ที่มา การอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การพัฒนาตำราทางการพยาบาล
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
สถานที่ ณ ธนัฐธิชาบุรี เลค รีสอร์ท แอนด์สปา
วันที่ ระหว่างวันที่ 24 - 28 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557
ผู้สรุปประเด็นความรู้ 1.นางสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล 2.นางสุนทรี ขะชาตย์ 3.นางสาวลักขณา ศิรถิรกุล 4.นางสาวสินีพร ยืนยง   


ตำรา

หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะที่ได้เรียบเรียงอย่างมีระบบประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป และการอ้างอิงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทันสมัยโดยจะต้องมีเนื้อหาสาระอย่างละเอียด ครอบคลุมวิชาหรือส่วนของวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และต้องจัดทำเป็นรูปเล่มอย่างเรียบร้อย

หนังสือ

หมายถึง เอกสารทางวิชาการ หรือกึ่งวิชาการที่ได้เรียบเรียงอย่างมีระบบ เข้าปกเย็บเล่มเรียบร้อย มีสารบัญแบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาชัดเจนใช้อักษรตัวพิมพ์และมีการเผยแพร่

คำจำกัดความตำราหนังสือตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา

ผลงานวิชาการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่า สมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานวิชาการอยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว รวมทั้งงานสร้างสรรค์ต่างๆ

ตำรา

หมายถึง “เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา หรืออาจเสนอตำราในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม รวมทั้งเอกสารตำราที่จัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน และได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา

หนังสือ

หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการหรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้อกำหนดของหลักสูตรหรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่เสริมสร้างปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชาการพยาบาลหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา

- การเขียนตำราต้องมีประสบการการสอนไม่น้อยกว่า 5-10 ปี

- ค่อยๆ สะสมเนื้อหาวิชาที่สอน

- เริ่มจากทำเอกสารประกอบการสอน

- เพิ่มเติมเนื้อหาทุกๆ ครั้งที่สอน

- อาจารย์ผู้สอนต้องขยันอ่านตำรา และวารสาร เพื่อปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน จนได้เป็นเอกสารคำสอน หลังจากนั้นจึงพัฒนาไปเป็นตำรา

- ตำราจะต้องมีเนื้อหาให้ครบถ้วนทั้งรายวิชา หนังสือมีเนื้อหาเฉพาะเรื่องทางวิชาการ

- รวบรวม Textbook/Review ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ-ตำรา ที่ตั้ง ใจจะเขียน

- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการเขียน

- กำหนดเค้าโครงเรื่องที่ต้องการเขียน กำหนดจำนวนบท กำหนดConcept หลัก Concept รองที่ในแต่ละบท

- แปลเล่มที่มีเนื้อหามากที่สุดก่อน สอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมจากเล่มอื่นๆ

- เรียบเรียงเนื้อหาตามConcept ที่ผู้เขียนกำหนด หากมีผลงานวิจัยของตนเองให้นำมาสอดแทรกด้วยจะดีมาก

- อ่านเนื้อหาที่เรียบเรียงแล้ว และปรับปรุงให้เหมาะสม

- การเรียบเรียงเนื้อหา ควรเขียนประโยคให้สมบูรณ์ มีประธาน กริยา กรรม

- เขียนประโยคให้อ่านเข้าใจง่าย

- คำศัพท์วิทยาศาสตร์ให้ใช้อ้างอิงตาม คำศัพท์ราชบัณฑิตฯ

- การนำรูปหรือตารางที่นำมาจากตำราเล่มอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา หากถ่ายภาพเองได้จะดีมาก

- มีเอกสารอ้างอิงทุกบท และใช้เอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย ตำราต้องมีดัชนีคำอยู่ท้ายเล่ม

- ตรวจทานคำที่พิมพ์ผิด ให้มีคำที่พิมพ์ผิดน้อยที่สุด ต้องมีคนช่วยอ่านและตรวจทานคำผิด คนช่วยอ่านควรเป็นคนที่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์

- มีแหล่งพิมพ์ เดือน-ปีที่พิมพ์ และเลข ISBN

หลักการเขียนตำราและหนังสือ

จำเป็นต้องคำนึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้

1) ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2) ต้องรู้ว่าเขียนขึ้นเพื่อใคร หรือใครเป็นผู้อ่าน

