บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขั้นตอนการส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร

ประจำปีงบประมาณ 2559

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสุภาวดี นพรุจจินดา  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. นางจารุวรรณ สนองญาติ  
5. นางเนติยา แจ่มทิม  
6. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
7. นางจินตนา เพชรมณี  
8. นางสุนทรี ขะชาตย์  
9. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
10. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
11. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
12. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
13. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์  
14. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
15. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
16. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
17. นางสาววาสนา อูปป้อ  
18. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
19. นางสาวสินีพร ยืนยง  
20. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
21. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
22. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
23. นางขวัญฤทัย พันธุ  
24. นางวิรงค์รอง ชมภูมิ่ง  
25. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
26. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
27. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
28 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก
       

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเผยแพร่งานวิจัยในวารสาร จัดได้ว่าเป็นทางการและได้รับการยอมรับ มากที่สุดในวงการวิชาการ โดยทั่วไป สำหรับขั้นตอนที่เป็นทางการเพื่อเผยแพร่งานวิจัย ก็จะเริ่มจากการส่งต้นฉบับของบทวิจัย การเขียนบทความวิจัยตามของรูปแบบที่จะส่งวารสารนั้นๆ ปัจจุบันวารสารหลายฉบับได้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและผู้วิจัย สามารถลงทะเบียนเข้าเป็นผู้ใช้งานและทำการส่งเอกสารต้นฉบับเพื่อ ตีพิมพ์ รวมไปถึงการติดตามผลทางออนไลน์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์เหมือนก่อน

การเผยแพร่งานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (conference) เป็นการนำผลงานวิจัยที่เพิ่งทำเสร็จมาเขียนเป็นบทวิจัยความแล้วส่งให้บรรณาธิการของที่ประชุมวิชาการพิจารณา หลังจากนั้นจึงการประเมินคุณค่าและความถูกต้อง เมื่ออนุมัติผ่านบทความวิจัยก็จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (proceedings) ซึ่งในการประชุมผู้วิจัยจะต้องมีหน้าที่นำเสนอบทความของตนเอง โดยการนำเสนอ อาจจะอยู่ในรูปโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่า ข้อดีของการเผยแพร่ในรูปแบบนี้ก็คือผลงานวิจัยจะได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเวทีลักษณะนี้จำนวนมาก โอกาสในการนำเสนอ จึงมีมากนอกจากนี้ที่ประชุมวิชาการยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยคนอื่นๆ จึงมีประโยชน์มากสำหรับการส่งบทความวิจัยออกไปนำเสนอในเวทีวิชาการ เพื่อนำผลตอบรับกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้างชื่อเสียงให้นักวิจัยอื่นรู้จักและสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน

"Peer review" หมายถึง กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะ

ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความและตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่าผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการมีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้นๆ

การตอบรับให้ตีพิมพ์ (accept) ทางวารสารจะตอบรับการตีพิมพ์ให้กับนักวิจัย และส่งงานวิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และส่งกลับมาให้ผู้วิจัยปรับปรุง ก่อนลงตีพิมพ์จะจัดส่งต้นฉบับที่เหมือนจริงในวารสารส่งให้นักวิจัยตรวจทานอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด นักวิจัยต้องรีบดำเนินการตรวจแก้ไข และส่งกลับคืนอย่างรวดเร็ว

           การส่งกลับมาแก้ไข (revise) มักจะมีกำหนดระยะเวลาให้ส่งกลับคืนด้วย อาจจะแนะให้ทำการทดลองเพิ่มให้แก้ไขต้นฉบับและ/หรือให้ตอบคำถามต่างๆ การแก้ไขอาจต้องทำ 2-3 รอบซึ่งเมื่อแก้ไขแล้วมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 50

การปฏิเสธ (reject) ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ให้ข้อเสนอแนะกลับมา ผู้วิจัยอาจจะนำมาแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาผลงาน (reviewer) แนะนำ เพื่อดำเนินการปรับรูปแบบและส่งไปวารสารอื่นต่อไป

ขั้นตอนการส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร (The process at a glance)

vijai2

 

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

..............................................

                                        (นางสาวจิราภรณ์   รอดสถิตย์)             ผู้ช่วยบันทึก