ที่มา โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการพัฒนา 
เรื่อง การพัฒนาความเชี่ยวชาญอาจารย์ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Simulation Base Learning แบบ OSCE  ระยะที่ 4
ผู้จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท 
สถานที่ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท  
วันที่ 13 กรกฎาคม 2558   
ผู้สรุปประเด็นความรู้ นางสาวจิตติมา  ดวงแก้ว


ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning แบบ OSCE

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

ขั้นตอน ระยะเวลา กิจกรรม/การดำเนินการ

Plan

ก.พ.-มี.ค.58

ประชุมวางแผนกำหนดขอบเขตทักษะการปฏิบัติการพยาบาล (Blueprint) ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3

กลุ่มตัวอย่าง  นศ. ชั้นปีที่ 3 ห้อง 2 จำนวน 88 คน

    Do   ต.ค.57-ก.ค.58 Phase I  จัดสอบลงกองในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 เกี่ยวกับการประเมินสภาพและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ COPD with AE กับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ห้อง 2 ประเมินผลโดยใช้แบบประเมิน OSCE  ซึ่งนักศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60
PhaseII จัดสอบลงกอง (ซ่อม) กรณีที่นักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 เกี่ยวกับการประเมินสภาพและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ COPD with Pneumothorax
Phase III ผู้รับผิดชอบราบวิชาชี้แจงให้นักศึกษาที่ยังไม่ผ่านการสอบลงกองซ่อมทำรายงานสรุปความรู้เกี่ยวกับการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ COPD with Pneumothorax
ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning แบบ OSCE โดยใช้แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Check ก.ย. - ต.ค.58 วิเคราะห์ผลการประเมิน
Action  ต.ค.– ธ.ค. 58

นำผลการประเมินมาวางแผนการจัดทักษะการปฏิบัติทางคลินิกก่อนการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1

ปีการศึกษา 2558

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       1. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning แบบ OSCE พบว่า การจัดสอบในแต่ละครั้งมีความขัดข้องของระบบหุ่นและคอมพิวเตอร์ ทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และทำให้ทีมอาจารย์ผู้สอนเกิดความเครียดและวิตกกังวล 

        แนวทางแก้ไขและพัฒนา  

                - ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบระบบหุ่นและคอมพิวเตอร์ขณะเกิดปัญหา

                - ประชุมวางแผนให้มีการจัดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning เพื่อสร้างความชำนาญให้กับอาจารย์ผู้สอนที่เกี่ยวข้อง

                - สร้างแรงบันดาลใจให้กับอาจารย์ผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญสำหรับอาจารย์ วพบ.สุพรรณบุรี

2. ความคุ้มค่าและคุ้มทุนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation Base Learning แบบ OSCE โดยใช้ High Fidelity

       3. ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการจัดสอบแต่ละครั้ง