3) เขียนอย่างไรดี ผู้อ่านจึงจะเข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค์

เทคนิคและวิธีการเขียนหนังสือและตำรา

1. Select a title or topic that you are writing about   การเลือกหัวข้อเรื่อง

2. Brain storming   การระดมความคิด จากความรู้ที่มีอยู่ในเรื่องที่จะเขียน

3. Organising and shaping การวางโครงร่างของหนังสือ หรือ ตำรา และจัดกลุ่มให้เหมาะสม หากงานเขียนคนเดียวอาจหาผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณาโครงร่างของตำรา และ หนังสือ

ส่วนประกอบที่สำคัญของตำรา/หนังสือ ตามมาตรฐานทั่วไป

1. ปกหน้า : ชื่อตำรา / หนังสือ ชื่อผู้แต่ง และ หน่วยงานสังกัด

2. รองปกหน้า : ชื่อตำรา / หนังสือ ชื่อผู้แต่ง และ หน่วยงานสังกัด

3. ด้านหลังของรองปกหน้า : ข้อมูลทางบรรณานุกรม: ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง พิมพ์ครั้งที่ .... พ.ศ. ...ราคา

ISBN 555-555-555-5 สถานที่พิมพ์ ชื่อ ....ผู้พิมพ์โฆษณา   พ.ศ.25....                            

4. คำนำ / จากผู้เขียน วัตถุประสงค์การเขียน อธิบายส่วนประกอบของตำรา หนังสือโดยอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนของแต่ละบท และ ประเด็นสำคัญที่เน้นในแต่ละบท

5. สารบัญ แสดงเนื้อหารายละเอียดในแต่ละบท และ เลขหน้าที่ปรากฏ หากมีตาราง รูปภาพ ต้องมีสารบัญตาราง สารบัญรูปภาพด้วย

6. รายละเอียดในแต่ละบทและหัวข้อย่อยตามเค้าโครงที่วางไว้ดังตัวอย่างข้างล่าง

บทที่ 1.     .........................................                

1.1 .....................................    

         1.2 .....................................    

          1.3 .....................................                  

บทที่ 2. ............................................          

          2.1 .....................................    

         2.2 .....................................                  

          2.3 .....................................                  

บทที่ ....   บทสรุปและก้าวต่อไปของงานวิจัยเป็นบทส่งท้ายที่แสดงความเชี่ยวชาญของผู้เขียนในการเสนอแนะปัญหาและแนวทางการวิจัยในสาขาที่ลังกล่าวถึงในตำรา / หนังสือที่นำเสนอ

7. บรรณานุกรม         

8. บัญชีสัญลักษณ์       

9. ดัชนี

ลักษณะที่พึงประสงค์ของหนังสือ

- เนื้อหามีความถูกต้องและสมบูรณ์ตามหลักวิชาการ และ แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาที่นำเสนอ

- ความสอดคล้องกลมกลืนของลำดับเนื้อหา ความสัมพันธ์เชื่อมโยงภายในบท และ ระหว่างบท

- สอดแทรกแนวคิดและงานวิจัยของผู้เขียนลงในบทต่างๆได้อย่างเหมาะสมและกลมกลืน

ส่วนประกอบที่สำคัญของตำรา/หนังสือ ตามมาตรฐานทั่วไป

- มีความทันสมัยในด้านเนื้อหานำเสนอ และมีศิลปะในการใช้ภาษาและการถ่ายทอด (ส่วนใหญ่เน้นให้ใช้ศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตสถาน)

- เอกสารอ้างอิงที่ทันสมัยและมากพอสำหรับการอ้างอิง โดยมีเอกสารอ้างอิง งานวิจัยของผู้เขียนในจำนวนที่เหมาะสม ให้ความสำคัญในการอ้างอิงงานคนอื่นตามหลักวิชาการ

- มีรูปแบบการจัดพิมพ์เป็นไปตามมาตรฐานที่ดีของตำรา /หนังสือ เช่น มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์
- การจัดทำหัวกระดาษ : หน้าคู่ : ชื่อบท หน้าคี่ : ชื่อหัวข้อย่อย บทใหม่ : ต้องขึ้นต้นด้วยหน้าคี่เสมอ

