ที่มา โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการพัฒนา 
เรื่อง โครงการพัฒนาความเชี่ยวชาญอาจารย์ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอน Simulation Based Learning แบบ OSCE
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท 
สถานที่ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท  
วันที่  3 กรกฎาคม 2558   
ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาววาสนา  อูปป้อ


Education learning concept in Medical sinmulation

หลักการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือการเรียนรู้ 3R x 7C

    3R
คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)

    7C
ได้แก่

  • Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)
  • Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
  •  Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์)
  • Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ)
  • Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
  • Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  • Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)

Simulation Based Learning เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานเป็นทีมภาวะผู้นำการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณนอกจากองค์ความรู้ (Knowledge) แล้วทักษะ(Skills) และทัศนคติ (Attitude) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนและมีประสบการณ์ในทั้ง 3 หมวดดังกล่าวและเพื่อเป็นการติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงจำเป็นที่จะต้องทำการวัดผลประเมินผลให้ถูกต้องกับสิ่งที่ต้องการวัดเพื่อให้มี Constructive validity เครื่องมือวัดผลทางการศึกษาที่สามารถวัดทักษะได้ดีคือ Objective Structured Clinical Examination(OSCE) การสร้างข้อสอบ OSCE การสร้างข้อสอบ OSCE อาจแบ่งได้เป็นขั้นตอนต่างๆประกอบด้วย

1) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2) กําหนดลักษณะหรือระดับของผู้เข้าสอบเช่นเป็นนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง

3) กําหนดทักษะทางคลินิกที่ต้องการประเมิน

4) เลือกและพัฒนาข้อสอบ

5) การสร้างพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test blueprint)

6) กําหนดเกณฑ์การให้คะแนน

7) การกําหนดเกณฑ์ผ่าน

8) การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือความเที่ยงตรงของข้อสอบก่อนนําไปใช้ (reliability and validity) หลักการที่สําคัญของการออกข้อสอบคือการกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติของทักษะทางคลินิกออกมาเป็นขั้นตอนย่อยที่ผู้คุมสอบจะสามารถสังเกตได้ (Task analysis) โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นทักษะที่ต้องประเมินโดยการสังเกตได้แก่การซักประวัติการตรวจร่างกายการทําหัตถการหรือการให้คําปรึกษาแก่ผู้ป่วย