คำขวัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ท่อนที่ว่า " แหล่งปราชญ์ศิลปิน " นั้นคงเป็นเพราะว่า ชาวเมืองสุพรรณบุรีนั้น  มีเอกลักษ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว  ในเรื่องของการออกเสียง  ด้านการร้องเพลง ดนตรี วรรณกรรม วรรณศิลป

  • ครูมนตรี ตราโมช

             อาจารย์มนตรี ตราโมท เกิดวันที่ 17 มิถุนายน 2443  ณ บ้านข้างวัดสุพรรณภูมิ ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดประตูสาร เริ่มแต่งบทกวีเมื่ออยู่โรงเรียนกรรณสูต กับครูฉัตร แสงอรุณ จบการศึกษาชั้นสามัญที่โรงเรียนพลานหลวง

           ท่าน เป็นเยี่ยมทางด้านอัษรศาสตร์และดุริยางคศาสตร์ "ด้านอักษรศาสตร์" ท่านได้รับการยกย่องว่า เป็นกวีวัยสูงสุดในยุคปัจจุบัน งานประพันธ์ของท่านมีมาก โดยเฉพาะการประกวดบทร้อยกรองและทำนองเพลงวันชาติ เมื่อ พ.ศ. 2483 บทกวีที่แต่งไว้เป็นอันมาก เช่น กาพย์ขับไม้กล่อมเศวตสุรคชาธาร เรื่องยาวได้แก่ ลิลิตอิหร่านราชธรรม ซึ่งใช้ในการประกอบการอ่านของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในปัจจุบัน ท่านได้คิดโคลงกลบทขึ้นใหม่ 2 ชนิด คือ โคลงกลบทสาลินี และ โคลงกลบทฉบัง

            นอก จากนี้ยังเป็นผู้ที่เขียนคำอภิบายเกี่ยวข้องกับดนตรีไทยในสารานุกรมฉบับราช บันฑิตสถานและเขียนตำรับตำราไว้มากมาย... เกียรติคุณทางหนังสือประการหนึ่งของท่าน ปรากฎเด่นอยู่ที่พระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดอนเจดีย์ ข้อความที่จารึกสดุดีพระเกียรติวีรประวัตินั้นทางราชการ  ให้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยเป็นจำนวนมากส่งมา โดยให้ใช้คำน้อยแต่กินความมาก  ในที่สุดทางราชการเลือกข้อความที่อาจารย์มนตรี ตราโมท  เรียบเรียง  ดังที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้

            "ทาง ดุริยางคศาสตร์" นั้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีไทยคนหนึ่ง ท่านแตกฉานทางด้านฝีมือและหลักวิชา  ท่านเริ่มเรียนปี่พาทย์ที่สำนักวัด สุพรรณภูมิและไปต่อที่สมุทรสงคราม จากนั้นเข้ารับราชการ และได้ศึกษาต่อในแผนกปี่พาทย์หลวงกรมมหรสพ ได้เป็นศิษย์ของพระยาปยะสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ทั้งยังศึกษาจากครูอื่นอีกหลายคน  เช่น พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิม วาทิน) หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้รับเกียรติคัดเลือก ให้เป็นผู้บรรเลงในวงตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นคนตีขิมคนแรกวงมโหรีหลวง ท่านบรรเลงดนตรีได้ดีแทบทุกชิ้น โดยเฉพาะปี่พาทย์ ท่านบรรเลงและแต่งทางเดี่ยวได้ดี ทั้ง ระนาด ฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก และทุ้ม เป็นคนขับทุ้มที่มีชื่อเสียงโดงดังมากตั้งแต่รัชกาลที่6 เป็นต้นมา

           ตาม หลักวิชาท่านแต่งเพลงไทยประเภทต่างๆ ไว้ประมาณ 200 เพลง หลายเพลงมีผู้นำทำนองมาร้องเป็นเนื้อเต็ม เป็นเพลงไทยสากล และได้รับความนิยมมาก เช่นเพลง "รัก" ของสุนทราภรณ์ นำมาจากเพลงโสมส่องแสงสามชั้นของท่าน ท่านเป็นผู้แต่งตำราดุริยางคศาสตร์ไทยคนแรก

           ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นราชบันฑิตประเภทจิตรศิลปได้รับดุษฎี บัณฑิตกิติมศักดิ์  จากสถาบัน
การศึกษาถึง 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการยกย่องเป็น

-ศิลปินแห่งชาติ 4 คนแรก เมื่อ พ. ศ. 2528

-นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2529

-เป็นศิลปินซีไรท์ ( ศิลปินแห่งชาติสมาคมอาเซียน) เมื่อ พ.ศ. 2530

        แต่ ที่ท่านภาคภูมิใจเหนือการเชิดชูเกียรติอันใด คือการได้รับพระราชทานเเหรียญดุษฎีมาลา เป็นศิลปวิทยาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยเมื่อ พ.ศ. 2514.

 

  • สุรพล สมบัติเจริญ

    "ราชาเพลงลูกทุ่งของเมืองไทย"
    สุรพล สมบัติเจริญ

    สุรพล สมบัติเจริญ เดิมชื่อ นายลำดวน  สมบัติเจริญ เป็นบุตรของนายเปลื้อง นางวงศ์ สมบัติเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2473 ที่บ้านถนนนางพิม อำเภอเมือง จ.สุพรรณบุรี สมรสกับคุณศรีนวล มีบุตร 5 คน เริ่มต้นฝึกตนเองทั้งการร้องและการแต่งเพลงจนมาฝึกทฤษฎีของการร้องเพลงอย่าง จริงจังในกองดุริยางค์ทหารอากาศ

    การเริ่ม ต้นเป็นนักร้องด้วยการร้องเพลงเชียร์รำวง ยึดเอาเพลงของเบญจมินทร์ เป็นแม่แบบ บันทึกเพลงลงแผ่นเสียงเพลงแรกคือเพลง "น้ำตาลาวเวียง"

    ผลงานที่สร้างชื่อเสียง
    เพลงลืมไม่ลง สาวสวนแตง น้ำตาจ่าโท เพลงสุดท้ายที่ร้องก่อนเสียชีวิตคือเพลง "16 ปีแห่งความหลัง"

    เคยชนะการ ประชันวงดนตรีลูกทุ่งครั้งแรกของเมืองไทย ที่วัดสนามชัย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2509 โดยประชันกัน 4 วง เขาร้องเพลงและแต่งเพลงไว้อย่างมากมายได้รับรางวัลจึงได้รับการขนานนามให้ เป็น "ราชาเพลงลูกทุ่ง ของเมืองไทย" .

 

  • ชิต บูรทัต

   

          นายชิต บุรทัต นามสกุลเดิม ชวางกูร นามปากกา แมวเครา เจ้าเงาะ เอกชน เกิดวันที่ 6 กันยายน 2435 ที่บ้านโพธิ์พระยา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 

ศิลปิน  สาขาวรรณกรรม (เขียนร้อยแก้ว,ร้อยกรอง)

ผลงาน

1. ประเภทชาดก ได้แก่ ลิลิตสุภาพพาโลทกชาดกในทุกนิบาต    เวทัพพชาดก   คำฉันท์ กุฏวานิชคำโคลง และสามัคคีเภท         คำฉันท์ ซึ่งกรมวิชาการได้บรรจุ ให้เป็นแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. ประเภทสดุดี ได้แก่ สรรเสริญพระคเณศร, มหานครปเวศ     คำฉันท์ ฉันท์ราชสดุดี และ อนุสาวรีย์กถากาพย์ เฉลิมพระเกียรติงานพระเมรุทอง ท้องสนามหลวงวันชาติ กรุงเทพ คำฉันท์ ฯลฯ
3. ประเภทคติคำสอน ได้แก่ ตู้ทองของปราชญ์, กันก่อนแก้ ทำลายง่ายกว่าสร้าง สัญชาติอีกา เบื้องหน้าชีวิตมนุษย์ คนชั่วอกตัญญู ฯลฯ
4. ประเภทชมธรรมชาติ ได้แก่ อุปมาธรรมชาติ วารวิสาขมาศ,      วัสสานฤดู, เหมันต์หฤดูเหมือนพระจันทร์ข้างแรม,  ภาพที่หลับตาเห็นเอกเขนกขอบสระ,   นิราศแมวคราวชีวิตเราก็เปรียบด้วยนกบิน ฯลฯ
5. ประเภทเบ็ดเตล็ด ได้แก่ กวีสี่ กำเนิดแห่งสตรีคำโคลง เราจน สละกันเพราะแต่งงาน บุญตามพบ หนาวอะไร และความรักของแม่    ยังมีกวีนิพนธ์กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปอีกมากมายหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เก็บรวบรวมไว้บ้างแต่ไม่ครบ
นายชิต บุรทัต ได้รับฉายาวา "กวีแก้วผู้ยากไร้" เพราะท่านไม่เคยทะเยอทะยานหรือ   โอ้อวดว่ามีชื่อเสียง

