บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ

ประจำปีงบประมาณ 2559

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 18 เมษายน 2559

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสุภาวดี นพรุจจินดา  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. นางจารุวรรณ สนองญาติ  
5. นางเนติยา แจ่มทิม  
6. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
7. นางจินตนา เพชรมณี  
8. นางสุนทรี ขะชาตย์  
9. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
10. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
11. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
12. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
13. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์  
14. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
15. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
16. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
17. นางสาววาสนา อูปป้อ  
18. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
19. นางสาวสินีพร ยืนยง  
20. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
21. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
22. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
23. นางขวัญฤทัย พันธุ  
24. นางวิรงค์รอง ชมภูมิ่ง  
25. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
26. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
27. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
28 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก
       

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            จากการฟังการบรรยายของอาจารย์ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอสเทอร์ ว่าอาจารย์จะทำอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และอาจารย์ในวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าการผลิตผลงาน

แต่ละชิ้นเพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ อาจารย์ต้องใช้ความอุสาหะ คิด อ่าน ตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนที่จะส่งวารสารไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งวารสารต่างๆมีระเบียบวิธีการขั้นตอนการกลั่นกรองต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความนั้นๆ มีประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการของแต่ละสาขาและเหมาะสมที่จะเผยแพร่ต่อไป

            เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้การตีพิมพ์ทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็ว ประกอบกับคงามต้องการการตีพิมพ์ผลงานวิชาการเพิ่มมากขึ้น ทำให้สำนักพิมพ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบคุณภาพของสำนักพิมพ์หรือวารสารนั้นๆได้ เกิดเป็นช่องว่างของสำนักพิมพ์ที่เรียกว่า “สำนักพิมพ์แบบเปิดที่เป็นนักล่า” (Predatory Open Access Publishers) ซึ่งเปิดให้การบริการตีพิมพ์ผลงานวิชาการโดยมุ่งหวังผลตอบแทนทางการเงินมากกว่าการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพและสังคม

            จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์อยู่ใน Beall’s List

            1. ผลงานไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ไม่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ การพิจารณาทุนวิจัย การพิจารณารางวัลด้านการวิจัย และการสมัครเข้ารับตำแหน่งในบางกรณีได้

            2. ตกเป็นเครื่องมือของเหยื่อของสำนัดพิมพ์ที่หาประโยชน์จากความต้องการตีพิมพ์ของนักวิจัย

            3. ขาดโอกาสในการปรับปรุงตนเอง

            4. ระบบการศึกษาไม่พัฒนา เนื่องจากการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา แต่บัณฑิตกลับไปตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน

            การคัดเลือกวารสารทางวิชาการสำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิจัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอาจารย์ เพื่อจะได้ทราบกลยุทธ์ในการสืบค้นวารสาร แนวทางการประเมินคุณภาพของวารสาร และการพิจารณาคัดเลือกวารสารระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมต้นฉบับและจัดส่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม

            แนวทางการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ

            1. ทบทวนการใช้วารสาร โดยพิจารณาจากวารสารที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ มีการใช้บ่อยเป็นประจำ ในการติดตามการพัฒนาหรือความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการในสาขาวิชานั้น ๆ

            2.พิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสารต่อความสนใจของผู้อ่านหากกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้อ่านหรือผู้ใช้วารสารในวงกว้าง บทความเข้าถึงง่าย ใช้ศัพท์เฉพาะสาขาไม่มากเข้าใจง่าย ให้เลือกวารสารที่มุ่งเน้นขอบเขตเนื้อหาแนวกว้างเป็นสากล

            3.หากกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มหรือสาขาวิชาบทความใช้ศัพท์เฉพาะสาขามากให้เลือกวารสารที่มุ่งเน้นเฉพาะทางสาขา โดยอาจเข้าไปดูเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหา (aim and scope) ในเว็บไซต์ของวารสารนั้นทบทวนจากวารสารฉบับเก่า เพื่อประเมินขอบเขตเนื้อหาของวารสาร หรือตรวจสอบจากฐานข้อมูลอ้างอิง เช่น web of science ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป (Citation Database) เพื่อการค้นคว้าและการอ้างอิงสามารถเชื่อมโยงไปยังบทความหรือผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ (Related Records) จากผลการสืบค้นที่ได้

            4.การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking ซึ่งเป็นค่าบ่งชี้ถึงคุณภาพของวารสารนั้น ๆ ตัวอย่างค่าชี้วัดที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพวารสาร

            - ค่า IF (Impact Factor, IF) คือ ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งของการอ้างอิงต่อบทความในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนด ถ้า IF สูง แสดงว่าบทความในวารสารนั้นมีการถูกอ้างอิงบ่อยครั้ง บทความส่วนใหญ่ของวารสารนั้นมีผลกระทบต่อวงการวิชาการสูงค่า IF จึงเป็นเครื่องมือช่วยในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร เหมาะสำหรับนักวิจัยในการคัดเลือกวารสารที่เหมาะสมเพื่อการตีพิมพ์ แต่ถ้าจะนำมาใช้เพื่อประเมินคุณภาพของบทความวิจัย ควรพิจารณาจำนวนการอ้างอิงของบทความนั้นด้วย

