ที่มา การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านวิทยาการทางการวิจัย
เรื่อง วิธีการเขียนโครงการวิจัยให้ได้ทุน
ผู้จัด สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สถานที่ ณ ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
วันที่ ระหว่างวันที่6-7 มกราคม 2558

ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาวลักขณา ศิรถิรกุล


 

เรื่อง วิธีการเขียนโครงการวิจัยให้ได้ทุน
1. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของแหล่งทุน เช่น ยุทธศาสตร์ กลุ่มเรื่องวิจัยของแหล่งทุนว่าต้องการให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องอะไร
2. จัดให้มีที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ
3. สร้างเครือข่าย ชุมชนนักวิจัย โดยวิธีการพบปะ เสวนา และสนทนากลุ่ม เป็นต้น
4. ศึกษานโยบายของรัฐ
5. เกาะติดรุ่นพี่/นักวิจัยที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนที่เราจะเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน โดยที่ตัวเราเรียนรู้จากรุ่นพี่
6. ศึกษางานวิจัยที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนที่เราจะเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน
7. สร้างเครือข่ายกับแหล่งทุน
8. ทำวิจัยในหัวข้อเรื่องที่เราถนัด/มีความรู้
9. เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยในเรื่องที่มีความเป็นไปได้ว่าจะทำสำเร็จ
10. ขอคำปรึกษาแนะนำจากรุ่นพี่/นักวิจัยที่เคยไดรับทุนสนับสนุน โดยให้อ่าน/ตรวจ/แสดงความเห็น
11. เขียนแต่ละประเด็นให้มีความสอดคล้องกัน
12. เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่เป็นเอกลักษณ์ จุดเด่นของพื้นที่ ชุมชน จังหวัด
13. คุย/สร้างเครือข่ายกับเพื่อน/นักวิชาการ
14. กำหนด/เขียนความคิดรวบยอดให้ได้ ให้เป็นที่พอใจของแหล่งทุน
15. เชิงรุก เดินเข้าหาแหล่งทุน
16. สถาบันวิจัยและพัฒนาสร้างความคุ้นเคย สร้างเครือข่ายกับแหล่งทุน ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยได้ทำวิจัย
17. เรื่องเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน
18. เชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาร่วมกลุ่มการอบรม/การสัมมนา

1. การเขียนบทความการวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
การศึกษาแนวทางในการเตรียมต้นฉบับเพื่อให้มีทิศทางในการเตรียมต้นฉบับให้เป็นที่ต้องการของวารสารทางการพยาบาล ช่วยประหยัดเวลาที่ใช้ในการเตรียมเนื่องจากมีการแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนขึ้น
เป้าหมายของการเตรียมต้นฉบับ
- การตอบรับให้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการพยาบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
- มีน้ำหนักเชิงวิชาการในการนำไปใช้ประโยชน์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
- เป็นการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้วยวิธีการเขียนไปสู่บุคลากรทางการพยาบาลและที่เกี่ยวข้อง
การเตรียมบทความทางวิชาการ
หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อเรื่องว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี
- เลือกเรื่องที่เรารู้เรื่องนั้นมากที่สุด (Expert)
- เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของบุคคลในวิชาชีพ (In-trend)
- เป็นประเด็นปัญหาและมีความแตกต่างในด้านความคิด (Issues)
- มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นในเรื่องนั้นมาก (An update)
การวางแผนการเขียนต้นฉบับ
- เลือกวารสารที่จะตีพิมพ์เนื่องจากวารสารแต่ละเล่มจะมีคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่
แตกต่างกันออกไป การศึกษาล่วงหน้าจะทำให้ไม่เสียเวลาในการแก้ไขภายหลัง
- วารกรอบเวลาที่คาดว่างานจะแล้วเสร็จและดำเนินการให้ได้ตามนั้น
- ศึกษาเนื้อหาที่ตั้งใจจะเขียนจากตำรา วารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเลือกที่มีการตีพิมพ์
ล่าสุด (update)การอ่านให้โยงไปถึงเนื้อหาที่คาดว่าจะนำไปใช้ในการเขียนต้นฉบับด้วยว่าควรเป็นอย่างไร plot เรื่องคร่าวๆ และนำไปสู่การวาง outline ของเนื้อหา
องค์ประกอบของบทความ
- บทนำ-เกริ่นถึงความสำคัญของเรื่องและวัตถุประสงค์ของการเขียน
- เนื้อหา-ลำดับการนำเสนอเป็นขั้นตอนก่อนหลังซึ่งต้องสัมพันธ์กับหัวข้อเรื่องโดยมีการ
อ้างอิงแหล่งเนื้อหาที่ได้มาร่วมกับความเห็นของผู้เขียนเอง ซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือการวิเคราะห์เนื้อหาที่อ่านมาก็ได้
- สรุป เป็นการ highlight ประเด็นสำคัญที่กล่าวไปทั้งหมดในเนื้อหาและอาจทิ้งประเด็นที่
จะให้ผู้อ่านคิดต่อซึ่งขึ้นกับ style ของแต่ละคน
- บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นการย่อสาระทั้งหมดของเนื้อหาให้ได้สาระใน
ภาพรวมซึ่งต้องกระชับ สั้น และมีความชัดเจนที่จะทำให้ผู้อ่านเมื่ออ่านแล้วรู้ว่าเนื้อหาข้างในมี
อะไรบ้าง
- คำสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นคำที่อยู่ในชื่อเรื่อง
ประเด็นหลักในการเขียนต้นฉบับ
- ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาวิชาการ ไม่ใช่ภาษาพูด นอกจากนี้ต้องเข้าใจง่าย มีความ
สละสลวย กลมกลืน สำนวนกระชับและชัดเจน ไม่วกวนหรือคลุมเครือ
- การใช้คำๆ หนึ่งตลอดเนื้อหาจะต้องเหมือนกันเพื่อไม่ทำให้ผู้อ่านสับสน
- ลำดับเนื้อหามีความเกี่ยวเนื่องกัน มีน้ำหนักของการอ้างอิง ถ้ามีการวิจัยสนับสนุนหรือ
ประกอบการวิเคราะห์ด้วยจะดีมาก
- ความยาวของเนื้อหาขึ้นกับเรื่องและขอบเขตของการเนื้อหา ตามปกติบทความจำนวน
หน้าอยู่ระหว่าง 7-10 หน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของวารสารแต่ละเล่ม
- อย่าคาดหวังว่าการเขียนต้นฉบับเสร็จแล้วรอบแรกจะมีความสมบูรณ์และใช้ได้เลย ขอให้
ทิ้งไว้ข้ามคืนหรือ 2-3 วัน จากนั้นกลับมาอ่านอีกครั้งและสำรวจว่ามีอะไรที่ยังไม่ชัดเจน ยังขาดเนื้อหาอะไร ภาษาส่วนไหนที่ยังไม่สละสลวย ทำการปรับปรุงอีกครั้งหรือหลายครั้งจนเป็นที่พอใจ
- นำต้นฉบับที่คิดว่าดีแล้ว ไปให้ผู้ที่รู้ในเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดีอ่านอีกครั้งเพื่อให้ข้อแนะนำ
ในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องความสมบูรณ์ของเนื้อหา จากนั้นนำไปให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นอ่าน ถ้าอ่านแล้วเข้าใจในเนื้อหา แสดงว่าต้นฉบับนั้นพร้อมที่จะส่งไปตีพิมพ์ได้
ปัญหาที่พบในต้นฉบับบทความ
- เนื้อหาในเรื่องและชื่อเรื่องไม่สอดคล้องกัน
- เนื้อหาเป็นเรื่องพื้นๆไม่ให้ประโยชน์กับผู้อ่านมากนัก
- การเขียนเนื้อหาใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่กระชับ สามารถตัดทอนเนื้อหาให้สั้นลงเพื่อให้สาระมีความเข้มข้นมากขึ้นได้
- การอ้างอิงไม่ทันสมัย
- ความชัดเจนในเนื้อหา อ่านแล้วคลุมเครือ เข้าใจไม่ชัดเจน
- การลำดับเนื้อหาไม่ชัดเจน มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันอยู่หลายส่วน
- ไม่มีบทสรุป
การวารแผนเตรียมต้นฉบับ
- ศึกษาและสั่งสมวิธีการและลีลาการเขียนรายงานวิจัยที่ดีๆ จากการอ่านงานวิจัยของผู้อื่นเพื่อเป็นการเรียนรู้และประยุกต์กับงานเขียนของตนเอง
- เลือกวารสารที่จะตีพิมพ์เนื่องจากวารสารแต่ละเล่มจะมีคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่แตกต่างกันออกไปและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การศึกษาล่วงหน้าจะทำให้ไม่เสียเวลาในการแก้ไขภายหลัง
- วางกรอบเวลาที่คาดว่างานจะแล้วเสร็จและดำเนินการให้ได้ตามนั้น
- ถ้าผู้ร่วมวิจัยมีมากกว่า 1 คนและมีการแบ่งงานในการเขียน ซึ่งแต่ละคนมีสำนวนและสไตล์ในการเขียนไม่เหมือนกัน ภายหลังที่แต่ละคนเขียนเสร็จแล้วจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการปรับสไตล์การเขียนของแต่ละคนให้มีความกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
- ก่อนที่แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบการเขียนที่ได้รับมอบหมายควรมีการ brainstorm เพื่อให้ได้สาระในการเขียนที่เป็นความเห็นพ้องของทุกคน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- มีกรอบเวลาที่จะให้การเขียนแล้วเสร็จที่ชัดเจนและทำให้ได้ตามนั้น
- ความยาวของเนื้อหาประมาณ 12-15 หน้า