 

  • พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

               พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรคนที่ 1 จาก 3 คนของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย

เส้นทางนักร้อง

รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็กเดินสายประกวดร้องเพลงลูกทุ่งใช้ชื่อว่าน้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย และมาอยู่กับวงดนตรี ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาและน้าชายของรำพึงฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุวรรณ โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง สกุณี ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ และหันมาใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เมื่อ พ.ศ. 2519

ต่อมา ลาออกจากวงไวพจน์มาพร้อมกับธีระพล แสนสุข ไปอยู่กับวงดนตรีศรเพชร ศรสุพรรณ เป็นทั้งนักร้องพร้อมกับเต้นหางเครื่องด้วย และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด หลังจากอยู่กับศรเพชรไม่นาน และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ รักไม่อันตรายและรำพึง ใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า พุ่มพวง ดวงจันทร์ จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือและตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงาน ของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจาก ประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้นพุ่มพวง มีชื่อเสียงสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2515-2534หลังจากออกจากเสกสรรเทป-แผ่นเสียงมาอยู่ในสังกัดอโซน่าด้วยเพลงจาก การแต่งของลพ บุรีรัตน์ที่พลิกแนวให้หันมาร้องเพลงสนุก ๆ และได้การตอบรับจากคนฟังเป็นอย่างมาก เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สาวนาสั่งแฟน ซึ่งเป็นเพลงจุดประกาย ก่อนจะตามมาด้วยเพลง นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง,ดาวเรืองดาโรย, คนดังลืมหลังควาย, นักร้องบ้านนอก, บทเรียนราคาเพลง, หม้ายขันหมาก และอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง ส้มตำ (เพลงพระราชนิพนธ์) พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีพุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ไกรสรได้พาพุ่มพวงพามาเข้าสังกัด อ.ไพจิตร ศุภวารี และมีผลงานอีกหลายชุด เช่น ตั๊กแตนผูกโบว์ โลกของผึ้ง หลังจากนั้นมาอยู่กับห้างท็อปไลน์

พุ่มพวงหายหน้าไป จากวงการเนื่องจากป่วยด้วยโรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเองก่อนจะเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535สิริอายุได้ 31 ปี สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

ผลงาน

การร้องเพลง

  1. ตั๊กแตนผูกโบว์
  2. หม้ายขันหมาก
  3. อื้อฮือหล่อจัง
  4. สาวนาสั่งแฟน
  5. ดาวเรืองดาวโรย
  6. อายแสงนีออน
  7. นักร้องบ้านนอก
  8. บทเรียนราคาแพง
  9. หม้ายขันหมาก
  10. ส้มตำ
  11. เพลงรักบ้านทุ่ง

 

แสดงภาพยนตร์

  1. 2530 เพลงรัก เพลงปืน
  2. 2530 เชลยรัก
  3. 2528 ที่รัก เธออยู่ไหน
  4. 2527 จงอางผงาด
  5. 2527 ขอโทษที ที่รัก
  6. 2527 อีแต๋น ไอเลิฟยู
  7. 2527 อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง
  8. 2527 สาวนาสั่งแฟน
  9. 2527 นางสาวกะทิสด
  10. 2527 ชี
  11. 2527 คุณนาย ป.4
  12. 2527 มนต์รักนักเพลง
  13. 2526 รอยไม้เรียว
  14. 2526 สงครามเพลง (คู่กับ ยอดรัก สลักใจ)

