บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL" ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 - 15.30 น.

บันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

ประจำปีการศึกษา 2557

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

วันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 - 15.30 น.

รายนามผู้ร่วมเรียนรู้

          1. นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน         รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

          2. นางสาวปวิดา โพธิ์ทอง

          3. นางสาวลักขณา ศิรถิรกุล

4. นางสาวสินีพร ยืนยง

          5. นางสาวอุมากร ใจยั่งยืน

          6. นางวาสนา หลวงพิทักษ์

          7. นางสาวศิริธิดา ศรีพิทักษ์

          8. นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล

          9. นางสาวสุพรรณี เปี้ยวนาลาว

          10. นางสาววาสนา อูปป้อ

          11. นางเพ็ญรุ่ง วรรณดี

12. นางสาวสุพัตรา หน่ายสังขาร

          13. นางสาวเขมจิรา ท้าวน้อย

          14. นางสาวจิตติมา ดวงแก้ว

          15. นางสาวสุพัตรา จันทร์สุวรรณ           ผู้บันทึก

          16. นางสาวจิราภรณ์ รอดสถิตย์             ผู้ช่วยบันทึก

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการฟังบรรยายของอาจารย์จากการอบรมการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ : Clinical Simulation และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Based Learning : SBL ของอาจารย์ในวิทยาลัย ได้มีการพูดถึงแนวคิดหลักการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ Simulation Based Learning ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็น วิเคราะห์สถานการณ์และแก้ปัญหาได้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่สนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง (Simulation Based Learning: SBL) จึงเป็นการจัดการเรียนรู้อีกทางเลือกหนึ่งที่อาจารย์ในวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมให้อาจารย์

สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

แนวคิด Domains of Professional Practice

          การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะ (Skills Acquisitions) โดยเริ่มจากบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เรียนรู้และฝึกทักษะจากสถานการณ์จำลอง ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยจริง

km1 12 2015 1

Simulation technology ประกอบด้วย

๑.      SMOT โดยการสังเกตผ่านวีดีโอ เพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถทำได้ดีหรือต้องมีข้อแก้ไข โดยจะมีกลุ่มที่สังเกตพฤติกรรมและสะท้อนพฤติกรรมกลุ่มที่แสดงบทบาท ที่อยู่ในห้อง Simulation

๒.      Patient simulator

ขั้นตอนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery)

การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริงประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ดังนี้

๑.      Pre – Brief

๒.      Simulation หรือ Scenario /Observation

๓.      Debrief

โดยมีหลักการสอน คือ จะค่อยๆเสริมความรู้ใหม่ที่ละน้อย เพื่อให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำ เสริมความรู้ ให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่น เมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติจริง

km1 12 2015 2

 

km1 12 2015 3

การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง เป็นการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลากหลายเพราะการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง เป็นการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่หลากหลาย สามารถกลับมาทำซ้ำได้ จากสภาพการเรียนรู้และจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียน อาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะถูกคาดหวัง ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับในสภาพการณ์จริง จัดสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก และเพิ่มความสามารถของนักศึกษาโดยให้มีการปฏิบัติงานซ้ำๆ จนนักศึกษาสามารถมีความรู้และทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงได้    

การใช้เทคโนโลยีในการเรียนที่เน้นการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง

       
   

ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการให้บริการ

 
 
 

นวัตกรรม &หลักฐานเชิงประจักษ์