การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง หลักการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้Simulation Based Learning : SBL

ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 2 ธันวาคม 2557เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

          1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน         รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

          2. นางสุนทรี ขะชาตย์

          3. นางสาวลักขณา ศิรถิรกุล

4. นางสาวสินีพร ยืนยง

          5. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน

          6. นางสาวศริณธร มังคะมณี

          7. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร

          8. นางสาวเสาวลักษณ์ แสนฉลาด

          9. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์

          10. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ           ผู้บันทึก

          11. นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์             ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Based Learning : SBL ของอาจารย์ในวิทยาลัย ได้มีการพูดถึงแนวคิดหลักการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ Simulation Based Learning ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็น วิเคราะห์สถานการณ์และแก้ปัญหาได้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่สนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง (Simulation Based Learning: SBL) จึงเป็นการจัดการเรียนรู้อีกทางเลือกหนึ่งที่อาจารย์ในวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมให้อาจารย์สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

แนวคิดและหลักการ

          การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะ (Skills Acquisitions) โดยเริ่มจากบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เรียนรู้และฝึกทักษะจากสถานการณ์จำลอง ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวลก่อนขึ้นฝึกปฏบัติบนหอผู้ป่วยจริง

Knows : Knowledge ความรู้จากการ lecture การบรรยาย (Know How ความรู้จากการกระทำ กรณีศึกษา สัมมนา)  (Show How ความรู้จากการเรียนรู้สถานการณ์เสมือนจริง)   (Dose ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ)

เหตุผลที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้Simulation Based Learning : SBL

          1. Safety เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนที่จะปฏิบัติจริงต้องฝึกฝนจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจ การทำกับหุ่นสามารถทำซ้ำและหยุดได้เป็นช่วงๆ และยังช่วยฝึกการปรับตัวก่อนเผชิญกับสถานการณ์จริงในเรื่องของความตึงเครียด และกดดัน เป็นต้น

          2. Experience เป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความกลัว ความตื่นตระหนก ร้องไห้ และความเครียด เช่น การฝึกของนักบิน ก่อนการบิน เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้

          3. Practice การฝึกต้องใส่เครื่องแบบเพื่อแสดงความเป็นวิชาชีพ และเพื่อให้ผู้เรียนมีการเตือนตัวเองว่าจะทำอะไรต้องคำนึงถึงวิชาชีพ และให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่เรียนออกมาใช้

          4. Benefits การฝึกทำกับหุ่น สามารถหยุดและให้ข้อเสนอแนะ และเริ่มทำซ้ำใหม่ได้อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

วัตถุประสงค์จัดการเรียนรู้โดยใช้ SBL

  1. เพิ่มทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความกลัว ความตื่นตระหนก ร้องไห้ และความเครียด

เช่น การฝึกของนักบิน ก่อนการบิน เพื่อให้เกิดทักษะ และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้

  1. ให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนที่จะปฎิบัติจริงต้องฝึกฝนจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจการทำกับ

หุ่นสามารถทำซ้ำและหยุดได้เป็นช่วงๆ และยังช่วยฝึกการปรับตัวก่อนเผชิญกับสถานการณ์จริงในเรื่องของความตรึงเครียด และกดดัน เป็นต้น

  1. ให้ผู้เรียนมีการเตือนตัวเองว่าจะทำอะไรต้องคำนึงถึงวิชาชีพ และให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่เรียน

ออกมาใช้

  1. ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำซ้ำใหม่ได้จากข้อเสนอแนะของผู้สอน
  2. ให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมความรู้ทฤษฎีกับการปฏิบัติกับชีวิตจริงได้
  3. ให้ผู้เรียนได้ฝึกการตัดสินใจด้วยตนเอง มีทักษะการทำงานเป็นทีม

รูปแบบจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Based Learning : SBL

1. การใช้สถานการณ์เป็นหลัก  (paper based scenario) เป็นการเรียนโดยการประยุกต์การเรียนโดยใช้บทเรียนที่มีปัญหาเป็นหลัก  ปัญหาที่พบ ผู้เรียนไม่ได้สนใจปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จะมุ่งแก้ปัญหาตามบทเรียนที่มีให้จึงเหมาะเป็นบางวิชา

2. การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) การสอนด้วยบทบาทสมมติเหมือนสถานการณ์จริง จะประกอบด้วยการที่กลุ่มนักศึกษาเขียนบทการแสดงและมอบหมายบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น พยาบาล ผู้ป่วย และผู้เรียน 2 ใน 3 เป็นผู้สังเกตพฤติกรรม ผู้สอนต้องควบคุมห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนสนใจบทบาทที่เพื่อนแสดง การสอนแบบนี้เหมาะกับการสอนเทคนิคการสื่อสาร หรือสอนผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

