บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง หลักการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้Simulation Based Learning : SBL

ประจำปีการศึกษา 2558

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 26 มกราคม 2558 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสุภาวดี นพรุจจินดา  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. นางจารุวรรณ สนองญาติ  
5. นางเนติยา แจ่มทิม  
6. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
7. นางจินตนา เพชรมณี  
8. นางสุนทรี ขะชาตย์  
9. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
10. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
11. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
12. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
13. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์  
14. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
15. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
16. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
17. นางสาววาสนา อูปป้อ  
18. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
19. นางสาวสินีพร ยืนยง  
20. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
21. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
22. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
23. นางขวัญฤทัย พันธุ  
24. นางวิรงค์รอง ชมภูมิ่ง  
25. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
26. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
27. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
28 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Based Learning : SBL ของอาจารย์ในวิทยาลัย ได้มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวคิดหลักการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ Simulation Based Learning ซึ่งทำให้อาจารย์มีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการสอนสถานการณ์จำลองเป็นรูปแบบการสอนที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะประสบการณ์ความเข้าใจของผู้สอนเพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมการสอนโดยสร้างสถานการณ์จำลองที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการสอน ซึ่งประกอบด้วย3 ขั้นตอนที่สำคัญได้แก่ การเตรียมการ การดำเนินการ การสรุปผล ซึ่งอาจารย์ต้องมีความเข้าใจเพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับวัตถุประสงคฺของการเรียนรู้ในผู้เรียน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การเตรียมการ(Preparing process)

          เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอนวิเคราะห์จากความต้องการจำเป็นพื้นฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนการเตรียมผู้สอน ผู้เรียน ทีมสนับสนุนตลอดจนการเตรียมสื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์ ให้สอดคล้องในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

การเตรียม สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์

การจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลอง จะต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองที่กำหนด โดยเตรียมความพร้อม ดังนี้

1. หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองในแต่ละเรื่องได้

2. Computer, Internet และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3. อุปกรณ์ วัสดุและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนี้

-          อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ เช่นSuction, oropharyngeal airway, อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ดูแลการหายใจ เช่น pulse oximeter O2,Pipeline,Mask, Ambu bag, ถังออกซิเจน อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง

-          อุปกรณ์ดูแลระบบไหลเวียนและกระตุ้นหัวใจ เช่น Set IV,สารน้ำ, Infusion pump,อุปกรณ์ห้ามเลือด, ดาม, Defibrillator EKG

-          เครื่องมือตรวจอื่น ๆ เช่น Monitor, NIBP, Emergency,Cast,

-          อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย และยึดตรึงที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4. วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ เช่นใช้ทำหัตถการต่าง ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Syringe เข็ม Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดสวนปัสสาวะ ชุดเจาะปวด ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5. เวชภัณฑ์ ประกอบด้วยยาต่างๆทั้งยากิน ฉีด พ่น ฯลฯ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยในแต่ละโรค

6. เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนผู้ป่วยให้ครบถ้วนตามแบบของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกหลักของวิทยาลัยนั้น ๆ  

7. อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

           การเตรียมผู้สอน ผู้เรียน และทีมผู้สนับสนุน ให้จัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ให้มีบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสม ดังรายละเอียดดังนี้

ผู้สอน (Facilitator)

ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่ควบคุมสถานการณ์การฝึกปฏิบัติและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์จำลอง ดังนั้นผู้สอนควรมีความรู้ ประสบการณ์ ในศาสตร์สาขาที่จัดการเรียนการสอน และมีทักษะที่หลากหลาย เช่น ทักษะการจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสื่อสารเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติการพยาบาลหรือการดูแลผู้ป่วย

ผู้สอนมีบทบาทพิจารณาวัตถุประสงค์การเรียนโดยผ่านการวิเคราะห์จากความต้องการจำเป็นพื้นฐาน เอกสารหลักสูตร สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริงโดยพิจารณาความสอดคล้องของหลักการและวัตถุประสงค์ให้มีความสัมพันธ์กันกำหนดสถานการณ์จำลองให้มีความเสมือนจริงให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดหัวข้อ หรือเรื่องที่ต้องการศึกษา

  1. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย SBL และวางแผนจัดตารางหมุนเวียนกิจกรรมของผู้เรียน

แต่ละกลุ่มให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์

  1. เลือกใช้สถานการณ์จำลอง หรือสร้างสถานการณ์จำลองใหม่ให้มีความเสมือนจริงให้มาก

ที่สุดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียนรู้

  1. เขียนข้อมูลในโปรแกรมควบคุมหุ่น
  2. เลือกหรือสร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้
  3. ชี้แจง/อธิบายกระบวนการดำเนินการสอนแก่ผู้เรียน บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน ได้แก่ ผู้
  4. ดำเนินสถานการณ์ในห้องเรียนสถานการณ์จำลองและผู้สังเกตการณ์
  5. บอกวัตถุประสงค์และหัวข้อการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง
  6. แนะนำหนังสือ หรือให้เอกสารประกอบการสอนที่นักศึกษาควรศึกษาล่วงหน้า (ถ้าจำเป็น)

ผู้เรียน (Student)

ผู้เรียนหมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองซึ่งอาจเกิดจากการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เช่น เป็นผู้เรียนในสถานการณ์ โดยจะแสดงสถานการณ์จำลองตามที่ผู้สอนกำหนด เป็นผู้เรียนสังเกตการณ์โดยจะร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนในสถานการณ์ คอยสังเกตพฤติกรรมในขณะที่กลุ่มผู้ปฏิบัติและต้องไม่รบกวนการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์นั้น

ผู้เรียนมีบทบาทศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายวิชาศึกษาค้นคว้าเนื้อหาตามหัวข้อที่จะเรียนล่วงหน้าแบ่งกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือสลับกลุ่ม ให้แสดงในสถานการณ์จำลองที่กำหนด

ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มในการแสดงสถานการณ์จำลอง หรือเป็นผู้สังเกตการณ์โดยไม่รบกวนการแสดงสถานการณ์จำลองสะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลองทั้งในบทบาทผู้แสดงสถานการณ์จำลอง หรือผู้สังเกตการณ์

ทีมสนับสนุน (facilitator assistant)

ทีมสนับสนุน หมายถึงผู้ที่ช่วยผู้สอนในการจัดเตรียมสถานการณ์ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง

ทีมสนับสนุนมีบทบาทจัดเตรียมและตกแต่งหุ่นจำลองให้เสมือนจริงมากที่สุด จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริงมากที่สุดตามสถานการณ์ เช่น Ward, ICU, ERหรือสถานที่เกิดเหตุช่วยผู้สอนนำข้อมูลจากสถานการณ์จำลองลงโปรแกรมควบคุมหุ่นจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ (Scenario)และมีความพร้อมใช้งาน

2. การดำเนินการสอน

เป็นกระบวนการที่ดำเนินสถานการณ์จำลองตามโครงสร้างหลักการที่กำหนด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ ฝึกคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจแก้ไขปัญหา จากสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น ให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร หรือรายวิชา หรือมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด หรือเป็นไปตามคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยมีการแบ่งการดำเนินการสอนเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery)

          การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประกอบด้วย 3ขั้นตอน ดังนี้

1 ขั้นนำ (Pre – Brief)

เป็นขั้นตอนการเตรียมการผู้เรียนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จำลอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีโดยผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาท ดังนี้

ผู้สอน

ผู้เรียนในสถานการณ์

1.บอกวัตถุประสงค์ในหัวข้อที่เรียนรู้ เช่น รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ นักศึกษาสามารถประเมินปัญหาและให้การพยาบาลได้

1. ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2. ปฐมนิเทศสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ ทีมแพทย์ หรือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนสถานการณ์จำลอง
3. แนะนำคุณสมบัติและข้อจำกัดของหุ่นจำลองเสมือนจริง สมาชิกในสถานการณ์จำลอง และทีมผู้สอน 3. ศึกษาการทำงานของหุ่น และซักถามข้อสงสัย
4.เน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยการทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยให้ตระหนักเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้เรียนมีบทบาทของพยาบาลวิชาชีพการเคารพหุ่นจำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และผู้แสดงอื่นๆในบทบาทที่กำหนด เช่น ญาติผู้ป่วย แพทย์ และเพื่อนร่วมทีม โดยให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  
5. ชี้แจงให้ผู้เรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายในสถานการณ์จำลอง ข้อตกลงเบื้องต้น และการประเมินผล 5.ผู้เรียนในสถานการณ์แบ่งบทบาทหน้าที่ตามบทบาทในสถานการณ์ เช่น หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม สมาชิกทีม
6.ให้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับผู้เรียน

6. ศึกษาสถานการณ์

2. ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์(Scenario running)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 20-30 นาที ผู้เรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เรียนในสถานการณ์ และผู้เรียนสังเกตการณ์ โดยผู้เรียนและผู้สอนมีบทบาท ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียนในสถานการณ์ ผู้เรียนสังเกตการณ์
1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์ 1. ปฏิบัติตามบทบาทตามสถานการณ์จำลอง หรือกระบวนการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย (เอกสารแนบในภาคผนวก) 1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์
2.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้เรียนในสถานการณ์ต้องการตามความเหมาะสม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การรักษาเป็นต้น

2.มีการสื่อสารด้วยวัจนภาษาหรืออวัจนภาษาและการทำงาน
ในทีม

2. สังเกต บันทึก การสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์ ต่อผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ด้วยวัจนภาษาหรือ อวัจนภาษาด้วยการเคารพศักดิ์ศรีและหัวใจความเป็นมนุษย์

3.ปรับบทบาท/ข้อมูลตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น 3. นำความรู้ของกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา การมีภาวะผู้นำและหัวหน้าทีม อย่างถูกต้อง เหมาะสม

3. สังเกต บันทึกกระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของทีมสุขภาพ

4.กรณีผู้เรียนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม (กรณีคุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยหรือประเด็นสำคัญที่ผู้เรียนต้องรู้) ผู้สอนควรหยุดการดำเนินสถานการณ์ชั่วคราว (Time out) เพื่อเข้าไปชี้แนะถึงแนวทางในการให้การพยาบาลที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นแต่ผู้เรียนยังไม่ดำเนินช่วยฟื้นคืนชีพ หรือทำไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygenmask หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา พยาบาลควรใช้คำถามที่ชี้นำหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive)

4. ปฏิบัติทักษะหรือกิจกรรมการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยตามสอดคล้องกับปัญหาที่พบในสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเคารพศักดิ์ศรีและคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย และทีมการพยาบาล

5. ประเมินผลการพยาบาล หรือการให้การดูแลรักษา หรือมีการรายงานทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

4.สังเกตบันทึก พฤติกรรมทักษะปฏิบัติการพยาบาล/ดูแลช่วยเหลือตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายเช่น Incharge nurse,Leader nurse, Medication nurse เป็นต้น
5.กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในสถานการณ์ที่แย่ลง 6. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง 5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง

3. ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Debrief)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45นาที เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด (Gibb’s Model) และตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

การประเมินการเรียนรู้(Debrief)มีหลายวิธี เช่น โมเดลของ Steinwachs, GAS, 5’S เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเน้นหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในครั้งนั้นๆ โดยให้เล่าประสบการณ์ในสถานการณ์ แสดงความรู้สึกต่อประสบการณ์ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนคิด

...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

.............................................

                                        (นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์)               ผู้ช่วยบันทึก