บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่องการเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

ประจำปีการศึกษา 2558

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 24 มี.ค.59 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
2. นางสุภาวดี นพรุจจินดา  
3. นางเพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์  
4. นางจารุวรรณ สนองญาติ  
5. นางเนติยา แจ่มทิม  
6. นางสาวอรุณี สังขพานิต  
7. นางจินตนา เพชรมณี  
8. นางสุนทรี ขะชาตย์  
9. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล  
10. รอ.หญิงจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ  
11. นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์  
12. นางยุคนธ์ เมืองช้าง  
13. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์  
14. นางปวิดา โพธิ์ทอง  
15. นางสาวศริณธร มังคะมณี  
16. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน  
17. นางสาววาสนา อูปป้อ  
18. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
19. นางสาวสินีพร ยืนยง  
20. นางสาวดารินทร์ พนาสันต์  
21. นางสาวเรวดี ศรีสุข  
22. นางสาวเพ็ญรุ่ง วรรณดี  
23. นางขวัญฤทัย พันธุ  
24. นางวิรงค์รอง ชมภูมิ่ง  
25. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร  
26. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย  
27. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ ผู้บันทึก
28 นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์ ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

เป็นการเรียนที่เนเนผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และต้องมีการประเมินผลการเรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยประเมินทั้งความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ

บทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนต้องมีวางแผนการสอนและการวิเคราะห์เนื้อหาการเรียนการสอน เตรียมสถานการณ์จำลองเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ เตรียมแหล่งเรียนรู้ และครูต้องเป็น Facilitator มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือนักเรียนในการเรียนด้วยตนเอง นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการใช้คำถามกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ โดยการวัดและประเมินผล มีหลากหลายวิธี เช่น การประเมินจากการมีส่วนร่วมกับอภิปรายกลุ่มทักษะการพูด การวิเคราะห์ การสื่อสาร และการวัดความรู้

1) ลักษณะของการเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

  1. เป็นการเรียนรู้ ข้อมูล ทักษะ ทัศนคติในการแก้ปัญหาของผู้เรียน
  2. เริ่มต้นด้วยการเปิดโจทย์ปัญหา
  3. ผู้เรียนตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ การประเมินผลด้วยตนเอง
  4. การทำงานเป็นทีมของผู้เรียน
  5. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก

2) วัตถุประสงค์ การเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

  1. การสร้างองค์ความรู้ที่กว้าง และมีความยืดหยุ่น
  2. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน
  3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน
  4. ความร่วมมือในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนแบบProblem Based Learning ไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างเดียว

แต่ช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับสถานการณ์ ประยุกต์ใช้ความรู้ และทำงานเป็นทีม

3) ข้อดี/ข้อเสียของการเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

  1. ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ร่วมกัน
  2. ผู้เรียนยังคงมีความรู้และมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  3. ผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่างดี
  4. ผู้เรียนอาจเกิดความเครียด
  5. ผู้เรียนต้องเสาะแสวงหาแหล่งเรียนรู้

4) ลักษณะที่จำเป็นของการเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

  1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์ต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้มากกว่าเนื้อหา
  2. การสนับสนุนการทำงานของกลุ่มย่อย ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างอิสระ ความรู้

ทางหลักวิชาการ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประเมินตนเอง

5) ขั้นตอนของการเรียนการสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนคือ

  1. ผู้เรียนเปิดโจทย์และทำความเข้าใจคำศัพท์
  2. ผู้เรียนแบ่งปันข้อมูลและความรู้เดิมของแต่ละคน
  3. ผู้เรียนตั้งสมมติฐานโดยใช้ concept mapping
  4. ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  5. ผู้เรียนนักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยให้เวลา 1 สัปดาห์
  6. ผู้เรียนอภิปรายให้ข้อมูลในกลุ่มเกี่ยวกับความรู้ในการแก้ปัญหา โดยอาจมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยเพิ่ม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจเป็น chart data หรือตัวผู้ป่วย
  7. ผู้เรียนการประยุกต์ใช้ความรู้โดยนำความรู้จากขั้น 6 มาวางแผนในการดูแลผู้ป่วย สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือ คำถามของครูที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ได้
  8. ผู้เรียนประเมินและการสะท้อนคิด เป็นการประเมินกระบวนการกลุ่ม ประเมินเนื้อหา และการสอบถามว่าการทำงานตรงนี้ดีหรือยัง ต้องการที่จะปรับปรุงอะไรในครั้งหน้า

6) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning)

          เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จากการค้นหาหรือสอบถามจากผู้รู้ ซึ่งวิธีการเรียนแบบ PBL จะส่งเสริมให้มีสมรรถนะการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

บทบาทของผู้สอน

  1. เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้
  2. ให้คำชี้แนะ
  3. ให้ความรู้เนื้อหาและกระบวนการ
  4. ตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิด
  5. ช่วยนักศึกษาตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หาแหล่งการเรียนรู้
  6. สนับสนุนให้นักศึกษาอภิปราย และประเมินผล

บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL

  1. ปฐมนิเทศกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL, วัตถุประสงค์การเรียนรู้, วิธีการประเมินผล
  2. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
  3. ตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ PBL
  5. ให้เหตุผลสนับสนุนโดยผ่านคำถาม
  6. ประเมินผลการเรียนรู้
  7. สะท้อนคิด

การจัด PBL ในหลักสูตรพยาบาล

  1. ชั้นปีที่ 1-2 แบ่งกลุ่มเด็ก 10-12 คน โดยมีจุดเน้นที่เป็นการบูรณาการความรู้
  2. ชั้นปีที่ 2-3 จัด 1 ปัญหา ต่อ 1 ภาคการศึกษา
  3. ชั้นปีที่ 3-4 เป็นกลุ่มใหญ่ประมาณ 20 คน
  4. การประเมินผลในชั้นปีที่ 1 ให้เป็นเกรด ส่วนชั้นปีที่ 2-4 ประเมินแบบผ่าน หรือไม่ผ่าน

การสร้าง Scenario ควรมีอย่างน้อย 3 concept โดยมีหลักต้องนึกถึง Foreground และ Background นั่นคือ ทบทวนความรู้เดิม เสริมความรู้ใหม่

                                               ...........................................

(นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ)              ผู้บันทึก

..............................................

                                      (นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์)               ผู้ช่วยบันทึก