ขนาดของกลุ่ม

ตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

-          ผลวิจัย(Results) ควรเขียนข้อค้นพบ และสถิติที่สำคัญ ควรรายงานผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย

เช่น อธิบายตัวแปรแต่ละตัวแปร แล้วนำเสนอความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา ในรูปแผนภูมิ ตาราง หรือ บรรยายเป็นความเรียง เป็นต้น

-          อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ(Discussion and Suggestion) การอภิปรายข้อค้นพบ

อภิปรายความสอดคล้องหรือความขัดแย้งกับสมมติฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หรือเปรียบเทียบกับผลวิจัยอื่น โดยเฉพาะที่มีผลแตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรเขียนข้อเสนอแนะที่ได้อย่างชัดเจน และหากผลวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถตอบคำถามวิจัยได้ ควรเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

- บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วยรายชื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ/หรือสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า เพื่อการวิจัยนี้ บทความวิจัยบางเรื่องกำหนดให้เสนอเฉพาะรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา

- ภาคผนวก คือ ส่วนเพิ่มเติมที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ เนื้อหาได้ดีขึ้น โดยทั่วไปเป็นตาราง แผนภูมิหรือกราฟที่แสดงผลการวิจัยที่สำคัญ

 

 

แนวทางการหาแหล่งเผยแพร่บทความ

- แหล่งเผยแพร่บทความวิจัย ได้แก่ วารสารวิชาการ และการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งควรเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ โดยแหล่งเผยแพร่จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จึงจะช่วยเพิ่มความสำคัญและสร้างคุณค่าของงานวิจัย

- บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ซึ่งแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยหลายแหล่งจะระบุไว้ว่าในการเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องไม่เคยหรืออยู่ในระหว่างการนำเสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งอื่น ดังนั้นบทความวิจัยเรื่องเดียวกันจะทำได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถลงซ้ำ

- องค์ความรู้ของผู้วิจัย ผู้ที่จะพิมพ์เผยแพร่ต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น

- เลือกวารสารเป้าหมายหรือวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ควรสอดคล้องกับชื่อบทความ

- หาบุคคลที่สามารถช่วยเหลือได้ นำเข้าสู่ช่องทางของวารสารได้ถูกต้อง

- สร้างเครือข่ายสำหรับนักวิจัยที่อยู่ในความสนใจเหมือนกัน