- สร้างจุดเด่นให้กับหนังสือและตำราที่เขียน ใช้ภาษาของเราเอง (ตามหลักวิชาการ) ทำให้เกิดเอกลักษณ์กับผลงานการเขียนของเรา

- ทดลองใช้งานจริง แล้วแก้ไขปรับปรุง

- ควรให้ความสำคัญในการพิมพ์สูตร สัญลักษณ์ต่างๆทางวิทยาศาสตร์ เน้นถูกต้องตามหลักวิชา สวยงาม อ่านง่าย โดยอาจต้องใช้โปรแกรมการจัดพิมพ์ที่ทันสมัย ให้ความสำคัญในการออกแบบปก (ปกหน้า.และปกหลัง ทั้งด้านนอกและด้านใน)

 

เทคนิคการเขียน

1. เขียนด้วยภาษาของตน (Writing dawn in your own words) การเขียนด้วยภาษาของตนจะเป็นการแสดงภูมิรู้และความเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาของตนซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

2. อะไรที่รู้แล้วที่จะเขียน (What do you already know about the matter of the book?) จะเป็นการเขียนจากประสบการณ์และความรู้ที่ตนมีอยู่ โดยยังมิต้องคำนึงถึงความสละสลวยของภาษา บางคนอาจใช้วิธีการถอดเทปที่ตนบรรยายและปรับเป็นบทความหรืองานเขียนก็ได้

3. อะไรที่ต้องรู้เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ตำรามีความสมบูรณ์ (What do you need to know to help you complete the book) เมื่อลงมือเขียนแล้ว จะเริ่มรู้ว่าส่วนใดที่เราไม่ต้อง ซึ่งจะต้องแสวงหา เพื่อให้ตำรามีความสมบูรณ์ ซึ่งเนื้อหาที่หามาเพิ่มจะเป็นทั้งจากตำราอื่นๆ จากงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งในสมัยนี้หาทางอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และสะดวก

4. ตำราที่เขียนมีความแตกต่าง หรือมีความคล้ายกับตำราอื่นๆ อย่างไรบ้าง เมื่องานเขียนที่มีการสะดมสมองใหม่ กำหนดโครงเรื่องใหม่ กาลเวลา ใหม่ย่อมมีข้อมูลและผลงานวิจัยใหม่ ที่สำคัญการเขียนด้วยภาษาและจินตนาการ ของแต่ละคนมักจะมีความแตกต่างกัน เนื้อหาย่อมแตกต่าง จากตำราที่ผ่านมาถึงแม้จะเป็นเรื่องคล้ายคลึงกัน   อย่างไรก็ตามก่อนลงมือเขียนเรื่องใดก็ต้องสำรวจก่อนว่าสิ่งที่จะเขียน มีใครเขียนมาบ้างแล้ว และมีส่วนใดที่ขาดจำเป็นต้องเพิ่มเติม หรือให้ความกระจ่างขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้งานเขียนใหม่แตกต่างจากงานเขียนที่มีอยู่แล้วและมีคุณภาพ

5. มีวิธีการเลือกตำราหรือเอกสารอย่างไรในการอ่าน เพื่อให้ตำรามีความสมบูรณ์

การประเมินหนังสือและตำรา

การพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหา หมายถึง ผลงานมีเนื้อหา แนวคิด นิยาม สมการ ฯลฯ ถูกต้องทางวิชาการในระดับใด

- ความสมบูรณ์และความทันสมัยของเนื้อหา หมายถึง บทหรือ ตอน ตรงตามชื่อเรื่องหรือตามวัตถุประสงค์ มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่ในระดับใด เนื้อหาทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบันเพียงใด ต้องพิจารณาเพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข ความทันสมัยของเนื้อหามีความจำเป็น เนื่องจากมีเอกสารใหม่ๆ หรือความรู้ใหม่ๆ ได้รับการตีพิมพ์ออกมาตลอดเวลา

- ความชัดเจนในการอธิบาย หมายถึง ผู้เขียนสามารถอธิบายเรื่องราว ได้ชัดเจน รัดกุมและเที่ยงตรงเพื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายเพียงใด

- ความเหมาะสมของการใช้ภาษา หมายถึง การเขียนประโยครัดกุม มีการใช้ภาษาอังกฤษปะปนเท่าที่จำเป็น หรือมีความเหมาะสมในการใช้คำ หรือศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์ที่นิยมใช้กันในสาขานั้นๆ ได้ดีเพียงใด

- ความสม่ำเสมอของการเขียน หมายถึง การใช้คำหรือศัพท์ทางวิชาการที่นิยมใช้กันในสาขาวิชานั้น รวมถึงการเขียนบรรณานุกรมอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเล่มเพียงใด

- ความพยายามในการแต่งและเรียบเรียง หมายถึง ความพยายามเพียงใดในการเขียนของผู้เขียน เมื่อพิจารณาตามสาระของทางวิชาการ รายละเอียดและการค้นคว้า

- ความสามารถในการเรียบเรียงและดำเนินเรื่อง หมายถึง ความสามารถของผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เขียนอธิบาย และดำเนินเรื่องอย่างมีขั้นตอน ไม่วกวนสับสน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจนเพียงใด

- ปริมาณงานที่ทำ หมายถึง ปริมาณงานเนื้อหาของเอกสารว่ามากหรือน้อยเพียงใด

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ดังนี้

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

- ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่

- ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า

- ต้องไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน

- ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้องและเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัวหรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ

- ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

การจัดการรูปภาพ (Image Handling)

ภาพดิจิตอล (Digital image) หมายความถึง ภาพที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์โดยคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านการสแกน การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล หรือการสร้างภาพขึ้นใหม่ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งแสดงผลภาพในลักษณะ สองมิติในหน่วยที่เรียกว่า จุดภาพ (pixel)

การจัดการรูปภาพ (Image handling) หมายความถึง การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับรูปภาพเดิม เช่น การปรับความเข้มของแสง ปรับคอนทราสต์ (contrast) ปรับสี การลบหรือเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ การนาภาพจากคนละแหล่งมาตัดต่อรวมกัน เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงการจัดการรูปภาพเพื่อใช้ประกอบในการเผยแพร่ผลงานวิจัย

แนวทางการปฏิบัติ

1. ไม่ควรเน้นหรือทาให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเข้มขึ้น (enhance) ทาให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพจางลง (obscure) เปลี่ยนตำแหน่งส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ (move) ลบส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ (remove) หรือเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ (introduce)

2. การปรับความเข้มของแสง คอนทราสต์ (contrast) หรือความสมดุลของสี สามารถทาได้ต่อเมื่อ เป็นการปรับกับภาพทั้งหมดโดยรวม ไม่เลือกปรับเฉพาะบางส่วนของภาพ และการปรับนั้นจะต้องไม่ทาให้ข้อมูลบางส่วนจางลงหรือหายไปจากภาพต้นฉบับ

3. ไม่นาภาพที่ได้จากการทดลองที่ต่างกัน มารวมกันเป็นภาพเดียวกัน ถ้าจะนามาเสนอพร้อมกัน ต้องมีเส้นหรือกรอบแบ่ง และบ่งชี้ความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน เช่น ภาพที่มาจากคนละตำแหน่งภายในเจล (gel) เดียวกันภาพที่มาจากต่างเจลกัน ภาพที่ถ่ายมาจากต่าง field กัน ภาพที่ได้มาจากการถ่ายรูปที่ปรับความเข้ม ของแสงต่างกัน

4. ในทุกกรณี จะต้องมีการสารองไฟล์รูปภาพต้นฉบับไว้เสมอ และทุกขั้นตอนในการปรับแต่งรูปภาพ ให้ผู้วิจัยบันทึกลาดับ วิธีการ ปริมาณ ของการปรับแต่ง พร้อมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการปรับแต่งไว้ด้วย

5. เมื่อผู้วิจัยต้องการเผยแพร่รูปภาพที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ให้แจ้งบรรณาธิการด้วยว่า รูปภาพดังกล่าวได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง และถ้าบรรณาธิการต้องการทราบรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง และ/หรือ รูปภาพต้นฉบับ ผู้วิจัยต้องสามารถส่งให้บรรณาธิการตรวจสอบได้

การลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism)

การลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) หมายความถึง การลอกเลียนโดยมิชอบ ซึ่งการลอกเลียนดังกล่าวอาจจะเป็นการลอกเลียนความคิด บทความ ทานองเพลง รูปภาพ หรือข้อมูล หรือสิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าทางการสร้างสรรค์

แนวทางปฏิบัติ

1. ในกรณีที่ข้อความที่เราเขียนขึ้น เป็นองค์ความรู้หรือข้อมูลจากผู้นิพนธ์ท่านอื่นหรือบทความอื่น และข้อความนั้นผู้อ่านอาจจะต้องการรู้ที่มาที่ไป ให้อ้างอิงบทความเดิมไว้ด้วย (ดูหัวข้อ references and citations ประกอบ)

2. จากกรณีในข้อแรก ผู้เขียนควรจะต้องพยายามทวนความ (paraphrase) หรือ ย่อความ (summarize) ด้วยวาจา ลีลา และโวหารของตนเองในการเล่าองค์ความรู้นั้นๆ ไม่ควรนาลีลาและโวหารของเดิมมาใช้ใหม่ ยกเว้นในกรณีที่การเล่าความหรือทวนความ ไม่สามารถเล่าใหม่ได้ด้วย วาจา ลีลา และโวหารใหม่ได้

3. ในบางกรณีการทวนความหรือย่อความ อาจทาให้ความหมายเปลี่ยนไป หรืออรรถรสในการอ่านเปลี่ยนไป เช่น ความเดิมเป็นร้อยกรอง ความเดิมเป็นการเล่นคาและมีความหมายหลายแง่ให้ผู้อ่านคิด หรือความเดิมเป็นประโยคอมตะ ซึ่งผู้อ่านส่วนใหญ่รู้จักดี ในกรณีดังกล่าวผู้เขียนจาเป็นต้องยกข้อความเดิมมาทั้งชุดให้ผู้เขียนใส่ข้อความเดิมไว้ภายในเครื่องหมายอัญประกาศ พร้อมทั้งอ้างอิงข้อความเดิมด้วย

4. เมื่อเขียนบทความเสร็จทุกครั้งแล้ว ควรตรวจสอบโดยการเทียบบทความที่ตนเขียนกับบทความ ที่ตนใช้อ้างอิง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อความใดที่เข้าข่ายการลอกเลียนโดยมิชอบ

5. ในการเขียนบทความ พึงหลีกเลี่ยงการอ่านจากเอกสารอ้างอิงพร้อมกับเขียนต้นฉบับบทความไปด้วยหรือคัดลอกข้อความจากที่อื่นมาแปะในต้นฉบับบทความที่กาลังเขียน ถ้าปฏิบัติตามหลักการนี้ได้โอกาสที่จะบังเอิญเขียนไปตรงกับข้อความในเอกสารอ้างอิงจนเข้าข่าย plagiarism จะเป็นไปได้ยาก ในกรณีที่ผู้เขียน ยังไม่แน่ใจว่าข้อความที่ตนเขียนนั้น ซ้ำกับข้อความที่ผู้อื่นเขียนก่อนหน้านี้อย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ ผู้เขียนอาจจะตรวจสอบโดยโปรแกรมตรวจสอบplagiarism ต่างๆที่มีอยู่ท้องตลาดได้บางวารสาร
(http://en.wikipedia.org/wiki/ Plagiarism_detection)

6. ในกรณีที่บทความต้นฉบับที่ผู้เขียนต้องการนามาอ้างอิงเป็นบทความที่ตนเขียนเอง หรือข้อความ
ที่ผู้เขียนต้องการเขียนนั้น ผู้เขียนได้เคยเขียนลงบทความอื่นมาแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาการลอกเลียนตนเองโดยมิชอบ (self-plagiarism) ให้ผู้เขียนพึงปฏิบัติต่อข้อเขียนของตนดั่งเป็นข้อเขียนของบุคคลอื่น กล่าวโดยย่อคือมีการทวนความหรือย่อความและการอ้างอิงอย่างเหมาะสม

