การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่

ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 24 ธันวาคม 2557

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

         

1 นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน         รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2 นางสาวณัฎฐวรรณ คำแสน  
3 นางสาวปวิดา   โพธิ์ทอง  
4 นางสาวศริณธร มังคะมณี  
5 นางสาวลักขณา  ศิรถิรกุล  
6 นางสาวสุพรรณี เปี้ยวนาลาว  
7 นางเพ็ญรุ่ง   วรรณดี  
8 นางสาวขวัญฤทัย พันธุ  
9 นางสุนทรี ขะชาติ  
10 นางสาวสาวิตรี แก้วน่าน  
11 นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
12 นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
13 นางสาวจิราภรณ์   รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            เมื่อนักวิจัยได้เตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องมีการเลือกวารสารเพื่อลงตีพิมพ์ ดังนี้

            1. เลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัยหรือตรงกับที่เขียนไว้เป็นการตรวจสอบว่าวารสารนั้นต้องการบทความด้านใดบ้าง ซึ่งมักเขียนอธิบายไว้ว่า วารสารนั้นๆ สนใจในหัวใดบ้าง หากเลือกวารสารที่ไม่ตรงกับงานของเราอาจไม่เหมาะสมในการส่งหรือไม่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์

            2. หลังเลือกวารสารได้แล้ว ให้ดาวน์โหลดบทความที่มีความใกล้เคียงกับของตนเองมาอ่าน           เพื่อเป็นแนวทางเปรียบเทียบงานของผู้อื่นว่าที่เขาได้รับตีพิมพ์มีคุณภาพใกล้เคียงกับงานของเราหรือไม่เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลงานที่ได้รับตีพิมพ์ต้องเขียนอย่างไร อาจเปรียบเทียบทั้งเนื้อหา รูปกราฟตารางของผลงานวิจัย ถ้าอ่านแล้วพบว่าบทความวิจัยของตนเองมีผลวิจัยที่เทียบเคียงหรือดีกว่า อาจถือได้ว่าเมื่อส่งไปแล้วจะได้รับพิจารณาแน่นอน

 

3. การเลือกวารสารในการตีพิมพ์ พิจารณาจากวารสารที่มีแนวทาง ขอบข่าย วัตถุประสงค์ หรืองาน

ทดลอง เทคนิค แนวทางการวิจัยที่ตรงกับงานวิจัยของตนเอง โดยขอบข่ายงานตีพิมพ์ของวารสารแต่ละฉบับจะปรากฏอยู่ด้านหน้าและหลังวารสารแต่ละฉบับ หรืออาจตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสารซึ่งมีคําแนะนําสําหรับผู้เขียนวิจัย เช่น ประเภทของบทความ รูปแบบการเขียน และรูปแบบการอ้างอิง

  1. การเลือกตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ พิจารณาโดยการประเมินจากงานวิจัย

ที่ทำว่ามีความประเด็นที่เป็นที่สนใจที่กำลังมีการตีพิมพ์อยู่ในปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ทันสมัย มีปริมาณงานมากพอที่จะสามารถตีพิมพ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติได้สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติควรตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index (TCI)

  1. การพิจารณาค่า Impact factor “Impact factor” หมายถึง ดัชนีชี้วัดคุณภาพของวารสารซึ่ง

วัดจํานวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปีพิจารณาจากคุณภาพของงานวิจัยของตนเอง โดยทั่วไปนักวิจัยใหม่จะเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact factor ระดับกลาง เมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการเขียนเพิ่มมากขึ้นจึงเลือกค่า Impact factor ที่สูงขึ้น

  1. การตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น E-journal วารสารวิชาการในระดับนานาชาติปัจจุบันส่วนใหญ่มีการ

จัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journals) และรวบรวมทำดัชนีไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับความเชื่อถือ ได้แก่ ISI Web Of Science, Scopus, Science Direct  ซึ่งมีการแจ้งผลการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างรวดเร็ว

  1. การตีพิมพ์โดยการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติซึ่งมีการ

ตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารฉบับพิเศษ (Special Issue)

  1. การเลือกแหล่งตีพิมพ์ที่เหมาะสมกับงานวิจัยของตนเองโดยใช้เครื่องมือช่วยเหลือผู้เขียนของ

สำนักพิมพ์