ที่มา โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการพัฒนา 
เรื่อง หลักในการทำข้อสอบแบบ OSCE
ผู้จัด สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่ ณ โรงแรมเสนาเพลส
วันที่ 20 - 22 กรกฎาคม 2558
ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางจันทร์ฉาย มณีวงษ์ 


หลักในการทำข้อสอบแบบ OSCE

แบบสอบเป็นสถานการณ์ (โจทย์ )ให้นักศึกได้หมุนเวียนกันโดยมีเนื้อหาครอบคลุมตามสิ่ง

ที่เราต้องการประเมินทั้ง 4 ด้านหรือด้านใดด้านหนึ่งในแต่ละสถานี คือ Cognitive skills, Technical skills, Interpersonal skills, Ethical skills.

ขั้นตอนการทำข้อสอบ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอบ

2. กำหนดทักษะที่ต้องการประเมินตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของหลักสูตร

3. กำหนดคุณลักษณะของแต่ละทักษะที่ต้องการในการสอบ

4. กำหนดเวลาที่ใช้ในแต่ละสถานีและระยะเวลาสอบรวบ

5. ดำเนินรายละเอียดในการออกสอบ เช่น แบบประเมิน Checklist หรือ Rating scale

6. ประชุมกรรมการคุมสอบ เลือกสถานที่ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสอบเสมือนจริง หุ่น รวมทั้งชี้แจงนักศึกษาก่อนสอบ

7. Feedback นักศึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะ

การสร้างแบบประเมินข้อสอบแบบ OSCE

1. แบบรายการสำรวจ ประเมินโดยการสังเกตว่าทำหรือไม่ทาเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงระดับความสมบูรณ์ของการปฏิบัติ

2. มาตราส่วนประมาณค่า นิยมใช้มาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น ปฏิบัติสมบูรณ์ ปฏิบัติไม่สมบูรณ์ และไม่ปฏิบัติ

การสร้างแบบประเมินในการให้คะแนน

1. กำหนดขั้นตอนรายละเอียดตามที่ต้องปฏิบัติจริงในทักษะแต่ละเรื่อง เขียนลาดับที่ปฏิบัติจริง

2. กรณีที่จานวนขั้นตอนของการปฏิบัติ ได้รับการพิจาณาว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ทันตามเวลาที่กำหนด ให้คัดสรรเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจาเป็นต้องประเมิน เพื่อให้เหมาะสมกับเวลา โดยผู้ออกข้อสอบอาจทดลองก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่

3. แต่ละขั้นที่ให้ปฏิบัติ ควรเขียนให้ถูกต้อง ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจตรงกันมากที่สุด เพื่อสะดวกและความยุติธรรมในการให้คะแนน

4. พิจารณาแต่ละขั้น มีขั้นตอนใดที่แม้ปฏิบัติไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วน ก็ยังให้คะแนนได้บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็ใช้แบบประเมินเป็น Rating scale ถ้าไม่มีก็ใช้แบบประเมินเป็น Checklist

5. กรณีให้คะแนนแบบ rating scale ต้องมีความชัดเจนในการให้คะแนนแต่ละส่วนว่าปฏิบัติอย่างไรจึงให้คะแนนเต็ม อย่างไรให้คะแนนบางส่วน อย่างไรให้คะแนน 0 คะแนน เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันในการให้คะแนนผู้เข้าสอบ

6. พิจารณาทักษะการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีในบางเรื่องรวมถึงการปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การแนะนำตัว การถามชื่อสกุลผู้ป่วย

7. กำหนดคะแนนแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติ โดยอาจจัดแบ่งเป็นกลุ่มพิจารณาให้คะแนนเป็นกลุ่มก่อน แล้วจึงให้คะแนนในรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนในแต่ละกลุ่ม

8. กำหนดเกณฑ์โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ เลือกขั้นตอนที่สำคัญหรือจาเป็นต้องทา แล้วรวมคะแนนเป็นเกณฑ์ผ่านของแต่ละสถานี