การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขั้นตอนการส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร

ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2557

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

         

1 นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน         รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2 นางสาวณัฎฐวรรณ คำแสน  
3 นางสาวปวิดา   โพธิ์ทอง  
4 นางสาวศริณธร มังคะมณี  
5 นางสาวลักขณา  ศิรถิรกุล  
6 นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
7 นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
8 นางจารุวรรณ สนองญาติ  
9 นางวาสนา หลวงพิทักษ์  
10 นางสาวขวัญฤทัย พันธุ  
11 นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
12 นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
13 นางสาวจิราภรณ์   รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเผยแพร่งานวิจัยในวารสาร จัดได้ว่าเป็นทางการและได้รับการยอมรับ มากที่สุดในวงการวิชาการ โดยทั่วไป สำหรับขั้นตอนที่เป็นทางการเพื่อเผยแพร่งานวิจัย ก็จะเริ่มจากการส่งต้นฉบับของบทวิจัย การเขียนบทความวิจัยตามของรูปแบบที่จะส่งวารสารนั้นๆ ปัจจุบันวารสารหลายฉบับได้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและผู้วิจัย สามารถลงทะเบียนเข้าเป็นผู้ใช้งานและทำการส่งเอกสารต้นฉบับเพื่อ ตีพิมพ์ รวมไปถึงการติดตามผลทางออนไลน์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์เหมือนก่อน

การเผยแพร่งานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (conference) เป็นการนำผลงานวิจัยที่เพิ่งทำเสร็จมาเขียนเป็นบทวิจัยความแล้วส่งให้บรรณาธิการของที่ประชุมวิชาการพิจารณา หลังจากนั้นจึงการประเมินคุณค่าและความถูกต้อง เมื่ออนุมัติผ่านบทความวิจัยก็จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (proceedings) ซึ่งในการประชุมผู้วิจัยจะต้องมีหน้าที่นำเสนอบทความของตนเอง โดยการนำเสนอ อาจจะอยู่ในรูปโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่า ข้อดีของการเผยแพร่ในรูปแบบนี้ก็คือผลงานวิจัยจะได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเวทีลักษณะนี้จำนวนมาก โอกาสในการนำเสนอ จึงมีมากนอกจากนี้ที่ประชุมวิชาการยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยคนอื่นๆ จึงมีประโยชน์มากสำหรับการส่งบทความวิจัยออกไปนำเสนอในเวทีวิชาการ เพื่อนำผลตอบรับกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้างชื่อเสียงให้นักวิจัยอื่นรู้จักและสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน

"Peer review" หมายถึง กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะ

ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความและตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่าผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการมีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้นๆ

การตอบรับให้ตีพิมพ์ (accept) ทางวารสารจะตอบรับการตีพิมพ์ให้กับนักวิจัย และส่งงานวิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และส่งกลับมาให้ผู้วิจัยปรับปรุง ก่อนลงตีพิมพ์จะจัดส่งต้นฉบับที่เหมือนจริงในวารสารส่งให้นักวิจัยตรวจทานอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด นักวิจัยต้องรีบดำเนินการตรวจแก้ไข และส่งกลับคืนอย่างรวดเร็ว

           การส่งกลับมาแก้ไข (revise) มักจะมีกำหนดระยะเวลาให้ส่งกลับคืนด้วย อาจจะแนะให้ทำการทดลองเพิ่มให้แก้ไขต้นฉบับและ/หรือให้ตอบคำถามต่างๆ การแก้ไขอาจต้องทำ 2-3 รอบซึ่งเมื่อแก้ไขแล้วมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 50

การปฏิเสธ (reject) ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ให้ข้อเสนอแนะกลับมา ผู้วิจัยอาจจะนำมาแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาผลงาน (reviewer) แนะนำ เพื่อดำเนินการปรับรูปแบบและส่งไปวารสารอื่นต่อไป

ขั้นตอนการส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร (The process at a glance)

 

km6 10 2014