บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง แนวทางการจัดโครงการ

ประจำปีการศึกษา 2558

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นายจักรกฤษณ์ ลูกอินทร์  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
5. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
6. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
7. นางสาวสินีพร ยืนยง  
8. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
9. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
10 นางณภัทร์ สุขเจริญ  
11. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
12. นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การดำเนินโครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2559 วิทยาลัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการในแผนปฏิบัติการดังนี้

1. ผู้รับผิดชอบโครงการศึกษาทำความเข้าใจโครงการที่รับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผน  

2. ผู้รับผิดชอบโครงการขออนุมัติจัดทำโครงการโดยดำเนินการล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์

3. ส่งโครงการให้กลุ่มยุทธศาสตร์ฯตรวจสอบก่อนเสนอผู้อำนวยการอนุมัติ

4. ขออนุมัติโครงการตามระเบียบ

4.1โครงการที่ขออนุมัติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ได้แก่

4.1.1 โครงการประชุม อบรม สัมมนา

4.1.1.1 โครงการที่ใช้เงินงบประมาณ ซึ่งจัดให้แก่บุคลากรภายในวิทยาลัย บุคคลภายนอกและนักศึกษา

4.1.1.2 โครงการที่ใช้เงินรายได้สถานศึกษาที่มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมประชุมหรือโครงการจัดประชุม อบรม สัมมนาสำหรับบุคคลภายนอก

4.1.2 โครงการจัดงาน

4.1.2.1 โครงการที่ใช้เงินงบประมาณ ซึ่งมีผู้ร่วมงาน ได้แก่ บุคลากรภายในวิทยาลัย บุคคลภายนอกและนักศึกษา

4.1.2.2 โครงการที่ใช้เงินรายได้สถานศึกษา ซึ่งมีผู้ร่วมงาน ได้แก่ บุคลากรภายในวิทยาลัย บุคคลภายนอกและนักศึกษา

4.2 โครงการที่ขออนุมัติผู้อำนวยการวิทยาลัย ได้แก่ โครงการที่ใช้เงินรายได้สถานศึกษา สำหรับบุคลากรภายในวิทยาลัยและนักศึกษาเท่านั้น          

5. ผู้รับผิดชอบโครงการจะสามารถดำเนินการจัดทำโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว ถ้าโครงการจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อใช้จ่ายในโครงการ ต้องขออนุมัติยืมเงินตามขั้นตอนที่กำหนด

6. ในกรณีที่จำเป็นต้องจัดซื้อหรือจัดจ้างในการจัดทำโครงการให้ผู้รับผิดชอบโครงการเขียนบันทึกข้อความขออนุมัติจัดซื้อหรือจัดจ้างส่งให้งานพัสดุ ก่อนดำเนินโครงการภายในวันที่ 15 ของเดือนก่อนหน้าที่จะจัดโครงการ

7. เมื่อโครงการผ่านการอนุมัติแล้วผู้รับผิดชอบโครงการส่งสำเนาโครงการให้กลุ่มยุทธศาสตร์จำนวน1 ชุด โดยแสกนโครงการส่งทางอีเมล์

8. เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องประเมินผลโครงการตามแบบฟอร์มที่กำหนดและส่งประเมินผลโครงการให้กลุ่มยุทธศาสตร์ฯ1 ชุดภายใน 15 วันหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน

การขออนุมัติยืมและคืนเงินเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ

          โครงการที่สามารถยืมเงินไปใช้จ่ายได้ ได้แก่ โครงการประชุม/อบรม/สัมมนาและโครงการจัดงาน   ผู้รับผิดชอบโครงการต้องขออนุมัติยืมเงินจากโดยมีขั้นตอนดังนี้

          1. ขออนุมัติยืมเงินล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันทำการ เงินที่อนุมัติให้ยืมออกไปใช้จ่ายได้คือค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าตอบแทน ค่าที่พักและค่าเดินทาง

