บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“การเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ”

ประจำปีงบประมาณ 2559

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสุภาวดี นพรุจจินดา  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. นางจารุวรรณ สนองญาติ  
5. นางเนติยา แจ่มทิม  
6. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
7. นางจินตนา เพชรมณี  
8. นางสุนทรี ขะชาตย์  
9. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
10. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
11. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
12. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
13. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์  
14. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
15. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
16. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
17. นางสาววาสนา อูปป้อ  
18. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
19. นางสาวสินีพร ยืนยง  
20. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
21. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
22. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
23. นางขวัญฤทัย พันธุ  
24. นางวิรงค์รอง ชมภูมิ่ง  
25. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
26. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
27. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
28 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก
       

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า การเขียนบทความวิจัยที่ดี ที่สามารถส่งตีพิมพ์เผยแพร่ และได้รับการตอบรับจากวารสารต่างๆ ควรมีประเด็นปัญหาของการวิจัยหรือแนวคิดการวิจัยที่ชัดเจน มีวิธีการวิจัยที่ถูกต้อง และเนื้อหาของการวิจัยควรทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบบริการสุขภาพ ควรมีการเตรียมเขียนบทความวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆ โดยเข้าไปอ่านนโยบายของแต่ละวารสารที่จะนำไปลงตีพิมพ์ และอ่านคำแนะนำของวารสารนั้นๆ และปฏิบัติตาม จะทำให้งานวิจัยที่ส่งถูกปฏิเสธน้อยลง

การเขียนบทความวิจัย

บทความวิจัยเป็นบทความทางวิชาการประเภทหนึ่ง ซึ่งเขียนขึ้นจากผลงานการค้นคว้าอย่างมีระบบ มีการกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ตีความ สรุปและอภิปรายผลการวิจัยที่สามารถให้ข้อมูล คำตอบ อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ มีโครงสร้างและเนื้อความเหมือนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยมุ่งเผยแพร่ผลการวิจัยบทความวิจัยมักเขียนขึ้นเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือเอกสารการประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการวิจัยให้กว้างขวาง เกิดประโยชน์และความก้าวหน้าในวงวิชาการและวิชาชีพ

หลักการเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ

-          มีประเด็นหรือแนวคิดเกี่ยวกับวิจัยที่ชัดเจน

-          เนื้อหามีความทันสมัย และเป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน

-          ควรค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือได้

-          ควรใช้ศัพท์ต่างๆและภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม

-          มีการนำเสนอข้อมูลของงานวิจัยที่เข้าใจง่าย

รูปแบบการของบทความวิจัย

รูปแบบการเขียนบทความวิจัยอาจแตกต่างกันไปบ้าง ในเรื่องหัวข้อ คำที่ใช้ ขึ้นอยู่กับแหล่งตีพิมพ์

เผยแพร่ ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาและยึดถือรูปแบบตามที่วารสารหรือแหล่งเผยแพร่กำหนด แต่โดยทั่วไปมีโครงสร้างใกล้เคียงกัน และเป็นลำดับเช่นเดียวกับรายงานการวิจัย

บทความวิจัยประกอบด้วย

-          ชื่อเรื่อง (Title)การตั้งชื่อเรื่องต้องกระชับ และแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด โดยไม่

จำเป็นต้องเป็นประโยค แต่ที่สำคัญต้องตั้งชื่อให้ได้ตามความหมาย

-          ชื่อผู้เขียน(Authors)ต้องระบุชื่อผู้เขียน และผู้ร่วมเขียน หรือผู้ร่วมวิจัย

-          บทคัดย่อ (Abstract) การเขียนบทคัดย่อมีความสำคัญมาก ควรเป็นส่วนสุดท้ายที่จะเขียน โดยมี

ความยาวประมาณ 150-250 คำ หรือ10-15 บรรทัด เพราะถ้าเขียนยาวกว่าที่กำหนด จะถูกตัดส่วนเกินทิ้งไป ซึ่งอาจทำให้ใจความสำคัญขาดหายไป จึงควรเขียนให้ได้สาระสำคัญของเรื่องภายในความยาวที่กำหนดไว้

-          บทนำ/ หลักการและเหตุผล (Introduction) ควรระบุความสำคัญของปัญหา 1-2 ย่อหน้า มี

การร้อยเรียงเนื้อหาอย่างเชื่อมโยงไม่ใช้วิธีการตัดต่อ หรือปะติดปะต่อ การเขียนควรให้ได้ข้อความที่แสดงถึงการลื่นไหลของความคิด เช่น ในหนึ่งย่อหน้า ควรมีประโยคแรกเป็นประโยคหลัก ตามด้วยประโยคสนับสนุน และลงท้ายด้วยประโยคสรุป เป็นต้น และต้องกล่าวถึงเหตุผลที่ศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ต่อจากนั้นในย่อหน้าที่ 3 หรือ 4 ให้เขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้ทราบความรู้เดิมของเรื่องที่วิจัยนั้น และใช้ประโยชน์ในการอภิปรายผล

-          ระเบียบวิธีวิจัย(Research Methodology) ควรระบุเกี่ยวกับ ประชากรที่ศึกษา ขนาดของกลุ่ม

ตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

-          ผลวิจัย(Results) ควรเขียนข้อค้นพบ และสถิติที่สำคัญ ควรรายงานผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย

เช่น อธิบายตัวแปรแต่ละตัวแปร แล้วนำเสนอความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา ในรูปแผนภูมิ ตาราง หรือ บรรยายเป็นความเรียง เป็นต้น

-          อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ(Discussion and Suggestion) การอภิปรายข้อค้นพบ

อภิปรายความสอดคล้องหรือความขัดแย้งกับสมมติฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หรือเปรียบเทียบกับผลวิจัยอื่น โดยเฉพาะที่มีผลแตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรเขียนข้อเสนอแนะที่ได้อย่างชัดเจน และหากผลวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถตอบคำถามวิจัยได้ ควรเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

- บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วยรายชื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ/หรือสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า เพื่อการวิจัยนี้ บทความวิจัยบางเรื่องกำหนดให้เสนอเฉพาะรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา

- ภาคผนวก คือ ส่วนเพิ่มเติมที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ เนื้อหาได้ดีขึ้น โดยทั่วไปเป็นตาราง แผนภูมิหรือกราฟที่แสดงผลการวิจัยที่สำคัญ

 

แนวทางการหาแหล่งเผยแพร่บทความ

- แหล่งเผยแพร่บทความวิจัย ได้แก่ วารสารวิชาการ และการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งควรเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ โดยแหล่งเผยแพร่จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จึงจะช่วยเพิ่มความสำคัญและสร้างคุณค่าของงานวิจัย

- บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ซึ่งแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยหลายแหล่งจะระบุไว้ว่าในการเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องไม่เคยหรืออยู่ในระหว่างการนำเสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งอื่น ดังนั้นบทความวิจัยเรื่องเดียวกันจะทำได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถลงซ้ำ

- องค์ความรู้ของผู้วิจัย ผู้ที่จะพิมพ์เผยแพร่ต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น

- เลือกวารสารเป้าหมายหรือวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ควรสอดคล้องกับชื่อบทความ

- หาบุคคลที่สามารถช่วยเหลือได้ นำเข้าสู่ช่องทางของวารสารได้ถูกต้อง

- สร้างเครือข่ายสำหรับนักวิจัยที่อยู่ในความสนใจเหมือนกัน

 

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

..............................................

                                                          (นางสาวจิราภรณ์   รอดสถิตย์)   ผู้ช่วยบันทึก