7. การที่สองบทความมีข้อความเหมือนกันนั้น ในตัวมันเองมิได้เป็น plagiarism ไปโดยอัตโนมัติ หรือการที่ทำการอ้างอิงแล้ว ก็มิใช่เป็นการปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวมิใช่ plagiarism โดยสิ้นเชิง ผู้พิจารณาควรพิจารณาหลักการและเหตุผลและแนวทางปฏิบัติทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นโดยรวม

8. หลักการข้างต้นสามารถนามาประยุกต์ใช้ในกรณีของรูปภาพหรือข้อมูลอย่างอื่นได้ด้วย ในกรณีของรูปภาพหรือตารางแสดงข้อมูล ถ้ามีการเผยแพร่ซ้ำจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนและมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสมด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference) และ การอ้างอิง (Citation)

เอกสารอ้างอิง (Reference) หมายความถึง สิ่งที่ใช้อ้างอิงเพื่อสนับสนุนข้อมูล ความเห็น ข้อความ หรือข้อสรุป ที่ผู้นิพนธ์เขียนไว้ในงานวิชาการหรืองานวิจัย เอกสารอ้างอิงนี้อาจจะเป็นสิ่งต่างๆต่อไปนี้ เช่น ตำรา บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความจากวารสารทั้งวารสารวิจัยและวารสารทั่วไป ข่าวจากหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ ข้อกฎหมาย เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติ

1. เมื่อผู้นิพนธ์คิดว่าข้อความที่ตนเขียนนั้นต้องการเอกสารสนับสนุน ผู้นิพนธ์ควรจะเลือกเอกสารที่เหมาะสมที่สุด มาใช้เพื่อสนับสนุนข้อความนั้น

2. ผู้นิพนธ์ต้องอ่านเอกสารที่ตนจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงก่อนเสมอ

3. ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ตารา เป็นต้น) หรือบทความทบทวนวรรณกรรม (review article) แต่ควรอ้างอิงจากเอกสารที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ (original article)

4. ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จาเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากเกินไปจนพร่าเพรื่อ

5. ไม่ควรนาบทคัดย่อ (abstract) มาเป็นเอกสารอ้างอิง

6. การอ้างอิงเอกสารที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์จากวารสารนั้นๆ แล้วควรระบุไว้ว่าเป็น “in press” หรือ “forthcoming” ผู้นิพนธ์ควรได้รับคายินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในการอ้างอิงเอกสารชนิดนี้ และจะต้องตรวจสอบด้วยว่าเอกสารนั้นได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์จริง

7. การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ แต่เป็นเอกสารที่ได้เคยส่งเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์ (submitted) หรือ การอ้างอิงข้อมูลที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ ควรจะระบุไว้ว่าเป็น “unpublished data” หรือ “unpublished observations” และควรได้รับคายินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย อย่างไรก็ตามควรใช้การอ้างอิงเอกสารชนิดนี้อย่างระมัดระวังและใช้ในกรณีที่จาเป็นเท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในฐานะผู้ประเมินผลงาน (peer reviewer) ไม่ควรนาต้นฉบับบทความ ที่บรรณาธิการส่งมาให้พิจารณาไปใช้อ้างอิงจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว

8. ควรหลีกเลี่ยงการอ้างอิงจากการพูดคุยส่วนตัว (personal communication) นอกเสียจากว่าข้อมูลนั้นไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่นแล้วเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ควรระบุชื่อและวันเวลาของผู้ที่พูดคุยไว้ในวงเล็บ ทั้งนี้ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและได้รับคายินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

9. เมื่อผู้นิพนธ์ได้ทาการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) มาจากบทความอื่น ไม่ว่าจะเป็นบทความของตนเองหรือบทความของผู้อื่นก็ตาม ผู้นิพนธ์ควรที่จะอ้างอิงเอกสารต้นฉบับนั้นไว้ด้วย

10. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา

11. ผู้นิพนธ์ไม่ควรใช้บทความที่ถูกถอดถอน (retracted publication) ออกไปแล้วมาเป็นเอกสารอ้างอิง ยกเว้นข้อความที่ต้องการการสนับสนุนนั้นเป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถอดถอน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ควรระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงด้วยว่าเป็นเอกสารที่ได้ถูกถอนออกไปแล้ว ดังตัวอย่างต่อไป

การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant publication)

การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant publication) หมายความถึง การเผยแพร่งานวิจัย ข้อมูล หรือบทความเดิมซึ่งเคยถูกเผยแพร่ไปแล้ว โดยอาจเป็นการเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน การเผยแพร่ก่อนหน้าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น การเผยแพร่โดยใช้สื่อเดียวกันหรือสื่อแตกต่างกัน การเผยแพร่โดยใช้ข้อความโวหารเดียวกันหรือต่างกัน และการเผยแพร่โดยภาษาเดียวกันหรือแตกต่างกัน เป็นต้น

แนวทางการปฏิบัติ

1. เมื่อจาเป็นต้องเผยแพร่ซ้ำให้แจ้งให้เจ้าของทรัพยากรครั้งแรกและครั้งที่สองทราบทั้งคู่ เช่น ถ้าผู้วิจัยได้ลงตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร ก. ไปแล้ว ต่อมาคิดว่างานนั้นจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านวารสาร ข. ซึ่งอาจจะไม่ได้อ่านวารสาร ก. จะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทั้งวารสาร ก. และ วารสาร ข. ทราบว่างานนี้เคยตีพิมพ์แล้ว ในวารสาร ก. หรือในกรณีที่ผู้วิจัยได้เคยนาเสนอผลงานนี้ในงานประชุมวิชาการที่ใดที่หนึ่งมาแล้ว ต่อมาต้องการลงตีพิมพ์ในวารสาร ควรแจ้งให้วารสารนั้นๆ ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเคยนาเสนอที่ใดและเมื่อไรมาแล้ว

2. ในการเผยแพร่งานครั้งที่สองให้อ้างอิงถึงการเผยแพร่ครั้งแรกด้วย

3. ในการเผยแพร่ครั้งที่สอง หากใช้สื่อเดียวกับครั้งแรกเช่นเป็นบทความทั้งคู่ ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนโดยมิชอบ

4. หากการเผยแพร่ครั้งแรกเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ให้ขออนุญาตการใช้งานลิขสิทธิ์จากเจ้าของก่อนการใช้เช่น การเผยแพร่ครั้งที่สองจาเป็นต้องใช้ตารางจากการเผยแพร่ครั้งแรก ให้ขออนุญาตก่อน

5. ในกรณีที่ข้อมูลหรือบางส่วนของข้อมูลในการเผยแพร่ครั้งที่สองเป็นข้อมูลเดียวกับการเผยแพร่ครั้งแรกให้ระบุให้ชัดเจนว่าส่วนใดเป็นส่วนเดียวกัน เช่น ในการเผยแพร่ครั้งแรกมีอาสาสมัครในงานวิจัย 30 คน ต่อมามีอาสาสมัครเพิ่มขึ้นเป็น 100 คน และผู้วิจัยต้องการเผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติม ในกรณีนี้ผู้วิจัยควรบอกผู้อ่านให้ชัดเจนว่า ส่วนใดในการวิเคราะห์ข้อมูลมาจากข้อมูลของอาสาสมัคร 30 คน ในการเผยแพร่ครั้งแรก

6. ถ้าเป็นไปได้ควรใส่เชิงอรรถ (footnote) ให้ผู้อ่านทราบ เช่น งานวิจัยนี้เคยนาเสนอในการประชุม ใดมาก่อนหรืองานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หรืองานนี้เป็นการแปลจากงานใดในภาษาอื่น

7. เมื่อต้องการใช้งานเผยแพร่ที่ซ้ำซ้อนนี้ในการขอรางวัล ผลงานทางวิชาการ หรือการตอบแทนต่างๆ ให้แจ้งผู้พิจารณาด้วยว่างานชิ้นใดเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ รวมทั้งแจ้งว่าส่วนใดเป็นส่วนที่ซ้ำซ้อน หรือในกรณีที่รางวัลหรือผลตอบแทนต่างๆ ถูกให้มาโดยเจ้าตัวมิได้เป็นผู้ขอ เมื่อทราบว่าได้รับก็ควรแจ้งให้ผู้พิจารณาทราบเช่นเดียวกัน

แหล่งความรู้

- รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพหนังสือหรือตำราวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

         - มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