โรค มือ เท้า ปาก (Hand-Foot-Mouth Disease)

     พบตลอดปี แต่เพิ่มมากในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และช่วงฤดูฝนต่อฤดู หนาวมักเกิดกับเด็กอายุต่่ากว่า 10 ปี แต่พบบ่อยสุดในเด็กต่่ากว่า 5 ปีในเด็กทารกและเด็กเล็ก มีอาการรุนแรง มากกว่าเด็กโต การระบาดมักเกิดในกลุ่มเด็กที่อยู่รวมกันมากๆ เช่น โรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรค นี้ไม่ค่อยพบในวัยรุ่น ส่าหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง แต่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโรคทาง สมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปากว่ามีโอกาสติดเชื้อ ได้มากถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะถ้าสมาชิกในบ้านป่วย

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ใน ล่าไส้ของคน เชื้อจะถูกขับออกทางอุจจาระ และสามารถแพร่กระจายไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการกินอาหารหรือดื่มน้่า ที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือติดต่อโดยการสัมผัสเชื้อในน้่ามูก น้่าลาย และสิ่งคัดหลั่งจากตุ่มแผล เชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ ค็อก แซคกีไวรัส (Coxsackie virus) แต่ชนิดรุนแรงที่ท่าให้เสียชีวิตคือ เอนเทอโรไวรัส 71 หรือ EV 71

อาการและอาการแสดง

มีไข้ต่่าถึงสูง (37.8-39 องศาเซลเซียส) อ่อนเพลีย ต่อมาอีก1-2 วันเจ็บคอ เจ็บปาก มีแผลในปาก น้่าลาย ไหล ไม่อยากทานอาหาร เนื่องจากมีแผลอักเสบเป็นตุ่มแดงขึ้นภายในปากทั้งภายนอกและภายในรวมทั้งที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมาจะเป็นตุ่มพองใส (vesicles) ขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-7 มิลลิเมตรรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ และจะพบตุ่มหรือผื่น(มักไม่คัน)ขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่จะมีรอย แผลเป็น กรณีอาการรุนแรงผู้ป่วยจะมีไข้สูง ซึม ชัก และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

อาการแทรกซ้อน

( Complications) โรคมือ เท้า ปาก อาจท่าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบระบบการไหลเวียนล้มเหลว และน้่าท่วมปอดท่าให้หอบ มีภาวะ หายใจล้มเหลว

การวินิจฉัยโรค

1. การตรวจร่างกาย ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย ตัวร้อนมีไข้ พบรอยโรคที่ปากทั้งด้านในและด้านนอก ร่วมกับ มีตุ่มใสที่ฝ่ามือฝ่าเท้า และมีตุ่มผื่นตามตัว

2. การซักประวัติ จากการที่คนใกล้ชิดเป็นโรค การระบาดที่เกิดขึ้น

3. ตรวจห้องปฏิบัติการจากสารคัดหลั่งจากล่าคอ อุจจาระ เลือดเพื่อยืนยันชนิดของไวรัสโดยการตรวจ Gram stain ,เพาะเชื้อ(virus culture) และการตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) แต่ไม่จ่าเป็นต้องท่าทุกราย

การรักษา

ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เน้นการรักษาตามอาการ ดังนี้

- ลดไข้แก้ปวดให้ยา paracetamol และเช็ดตัวลดไข้

- หยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก เช่น Xylocain viscous - แนะน่ารับประทานอาหารเหลวและอ่อนที่เย็น เช่น นม น้่าแข็ง ไอศกรีม เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ถ้าเด็กเล็กอาจใช้Dropper หรือช้อนในการป้อนนมแทนการดูดจากขวดเอง

- ถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ พิจารณาให้สารน้่าทางหลอดเลือดด่า การป้องกันโรค

- โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันเน้นการป้องกันโดยการรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วย น้่าและสบู่บ่อยๆโดยเฉพาะหลังขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร(การติดเชื้อร้อยละ 99 มาจากอุจจาระ)

- แนะน่าการท่าความสะอาดของเล่นให้สะอาด

- แนะน่ารับประทานอาหาร น้่าที่สะอาด และใช้ช้อนกลาง

- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน เช่น แก้วน้่า หลอด ขวดนม ช้อน จาน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ

- ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้่าลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อ ระบายน้่า

-เมื่อเช็ดน้่ามูกหรือน้่าลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว

- หากพบเด็กป่วยต้องรีบพาไปโรงพยาบาลและหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าตุ่มผื่นหรือ แผลจะหาย ในระหว่างนี้แนะน่าผู้ปกครองไม่พาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นและไม่พาไปในที่ชุมชนเพื่อควบคุม การแพร่กระจายของเชื้อ

-ปิดสถานที่รับเลี้ยงเด็ก1-2 สัปดาห์ พร้อมทั้งท่าความสะอาดฆ่าเชื้อโรคทั้งอุปกรณ์ ห้องเรียน โดยใช้ สารละลายเจือจางของน้่ายาฟอกขาว 1 ส่วนผสมน้่า30 ส่วน หรือใช้น้่ายา VIRKON ซึ่งเป็นสารผสมของ Primary active ingredients 2 ตัวคือ Potassium monopersulfate และ Sodium chloride กับ Secondary active ingredient คือ hypochlorous acid เมื่อเทผง virkon ซึ่งมีสีชมพูลงในน้่าจะเกิดปฏิกิริยาให้สารจ่าพวก hypochlorite ที่มีประสิทธิภาพการท่าลายเชื้อสูง การดูประสิทธิภาพของน้่ายา สังเกตได้จากสีของสารละลาย ถ้า สีของสารละลายเปลี่ยนจากสีชมพู เป็นสารละลายใส ให้เปลี่ยนน้่ายาในวันนั้น แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน(ใช้ฆ่าเชื้อได้ทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา)

การพยาบาล

- ถ้ามีไข้ดูแลเช็ดตัวลดไข้ และถ้าไข้มากกว่า 38.5 ๐ C ขึ้นไปให้ยาลดไข้ร่วม - ดูแลให้สารน้่าทางหลอดเลือดด่าตามแผนการรักษา และดูแลให้อาหารเหลวหรืออ่อนย่อยง่ายเช่น นม โจ้ก น้่าซุป น้่าผลไม้ น้่าแกงจืด น้่าเต้าหู้ โดยเน้นไม่ให้ร้อนและค่อยๆป้อนเนื่องจากผู้ป่วยจะเจ็บปาก เพื่อป้องกัน การขาดสารน้่าและอาหาร

- ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะ ปากและฟันและพักผ่อนมาก ๆ

- ระมัดระวัง เรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากน้่ามูก น้่าลาย และอุจจาระ โดยแยกเด็กป่วยตามหลัก Droplet precautionsประมาณ 1 สัปดาห์จนกว่าตุ่มผื่นหรือแผลจะหาย และควรให้สวมหน้ากากอนามัย

- ล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย รวบรวมโดยอาจารย์ยุคนธ์ เมืองช้าง กลุ่มกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุร

JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com