 

2. เทคนิคการเขียนข้อเสนอการวิจัยแบบชุดโครงการ

3. การบริหารงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัย
กลุ่มงานวิจัยที่ควรมุ่งเน้น (พ.ศ. 2555-2559) ได้แก่
1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
2. ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
3. การปฏิรูปการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
4. การจัดการทรัพยากรน้ำ
5. ภาวะโลกร้อนและพลังงานทางเลือก
6. เกษตรเพื่อความยั่งยืน
7. การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟู
8. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ
9. เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม
10. การบริหารจัดการท่องเที่ยว
11. สังคมผู้สูงอายุ
12. ระบบโลจิสติกส์
13. การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ
แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัย (Research program)
หมายถึง แผนซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย โครงการวิจัย (Projects) หลายๆ โครงการ โดยมีความสัมพันธ์หรือสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีลักษณะบูรณาการ (Integration) ทำให้เกิดองค๋รวม (Holistic Ideology) เป็นการวิจัยที่เป็นสหวิทยา (Multi-disciplines) ครบวงจร (Complete Set) โดยมีเป้าหมายที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ชัดเจน
การวิจัยแบบบูรณาการ: แนวคิด เป้าหมาย และเกณฑ์การพิจารณา
การวิจัยแบบบูรณาการ หมายถึง การวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเกิดประโยชน์สูงสุดและมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม การวิจัยแบบบูรณาการจึงควรมีลักษณะสำคัญคือ
1. การวิจัยที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2. สร้างมูลค่า และ
3. เกิดผลดีกับประชาชนจำนวนมาก
เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอการวิจัยแบบบูรณาการเพื่อจัดลำดับความสำคัญ
1. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ระยะปานกลาง
2. มีความเป็น Hub /ศักยภาพในการเป็น Hub สูง
3. ผลกระทบของการวิจัยเป็นตัวคูณ ส่งผลสะเทือนสูง
4. เป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและหรือเพิ่มคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม
5. เชื่อมโยงจากท้องถิ่น-ชาติ-นานาชาติ
6. ภาคเอกชนและหรือภาคประชาชนมีส่วนร่วม