นวัตกรรม ICT เตือนภัยป้องกันลูกชัก

นวัตกรรม ICT เตือนภัยป้องกันลูกชัก

 

 

  

      

ความสำคัญและที่มาของการคิดค้นนวัตกรรม ICT เตือนภัยป้องกันลูกชัก อาการชักจากไข้สูง (febrile convulsion) พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีจากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2560 พบอุบัติการณ์ในเด็กประมาณ 6-8 ราย ต่อประชากร 1,000 ราย โดยร้อยละ 80 ของประชากรที่เป็นพบในประเทศที่กำลังพัฒนา (กระทรวงสาธารณสุข, 2560) จากการศึกษาอาการชักซ้ำจากไข้ของเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี พบอายุเฉลี่ยของเด็ก 1-3.2 ปี ในแต่ละปีพบอุบัติการณ์การเกิดอาการชักร้อยละ 35 ของประชากรทั้งหมด 31,700 ราย (สุธิสา ล่ามช้าง, 2558)

    ภาวะชักนี้จะส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจนในสมองของเด็ก ทำให้เด็กมีปัญหาทางพัฒนาการและสติปัญญา และจากการศึกษาพบว่าบิดามารดาบางคนนั้นยังไม่เกิดความตระหนัก ขาดความใส่ใจ หรือขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรเมื่อบุตรมีไข้ ทำให้ไม่สามารถป้องกันภาวะชักจากไข้สูงได้ จึงก่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ ของบุตร และของครอบครัวตามมา

    นวัตกรรม ICT เตือนภัยป้องกันลูกชักที่จะสามารถช่วยในการประเมินภาวะไข้ในเด็ก และสามารถแสดงผลออกมาเป็นเสียงเตือนและมีอุปกรณ์ไร้สายส่งสัญญาณไปยังตัวรับสัญญาณ ในกรณีผู้ปกครองอยู่คนละห้องกับเด็ก และคำแนะนำแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กตามระดับของการมีไข้ได้ เพื่อให้มีการใช้งานได้สะดวก สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ดีกว่า และมีความรวดเร็วในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กเมื่อมีไข้ ใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกเป็นอุปกรณ์แจ้งเตือน รูปแบบที่สอง เป็นคู่มือให้ความรู้แก่บิดาและมารดาในการปฏิบัติตัวและการดูแลบุตรเมื่อมีไข้และการป้องกันภาวะชักจากไข้สูง

จัดทำโดย นางสาวภาวิณี ธรรมรุ่ง และคณะ, อาจารย์ที่ปรึกษา อ.จารุวรรณ สนองญาติ และอ.เรวดี ศรีสุข

 

 

 

 

 

 

 


ไฟล์เอกสารประกอบ


โปสเตอร์ภาษาอังกฤษ

ไฟล์นำเสนอ

เอกสารโครงการ

 

 

About us

  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรีเชื่อว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นรากฐานการเรียนรู้ จะทำให้บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษามีความเอื้ออาทร เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์และมีจิตอาสา.

    สถานที่ตั้งวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

    ๑๑๘ หมู่ ๑ ถนนสุพรรณบุรี – ชัยนาท ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
    (บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี แห่งที่ ๑)
    โทรศัพท์ (๐๓๕)๕๓๕๒๕๐-๕ โทรสาร (๐๓๕)๕๓๕๒๕๑
    พื้นที่ของสถาบัน พื้นที่ที่ดิน ๒๔ ไร่ พื้นที่ใช้สอย ๕,๐๔๘ ตารางเมตร

    Read more...