บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่องการเบิกจ่ายเงินในการฝึกอบรม

ประจำปีงบประมาณ 2559

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 9 มี.ค. 2559 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสาววรางคณา คุ้มสุข  
3. นายภิญโญ อำไพ  
4. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
5. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
6. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
7. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
8. นางสาววาสนา อูปป้อ  
9. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
10. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
11. นางสาวเบ็ญจภรณ์ คงพันธุ์คุ้ม  
12. นางสาววัชรีวรรณ ไชยขันแก้ว  
13. นางสาวยุวดี ศรีวิเชียร  
14. นางสาวจิตติมา โพธิ์ไพจิตร  
15. นางสาวมยุรี สมจิตร์  
16 นายชมพู องค์สุริยานนท์  
18. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
19. นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2555 (ข้อ 10 )

- ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

-เจ้าหน้าที่                

- วิทยากร

- ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  

- ผู้สังเกตการณ์

การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กรณีหน่วยงานเป็นผู้จัดการฝึกอบรมให้กับบุคลากรภาครัฐ ค่าสมนาคุณวิทยากร (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่า ใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุม ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 (ฉบับที่ 3 ข้อ 14) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ

(ก) การบรรยายจ่ายได้ไม่เกิน 1 คน

(ข) การอภิปราย/สัมมนาเป็นคณะจ่ายได้ไม่เกิน 5 คน รวมผู้ดำเนินการอภิปรายหรือสัมมนาที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิทยากร

(ค) การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ/ จ่ายได้ไม่เกิน กลุ่มละ 2 คน แบ่งกลุ่มอภิปรายหรือสัมมนาหรือทำกิจกรรม

(ง) ชั่วโมงการฝึกอบรมใดมีวิทยากรเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) ให้ เฉลี่ยจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากร ไม่เกินภายในจำนวนเงินที่จ่ายได้ตามหลักเกณฑ์

อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร

อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร (ตามระเบียบกระทรวงการคลังวาด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ข้อ 14 (2) (ก) (ข)) ดังนี้

ระดับการฝึกอบรม

บุคลากรภาครัฐ/ ส่วนราชการที่

เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ

ที่มิใช่บุคลากรภาครัฐ

ประเภท ก ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท ไม่เกินชัวโมงละ 1,600 บาท
ประเภท ข ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท ไม่เกินชัวโมงละ 1,200 บาท

อัตราค่าอาหาร และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อัตราค่าอาหาร (ตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุดที่ กค 0406.4/ว5 ลงวันที่ 14 มกราคม 2556 เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556) อัตราค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุดที่ กค 0406.4/840 ลงวันที่ 16 มกราคม 2556)

ประเภทการ ฝึกอบรม ฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ/ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานอื่นของรัฐ (บาท/วัน/คน) ฝึกอบรมในสถานที่ของเอกชน (บาท/วัน/คน)
ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จัดครบทุกมื้อ จัดไม่ครบทุกมื้อ 1 มื้อ 2 มื้อ จัดครบทุกมื้อ จัดไม่ครบทุกมื้อ 1 มื้อ 2 มื้อ
การฝึกอบรมประเภท ก ไม่เกิน 850 ไม่เกิน 600 35 70

ไม่เกิน

1,200

ไม่เกิน 850 50 100
การฝึกอบรมประเภท ข ไม่เกิน 600 ไม่เกิน 400 35 70 ไม่เกิน 950 ไม่เกิน 700 35 70

การคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง การคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 ข้อ 18 (2) )

1. ให้นับวันที่และเวลาเดินทางตั้งแต่ออกจากบ้านพัก/ที่ทำงานจนถึงวันที่และเวลาที่กลับถึงบ้านพัก/ที่ทำงาน

2. ให้นับ 24 ชั่วโมงเป็น 1 วัน ส่วนที่เกิน 24 ชั่วโมง มากกว่า 12 ชั่วโมงที่นับเป็น 1 วัน

3. ให้นำจำนวนวัน x อัตราเบี้ยเลี้ยง = เบี้ยเลี้ยงที่เบิกได้

4. ถ้าโครงการมีเลี้ยงอาหารให้หักเบี้ยเลี้ยงตามมื้ออาหาร (มื้อละ 1 ใน 3)

อัตราค่าที่พัก (ตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0406.4/ว5 ลงวันที่ 14 มกราคม 2556 เรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556)

ประเภทการฝึกอบรม ค่าเช่าห้องพักคนเดียว (บาท/วัน/คน)

ค่าเช่าห้องพักคู่

(บาท/วัน/คน)

1.การฝึกอบรมประเภท ก ไม่เกิน 2,400.-บาท ไม่เกิน 1,300.-บาท
2.การฝึกอบรมประเภท ข ไม่เกิน 1,450.-บาท ไม่เกิน 900.-บาท

หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด เงินชดเชย และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ

หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด เงินชดเชย และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการ เดินทาไปราชการ (ตามหนังสือ ที่ กค 0409.6/ว.42 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2550) ดังนี้

1. อัตราค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัดระหว่างสถานที่อยู่ที่พักหรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ

(1) กรณีเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ หรือการเดินทางข้ามเขตจังหวัดที่ผ่านเขตกรุงเทพฯ ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงินเที่ยวละ ไม่เกิน 600 บาท

(2) การเดินทางข้ามเขตจังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ (1) ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงินเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท

2. เงินชดเชยในการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ

(1) รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท

(2) รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท

 

 

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)               ผู้บันทึก

 

.............................................

                                         (นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์)                ผู้ช่วยบันทึก