ที่มา การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร
เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร ของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อการสร้าง “สังคมสันติวัฒนธรรม”
ผู้จัด สถาบันพระบรมราชชนก
สถานที่ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
วันที่ 10-11 กันยายน 2558
ผู้สรุปประเด็นความรู้ น.ส.วิลาวัณย์ ธนวรรณ   น.ส.จิรพรรณ โพธิ์ทอง

 

เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร ของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อการสร้าง “สังคมสันติวัฒนธรรม” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรของสถาบัน มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งสามารถเชื่อมโยงแนวคิดที่จำเป็นของกระบวนการแก้ไขปัญหา และนำความรู้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน อันจะส่งผลต่อการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะ ด้านการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ด้วยแนวทางสันติวัฒนธรรม โดยการบรรยาย การอภิปรายจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษา มีหัวข้อการอภิปราย เรื่อง “บทบาทของสถาบันพระบรมราชชนก จะช่วยให้เกิดสังคมปรองดองได้อย่างไร โดยอดีตผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก 3 ท่าน และผู้อำนวยสถาบันพระบรมราชชนกคนปัจจุบัน

การบรรยายจาก นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก

       1. การจัดการความขัดแย้งด้วยยุติธรรมมาตรฐาน (กฎหมาย)

2. การจัดการความขัดแย้งด้วยยุติธรรมทางเลือก

3. การเชิญชวนคู่กรณีขัดแย้งเพื่อใช้วิธีทางเลือกการเจจาหาทางออกร่วม

4. การดำรงไว้ซึ่งการเป็นสังคมวัฒนธรรม

5. ทักษะพื้นฐานของการก้าวเดินสู่การจัดการความขัดแย้งด้วยการเจรจาหาทางออกร่วม

6. ทักษะการฟื้นคืนสัมพันธภาพ

ตัวอย่าง 6 วิธีนิยมแห่งสันติวัฒนธรรม

  1. วิถีนิยมสุนทรีสาระภาษา
  2. วิถีนิยมเครือข่ายสันติภาพ
  3. วิถีนิยมประสานจุดยืน/ข้อจำกัด/ผลประโยชน์
  4. วิถีนิยมพหุทางเลือก
  5. วิถีนิยมแห่งความเป็นธรรม
  6. วิถีนิยมการยอมรับในข้อผูกพัน

       

        ปัจจุบันโลกเปลี่ยนจากสังคมที่มีความเอื้ออาทรเป็นสังคมแห่งการปกป้องสิทธิ มนุษย์เราปกติมีสัญชาตญาณของนักล่า อาชีพแพทย์พยาบาลต้องปรับตัวเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ การสร้างสังคมสันติวัฒนธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์แบ่งปันสิ่งดี ๆต่อกัน ใส่ใจ อดทน รับฟัง เรียนรู้ และปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ ที่มีความคิดแตกต่างจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพที่ดีของประชาชนและสังคมต่อไป

ประเด็น/เรื่องที่วิทยาลัยเกี่ยวข้องและต้องดำเนินการ (มีหรือไม่มีโปรดระบุ)

       อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาพยาบาลซึ่งต้องสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติควรที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อให้เป็นพยาบาลที่ดีสู่สังคมคือสถาบันการศึกษา เป็นผู้ผลิตพยาบาลซึ่งถือเป็นสินค้าที่ต้องมีคุณภาพ ถือว่าต้องส่งบริการที่ดีที่สุดสู่สังคม การเพิ่มความรู้ด้านสังคมสันติวัฒนธรรม จะช่วยให้การสอนนักศึกษา ข้ามผ่านวิบากกรรม ให้ลูกศิษย์มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีสัมพันธภาพที่ดี ต่อผู้รับบริการ พยาบาลเป็นอาชีพที่มีโอกาสได้สร้างบุญสร้างกุศลเพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง

แนวทางการพัฒนางาน/แนวทางการดำเนินงานที่วิทยาลัยจะต้องดำเนินการต่อไป

นำความรู้ที่ได้รับจากการประชุม มาสรุปสาระสำคัญเพื่อเผยแพร่ให้อาจารย์ในสถาบัน และผู้สนใจได้รับทราบโดยการนำเสนอ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำขึ้น Web side KM ของวิทยาลัย ตลอดจนนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาและผู้รับบริการต่อไป