            - ค่า h index (highly-cited index หรือ Hirsch index) คือ ดัชนีในการประเมินคุณภาพผลงานตีพิมพ์ในวารสารเป็นค่าตัวเลขที่แสดงจำนวนผลงานวิจัยที่มีจำนวนครั้งของการอ้างอิงเท่ากับหรือมากกว่าจำ นวนผลงานวิจัยนั้นๆ เช่น ค่า h index = 10 หมายความว่ามีผลงานวิจัยจำนวน 10 บทความ (จากจำนวนทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิง 10 ครั้งหรือมากกว่าเป็นต้น

            - จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี

            - การประเมินช่วงอายุเฉลี่ยของการใช้วารสาร (Cited Half Life)

            ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน ได้แก่

                   - Journal Citation Reports

                   - Web of Science

                   - SC Imago

                   - Scopus Journal Analyzer

                   - Eigen FACTOR

            4. สถานะการมีอยู่ของวารสาร (Index) อยู่ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญ (Citation Databases) ใช้เพื่อประเมินคุณภาพของวารสาร โดยการตรวจสอบสถานะ Index และ ระยะเวลาที่ index ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาวิจัย เช่น PubMed, Science Direct, SciFinder, Scopus, Web of science และ Google Scholar เป็นต้น

            5. ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร ที่สำคัญได้แก่

                   - จำนวนปีที่ตีพิมพ์

                   - จำนวนการยืมสำหรับวารสารตัวเล่ม หรือการ Download วารสาร/ e journals

                   - ภาษาต้นฉบับที่ตีพิมพ์ ความถี่ของการตีพิมพ์

                   - รูปแบบการตีพิมพ์ เช่น แบบอิเล็กทรอนิกส์หรือตัวเล่ม (print)

            6. Acceptance/Rejection Rates ใช้เป็นตัวชี้วัดถึงโอกาสที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น ซึ่งวารสารเฉพาะสาขามีแนวโน้มว่าจะมีอัตราต่ำกว่าวารสารทั่วไป

            7. สถานะของวารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ เป็นวารสารมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (peerreviewer) ที่พิจารณาคุณภาพบทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารอยู่ในรายชื่อด้วย ซึ่งจะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพของวารสารได้เป็นอย่างดี

            8. ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสาร โดยปัจจัยที่ควรพิจารณาได้แก่

                   - ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งบทความตีพิมพ์ (submit)

                   - ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ส่งบทความถึงการตอบรับ/ปฏิเสธการตีพิมพ์

                   - การแจ้งถึงผู้เขียนว่าบทความได้รับการตอบรับและเมื่อตอบรับแล้วใช้เวลานานเท่าใด บทความดังกล่าวจึงได้ตีพิมพ์

                   - ความถี่ในการตีพิมพ์ (issue per year) และขั้นตอนการ review เช่น วารสารที่ตีพิมพ์ 3 เดือนครั้ง น่าจะมีแนวโน้มใช้เวลานานกว่าวารสารที่ตีพิมพ์ทุกเดือน

            9. ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ วารสาร บรรณาธิการ และบอร์ดบรรณาธิการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสาร

            10. ประเภทของต้นฉบับ (Manuscript) วารสารบางฉบับเลือกรับบทความต้นฉบับเฉพาะบางประเภทเท่านั้น เช่นreview article ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสารนั้น ๆ

            11. ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่า review บทความ ค่าดำเนินการต่าง ๆ เช่น ภาพสี สื่อประสมอื่น ๆ ค่าจัดทำบรรณานุกรม ค่าเปิดให้บทความสามารถเข้าถึงหรืออ่านได้ฟรี (Open access) และค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์วารสารประเภทOpen access เป็นต้น

            12. สิทธิในบทความ (Rights for author) เช่น

                   - บางวารสารให้สิทธิผู้เขียนบทความในการเผยแพร่หรือนำ ไปใช้ใหม่หลังจากได้รับการตีพิมพ์แล้ว

                   - อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะบางเวอร์ชั่นของบทความ เช่น เวอร์ชั่นที่ผ่านขั้นตอน peer review หรือเวอร์ชั่นสมบูรณ์ท้ายสุด (final version) ในเว็ปไซต์ของสถาบัน

                   - อนุญาตให้ใช้รูปภาพ กราฟ หรือตารางในบทความไปใช้ในหนังสือ เป็นต้น

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

..............................................

                                       (นางสาวาภรณ์   รอดสถิตย์)                ผู้ช่วยบันทึก