3. Single task trainer เป็นการฝึกทีละวิธีการ เป็นการสอนที่ผู้สอนจะต้องปูพื้นฐานให้ผู้เรียนมีความรู้ครบถ้วนในกิจกรรมเฉพาะและมีการสาธิต และสาธิตย้อนกลับโดยการฝึกทีละวิธีการหรือกิจกรรม

4. Desk/Table top exercise การประชุมหารือเชิงปฏิบัติการ เป็นการที่ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่สำคัญของหน่วยงานหรือประเทศที่มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจจะส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต

5. Manniequin based (หุ่นมนุษย์จำลอง)  เป็นการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกในสถานการณ์ต่างๆกับหุ่นจำลองที่ผู้สอนได้จำลองสถานการณ์คล้ายกับผู้ป่วยจริง

6. Manniequin total immession (หุ่นมนุษย์จำลองแบบครบในทางการแพทย์)  เป็นการสอนที่ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงอาการของผู้ป่วยในหลายระบบพร้อมๆ กัน

7. Environment เป็นการสอนที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริง เช่น เป็นการสอนที่มีการจำลองคล้ายกันในหอผู้ป่วย ผู้ป่วยรวมหลายเชื้อชาติ หลายโรค ให้ผู้เรียนฝึกการดูแล บริหารจัดการในหอผู้ป่วย

8. Virtual reality ระบบเสมือนจริง เป็นการสอนที่ใช้ประโยชน์จากการสร้างสื่อผสม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มได้ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ สามารถเคลื่อนย้าย โต้ตอบในสิ่งแวดล้อมมีที่แสดงหรือดูในรายละเอียดได้

 

ความคาดหวังจากการใช้หุ่น(Expectation simulation)มีเป้าหมายดังนี้

          1. ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในทางที่แย่ลง

          2. การประเมินสภาพโดยใช้ ABCDE เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน A = Airway  B = breathing C = Circulation  D = disability  E = Exposure       

3. การรายงานผลและส่งต่อ โดยใช้เครื่องมือ SBAR (SBAR Tool)

Simulation technology

          1. SMOT โดยการสังเกตผ่านวีดีโอ เพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถทำได้ดีหรือต้องมีข้อแก้ไข โดยจะมีกลุ่มที่สังเกตพฤติกรรมและสะท้อนพฤติกรรมกลุ่มที่แสดงบทบาทที่อยู่ในห้อง Simulation

          2. Patient simulator

การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Scenarioเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต้องมีดังนี้

1.การบริหารจัดการ ต้องมีการมอบหมายงาน มีผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่โครงการ การดำเนินงาน และเนื้อหา และโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน

2.การบำรุงรักษา ผู้ดูแลวัสดุอุปกรณ์ สามารถที่จะบำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา

3.การพัฒนา ต้องมีกลุ่มทำงานที่จะคอยสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีและต้องทันสมัยตลอดเวลา

สถานที่ที่จะใช้ในการทำ Scenario (Simulation room)

          ต้องมีการวางแผนห้องที่ใช้ห้องไหน ขนาดเท่าไหร่ บุคคลที่จะเข้ามาใช้ จะใช้ Scenarioในหลักสูตรในชันปีไหนบ้าง ซึ่งความจำเป็นในการใช้ในแต่ละแผนกที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะห้อง ICU ,Ward ห้องผ่าตัด สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สถานที่ในการฝึกการล้างมือ การช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งแต่ละสถานการณ์ลักษณะห้องก็จะมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ สถานที่สำหรับผู้สอนในกรณีใช้สอนการ Debrief จะใช้ที่ไหนได้บ้าง เช่น ใช้ในห้องเรียน ห้องควบคุม ห้องสังเกตการณ์ ซึ่งจะต้องประยุกต์การใช้ห้องเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและขนาดของห้องเรียนที่จะใช้

ข้อดีและข้อจำกัดของ SBL

         ข้อดี

         1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เพราะได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียน

         2. ผู้เรียนมีส่วนในการเรียนรู้สูงมาก เรียนอย่างสนุกสนาน

         3. ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆหลากหลาย เช่น กระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น

         ข้อจำกัด

         1. เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง

         2.ใช้เวลาในการสอนมาก เพราะต้องให้เวลาแก่ ผู้เรียนในการแสดงบทบาท และการอภิปราย

         3. ใช้เวลาในการเตรียมมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียด สร้างสถานการณ์จำลอง ทดลองเล่นในทีมผู้สอน

         4. การสร้างสถานการณ์จำลอง ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์อย่างเพียงพอ จึงจะสร้างได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้

         5.วิธีนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอน ในการดึงดารเรียนให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้