 

  • ขวัญจิต ศรีประจันต์

ขวัญจิต ศรีประจันต์

 

ประวัติและงานที่น่าภูมิใจของศิลปินพื้นบ้านลูกทุ่งสุพรรณบุรึ นุ่งโจง กระเบน ใส่เสื้อคอจีน มีผ้าคาดเอว รำป้ออยู่หน้าเวทีด้วยท่าทางสดชื่น ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ร้องกลอนโต้ตอบกันไปมา มีลูกคู่ร้องรับอย่างสนุกสนาน คนดูชื่นชอบ เห็นจะ ไม่มีใครเกิน ขวัญจิต    ศรีประจันต์ เมื่อเอ่ยถึงนักเพลงพื้นบ้านคนนี้ น้อยนักที่จะไม่มีคนรู้จัก ราชีนีเพลงอีแซว ชื่อเดิมของเธอคือ เกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2490 เป็นบุตรของนายอัง นางปลด เสร็จกิจ ที่บ้านวังนํ้าซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับนายเสรี ธราพร มีบุตร 3 คนปัจจุบันอยู่ที่ ธราฟาร์ม ตำบลสนามไชย อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี

ขวัญจิต เป็นศิลปินที่มีความชำนาญในเรื่อง การร้องเพลงฉ่อย และเพลงอีแซว โดยเริ่มฝึกพร้อมกับการทำไร่ทำนาไปด้วย ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูไสว วงษ์งาม ฝึกร้องเพลงจนชำนาญ หลังจากนั้นได้หันไปร้องเพลงลูกทุ่ง ขั้นแรกเป็นลูกวงในคณะต่างๆ จนเริ่มมีชื่อเสียงและตั้งวงดนตรีของตนเอง มีลูกวงมากมาย เธอได้สร้างชื่อเสียง ให้คนรู้จักไปทั่วประเทศ เพลงลูกทุ่งที่ได้สร้างชื่อเสียง ให้กับเธอคือเพลง กับข้าวเพชฌฆาต

 

เมื่อเพลง ลูกทุ่งหมดยุคเฟื่องฟู ก็กลับมาเล่นเพลงอีแซวและเพลงฉ่อยตามเดิม ในปัจจุบันเธอมีคณะเพลงอีแซว และเพลงฉ่อยของ ตนเองเรียกได้ว่า เป็นแม่เพลงฝีปากดี และมีปฏิภาณดีคนหนึ่ง เธอได้ช่วยเหลืองานสังคมมากมาย โดยเฉพาะที่ศูนย์วัฒนธรรม ของการศึกษานอกโรงเรียน

 

ประสบการณ์ ที่ประทับใจมากที่สุด คือ การได้รับเกียรติอันสูงส่งในการแสดงเพลงพื้นบ้าน เพลงฉ่อยและเพลงอีแซวต่อหน้าพระที่นั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรม ราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จมาสุพรรณบุรี

 

ขวัญจิต เป็คนที่ยึดถือคติที่ว่า "ถ้าทำอะไรก็ต้องตั้งใจทำให้ดีที่สุด"

User Login

Category: ศิลปวัฒนธรรมเมืองสุพรรณบุรี

ศิลปพื้นบ้าน

เพลงอีแซว  เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นของ สุพรรณบุรี มีกำเนิดและแพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ ( เพลงโต้ตอบ ) ที่หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ

 

ศิลปิน

คำขวัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ท่อนที่ว่า " แหล่งปราชญ์ศิลปิน " นั้นคงเป็นเพราะว่า ชาวเมืองสุพรรณบุรีนั้น  มีเอกลักษ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว  ในเรื่องของการออกเสียง  ด้านการร้องเพลง ดนตรี วรรณกรรม วรรณศิลป

 

ประเพณี

จังหวัดสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ย้อนอดีตกลับไปถึงสมัยทวาราวดี สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตที่บฎิบัติสืบต่อกันมา ทำให้เกิดประเพณีต่างๆขึ้นในแต่ละท้องถิ่น
เรื่องราวที่งดงาม และแฝงไปด้วยแนวคิดที่ดีงามของแต่ละชุมชน

JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com