          2.ในการขออนุมัติยืมเงินมีขั้นตอนดังนี้

                   2.1เอกสารที่ใช้ในการยืมเงิน ได้แก่ บันทึกข้อความขออนุมัติยืมเงินราชการ   สัญญาการยืมเงิน จำนวน 3 ชุดและแนบโครงการ(ตัวจริง) ที่ได้รับการอนุมัติ

                    2.2 ส่งเอกสารที่จะใช้ขออนุมัติยืมเงินทั้งหมดให้งานการเงิน เพื่อดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินต่อไป

          3.เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ผู้รับผิดชอบโครงการต้องสรุปค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงานและคืนเงินเหลือจ่ายหรือเบิกเงินเพิ่มให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดโครงการ   ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่สามารถรวบรวมเอกสารการจ่ายเงินได้ครบถ้วน จะต้องสรุปค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงานและคืนเงินเหลือจ่ายให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันและนำเอกสารการเบิกจ่ายเงินมาให้งานการเงินในภายหลังได้ ในการคืนเงินจะมีขั้นตอนดังนี้

3.1 เขียนบันทึกข้อความขอส่งหลักฐานเพื่อหักล้างหนี้เงินยืมราชการ 1 ฉบับ  

3.2 รวบรวมเอกสารการจ่ายเงินทั้งหมดและเงินสดที่จะต้องคืนให้งานการเงิน

                   3.3 เมื่องานการเงินรับเอกสารและเงินสดแล้ว   งานการเงินจะออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน

หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย

          ในการเบิกจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ผู้จัดการโครงการจะต้องส่งหลักฐานการเบิกจ่ายและเขียนบันทึกข้อความขอส่งหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงิน ดังนี้

ประเภท หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการเบิกจ่าย
1. ค่าตกแต่งสถานที่ ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง หรือ   ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยผู้รับจ้าง
2. ค่าใช้จ่ายพิธีเปิด-ปิด ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง หรือ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยผู้รับจ้าง
3. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน
4. ค่าพิมพ์ เขียนประกาศนียบัตร

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

6. ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร ใบเสร็จรับเงิน
7. ค่าเช่าอุปกรณ์

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

8. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

9. ค่าของสมนาคุณในการศึกษาดูงาน

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชน

10. ค่ากระเป๋าผู้เข้ารับการอบรม

ใบส่งของและ/หรือใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

11.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

ใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

12. ค่าตอบแทนวิทยากร(ค่าสมนาคุณวิทยากร)

1. ใบสำคัญรับเงิน

2. หนังสือเชิญและตอบรับเป็นวิทยากร (ให้วิทยากรเซ็นชื่อตอบรับเป็นวิทยากรในหนังสือเชิญก็ได้)

3. สำเนาบัตรประชาชน

13. ค่าอาหาร

ใบเสร็จรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับจ้าง

14. ค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงิน
15. ค่ายานพาหนะ

1. เขียนใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

2. ใบเสร็จรับเงินค่าทางด่วน (ถ้ามี)

3. ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมัน   ระบุชื่อผู้จ่ายเงินคือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

4. ถ้าเดินทางด้วยรถส่วนตัว ให้เบิกค่าน้ำมันรถกิโลเมตรละ 4 บาท (ไม่สามารถเบิกค่าทางด่วนได้)

5. กรณีการเช่ารถในการเดินทางไปราชการ     ต้องแนบใบสำคัญรับเงินที่มีลายเซ็นของผู้รับจ้าง     สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนรถของผู้รับจ้าง

โครงการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในแต่ละหน่วยงาน     การเขียนโครงการเป็นการเขียนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน เพราะมีส่วนช่วยให้เกิดการวางแผนการทำงาน การเริ่มปฏิบัติงานใหม่ ดังนั้นโครงการย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของแผนงานที่ได้กำหนดไว้   โดยใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอย่างชัดเจน

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

..............................................

                                                          (นางสาวจิราภรณ์   รอดสถิตย์)             ผู้ช่วยบันทึก