ที่มา การประชุมวิชาการระดับชาติเรื่องการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ 1
เรื่อง เรื่อง Financial reform for improving health Professional education
ผู้จัด คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สถานที่ ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ
วันที่ ระหว่างวันที่18-19 พฤศจิกายน2557
ผู้สรุปประเด็นความรู้ 1.นางสาวศิริพร ชุดเจือจีน 2.นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล


เรื่อง Financial reform for improving health Professional education
1. ต้นทุนการผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข แต่ละสาขามีความแตกต่างกันมาก เพราะแต่ละสาขามีวิธีการคิดต้นทุนการผลิตไม่เหมือนกัน
2. การผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุข มีต้นทุนการผลิตมากกว่ารายรับที่ได้ ทำให้สถาบันแต่ละแห่งต้องแสวงหารายได้จากแหล่งอื่นมาเพิ่ม
3. งบประมาณในการผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุข มีสัดส่วนของงบประมาณในการพัฒนาน้อยกว่างบประมาณดำเนินการ
4. การผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขมีต้นทุนในการฝึกปฏิบัติงานสูงขึ้นในอนาคตเพราะจำเป็นต้องผลิตบัณฑิตให้ได้มาตรฐานของสภาวิชาชีพ
5. เป็นไปได้หรือไม่ที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะทบทวนค่าหน่วยกิตให้เป็นไปตาม ความเป็นจริง ไม่ใช้เก็บค่าหน่วยกิตให้ถูกๆ ทำให้แต่ละสถาบันการศึกษาต้องไปขวนขวายหาแหล่งทุนอื่นๆมาใช้จ่าย
6. แหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตบุคลากรสุขภาพและรูปแบบวิธีการจัดสรรเงิน สถาบันการศึกษาควรพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
   6.1 แหล่งทุนที่มีอยู่และเป็นไปได้
      6.1.1 จากรัฐ
      6.1.2 จากผู้เรียน (ค่าเล่าเรียน)
      6.1.3 จากแหล่งเงินทุนอื่นๆรวมถึงเอกชน
   6.2 วิธีการจัดสรรเงินอุดหนุน ของรัฐ
      6.2.1 ความเหมาะสมและการกระจายงบประมาน
      6.2.2 การจัดการ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ
7. คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราช ลงทุนในเรื่อง Simulation Lap ค่อนข้างมาก เพื่อฝึกนักศึกษาให้มีทักษะที่ต้องการ ลงทุนในเรื่องระบบสารสนเทศและการพัฒนาอาจารย์สูง เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องทำ ผู้บริหารต้องกล้าที่จะลงทุนในเรื่องที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ และมีหน้าที่ไปหางบประมาณใช้จ่ายจากงบประมาณปกติ หลังจากนั้นจึงติดตามการใช้งบประมาณว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ โดยสรุปคือการศึกษาจะต้องไม่เน้นการจำกัดค่าใช้จ่ายเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต้ต้องลงทุนและหาเงินทุนมาใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมให้บัณฑิตมีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศได้
8. การผลิตบัณฑิตด้านคุณภาพมีแนวโน้นจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เพราะต้องผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาวิชาชีพ เช่น หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ กำลังจะมีสภาวิชาชีพ ทำให้มีค่าใช้จ่ายให้การผลิตบัณฑิตเพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนั้นแต่ละวิชาควรมี Minimum requirement ในการผลิตบัณฑิต เพื่อไม่ให้ต้นทุนการผลิตบัณฑิตสูงและแตกต่างกันเกินไปในแต่ละสถาบัน
9. สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งต้องวิเคราะห์ว่าในการผลิตบัณฑิตจำเป็นต้องให้ บัณฑิต มี Competency อย่างไร ที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศและจะมีวิธีการอย่างไรในการพัฒนา Competency นั้น เช่น ต้องการสร้าง Simulation Lap ให้นักศึกษาฝึก การส่งนักศึกษาออกฝึกในชุมชน เพราะโรงพยาบาลใหญ่ๆ ไม่มี สิ่งเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น แต่ก็จำเป็นที่ต้องลงทุน
10. ตัวแทนโรงพยาบาลเอกชนเสนอว่า บัณฑิตทางวิชาชีพต้องมี Personality, Ability และ Spiritual จึงเสนอว่าสถาบันการศึกษาจะต้องร่วมมือกันพัฒนาคุณสมบัติทั้ง 3 ด้าน การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอาจมีแนวทางคือการใช้ทรัพยากรร่วมกันระกว่างสถาบันการ ศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ และการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้ผู้ใช้บัณฑิตได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิต
11. การเปิดหลักสูตรทางวิชาชีพของสถาบันการศึกษาเอกชน สภาวิชาชีพควรพิจารณาในเรื่องของงบประมาณด้วยว่ามีความพร้อมในการเปิดหลัก สูตรหรือไม่ แต่เกณฑ์ในปัจจุบันในการเปิดหลักสูตร ไม่มีเกณฑ์ในเรื่องนี่ ทำให้สถาบันการศึกษาเอกชนที่เปิดหลักสูตรทางวิชาชีพมีปัญหามากในเรื่องของงบ ประมาณและค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิต
12. ผู้แทน สกอ. เสนอว่าสภาวิชาชีพควรประเมิน Output และ Outcome มากกว่าประเมินกระบวนการ ให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการควบคุมเอง
13. นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เสนอว่าควรทบทวนกฎหมายวิชาชีพให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยพิจารณาว่าสิ่งที่ทำอยู่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อประชาชนหรือสังคม ปัจจุบันแต่ละวิชาชีพเน้นความรู้ความสามารถมากกว่าจรรยาบรรณและศิลปะของ วิชาชีพ สถาบันการศึกษาไม่ค่อยมุ่งเน้นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมวิชาชีพ จึงเป็นโจทย์ให้สถาบันการศึกษาต้องแก้ไข สถาบันการศึกษาวิชาชีพควรสอนวิชามานุษยวิทยา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความเป็นมนุษย์และวิชาสังคมวิทยา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในความเป็นสังคมมนุษย์